ผู้ว่าน่านนำพุทธศาสนิกชนทำบุญ 'ตานก๋วยสลาก' อนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีของท้องถิ่น

ผู้ว่าน่านนำพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดน่าน ทำบุญถวายทานสลากภัต หรือตานก๋วยสลาก อนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีของท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2565 ที่วัดช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายวิบูรณ์  แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณธนาคารกสิกรไทย นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน นำเหล่าพุทธศาสนิกชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจและประชาชนชาวจังหวัดน่าน ร่วมประเพณีทำบุญถวายทานสลากภัต หรือตานก๋วยสลากภัต ของชาวจังหวัดน่านน่าน ร่วมกับคณะศรัทธาในชุมชนต่างๆในเขตเทศบาลเมืองน่าน โดยมีพระราชศาสนาภิบาล เจ้าคณะจังหวัดน่าน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  ประเพณีถวายสลากภัต เป็นประเพณีที่เก่าแก่และสำคัญของชาวล้านนาที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราญ โดยทุกปีวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (พระอารามหลวง) จะได้จัดงานประเพณีถวายสลากภัต หรือตานก๋วยสลาก เป็นวัดแรกของจังหวัดน่าน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 หรือเดือน 12 ตามปฏิทินล้านนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าผู้ครองนครน่านและเจ้าอาวาสวันพระธาตุช้างค้ำวรวิหารผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งบรรพบุรุษทั้งหลายที่ได้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยมีพุทธศาสนิกชน ประชาชน คณะครูนักเรียนโรงเรียนในจังหวัดน่าน เดินทางร่วมงานประเพณีทำบุญถวายทานสลากภัต กว่า 1,000 คน ท่ามกลางบรรยากาศสายฝนที่ตกโปรยปราย

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครน่านในสมัยโบราณ เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1949 อายุ 613 ปี ประเพณีทำบุญถวายทานสลากภัต หรือตานก๋วยสลากภัต นับเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเมืองน่าน เนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดมาช้านานหลายชั่วอายุคน ประเพณีการถวายสลากภัต หรือประเพณีทานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตในล้านนาไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งเรียกว่า “ตานก๋วยสลาก” บางแห่งเรียก “กิ๋นสลาก” ตามสำเนียงพูดของเมืองเหนือ ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สลากก๋วยเล็กใช้ถวายอุทิศแก่ ผู้ตายหรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในชาติหน้า ส่วนสลากใหญ่ใช้ถวายเป็นกุศลสำหรับผู้มีกำลังศรัทธา ทำถวายเพื่อเป็นพลวะปัจจัย ให้มีบุญกุศลมากยิ่งขึ้น การทานก๋วยสลากเป็นประเพณีที่ชาวล้านนาถือสืบเนื่องมานมนานแล้ว การทานก๋วยสลากจะเริ่มในราวเดือน 12 เหนือน่าน (คือเดือน 10 ใต้ ราวเดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11 ใต้ )

สำหรับประเพณีทำบุญถวายทานสลากภัต หรือตานก๋วยสลากภัต จะจัดขึ้นพร้อมกับประเพณีการแข่งเรือยาว ของจังหวัดน่าน ประจำปี 2565 ที่แข่งขันระหว่างวันที่ 10 – 11 กันยายน 2565 โดยบริเวณรอบวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร คณะศรัทธาทุกหมู่เหล่า จะทยอยนำก๋วยสลากภัต มาถวายแก่พระภิกษุสามเณร โดยมีคณะศรัทธาประชาชนในบ้านต่างๆ จัดทำสลากภัต และจัดขบวนแห่มาร่วมงานเป็นกลุ่มเป็นคณะ นำพืชผลมาถวายก๋วยสลาก หรือเส้นสลาก โดยนิมนต์พระสงฆ์มารับไทยทานประมาณ 200-300 รูป มารับก๋วยสลากซึ่งศรัทธาประชาชนร่วมกันถวาย การถวายสลากภัต เป็นการทำบุญไม่เจาะจงถวายให้พระสงฆ์ หรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ญาติๆ ตลอดถึงเทวบุตรเทวดาเจ้ากรรมนายเวร

พร้อมกันนี้ที่บริเวณเชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ ริมแม่น้ำน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงานประเพณีแข่งเรือยาวประเพณี ทานสลากภัตร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ปลอดเหล้า-เบียร์ นัดเปิดสนามประจำปี 2565 โดยมี นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณธนาคารกสิกรไทย พร้อมด้วยผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ประชาชนชาวจังหวัดน่าน และลูกเรือฝีพายจากทุกชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่านเข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ งานประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดน่าน ปลอดเหล้าเบียร์ นัดปิดสนาม ประจำปี 2565 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 10 – 11 กันยายน 2565 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลให้กับ จังหวัดน่าน รวม 5 รางวัลให้แก่เรือแข่ง 5 ประเภท คือ ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่ 48 – 55 คน ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน ประเภท เรือเล็ก 25 – 30 คน ประเภทเรือแบบโบราณ ฝีพายตั้งแต่ 25 – 35 คน และประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน ฝีพายตั้งแต่ 30 – 38 คน ชิงถ้วยพระราชทาน ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับในปี 2565 นี้ มีเรือเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 40 ลำ แยกยกเป็น 5 ประเภท คือ ประเภทเรือใหญ่ จำนวน 4 ลำ ประเภทเรือกลาง จำนวน 9 ลำ ประเภทเรือเล็ก จำนวน 9 ลำ ประเภทเรือแบบโบราณ จำนวน 4 ลำ และประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน จำนวน 14 ลำ โดยทำการแข่งขัน ณ สนามแข่งขันริมน้ำน่าน เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ

การแข่งขันเรือยาวประเพณี ทานสลากภัตร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ที่เป็นงานประเพณีแข่งเรือที่เก่าแก่ ที่สืบต่อมาแต่โบราณ โดยมีเอกลักษณ์เรือแข่งที่โดดเด่นสวยสง่างาม หัวเรือแกะสลักเป็นรูปพญานาค อ้าปากชูคอ อวดเขี้ยวโง้งงอสง่างาม ลำตัวเรือทาสีสวยสด และมีสวดลายที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวน่าน จังหวัดน่าน ได้ร่วมกับเทศบาลเมืองน่าน และสมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน ร่วมจัดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ขึ้น เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง สร้างความสามัคคีในหมู่ประชาชนให้เข้ามีส่วนร่วมในการส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น และเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน รวมถึงกระจายรายได้สู่ประชาชนในท้องถิ่น โดยได้รับความร่วมมือ จากชุมชน หมู่บ้าน ส่งเรือเข้าร่วมการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 32 ลำ แยกเป็น 5 ประเภท คือ ประเภทเรือใหญ่ 4 ลำ ประเภทเรือกลาง 5 ลำ ประเภทเรือเล็ก 8 ลำ ประเภทเรือแบบโบราณ 6 ลำ และประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน 9 ลำ

การแข่งเรือยาว ประเพณีนัดเปิดสนาม โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ และอีกหลายภาคส่วน ให้การสนับสนุน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานการแข่งเรือยาวประเพณีของจังหวัดน่าน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

4 วันอันตรายสงกรานต์! สังเวย 162 ศพ 'เมืองคอน' แชมป์อุบัติเหตุ

พลตำรวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

กราฟิกอัตลักษณ์'น่าน' เพิ่มเสน่ห์เที่ยวเมืองรอง

จ.น่าน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มอิทธิพลของลุ่มน้ำโขงและกลุ่มอิทธิพลล้านนา นครแห่งนี้สะสมบ่มเพาะปัญญาจากหลากทิศทางจนสามารถสร้างรูปแบบอัตลักษณ์อันเป็นฐานรากสำคัญนครน่านขึ้นมาได้ อัตลักษณ์น่านเติบโตโดยได้รับอิทธิพลสกุลช่าง

บ้านมั่นคงชนบท ‘น้ำพางโมเดล’ จ.น่าน (2) บ้านที่มั่นคงของ ‘สหายกำปืน' อดีตนักสู้ ‘อนุชน พคท.’

‘น้ำพางโมเดล’ คือการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของชาวบ้านตำบลน้ำพาง อ.แม่จริม จ.น่าน ตั้งแต่ปี 2558 จากเดิมที่ชาวบ้านปลูกข้าวโพดเป็นหลัก เป็นพืชเชิงเดี่ยวที่ต้องใช้สารเคมี

บ้านมั่นคงชนบท ‘น้ำพางโมเดล’ จ.น่าน (1) “ที่ดินคือชีวิต”...เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน !!

ตำบลน้ำพาง อ.แม่จริม จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองน่านไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร และอยู่ไม่ไกลจากชายแดนประเทศลาว