อึ้ง! ชุมพรมีรถดูดส้วมถูกกม.เพียงคันเดียวทั้งจังหวัด ขายสิ่งปฏิกูลให้ชาวสวน

ชุมพรเร่งแก้ปัญหาด่วน หลังกรมอนามัยจัดให้เป็นพื้นที่โซนสีแดง ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลภายในจังหวัด ทิ้งสะสมเฉลี่ย 20,370.72 ลบ.ม./ปี เผยทั้งจังหวัดมีดูดส้วมถูกต้องเพียงคันเดียว แถมนำสิ่งปฏิกูลไปขายให้เกษตรชาวสวนอีกด้วย

3 มี.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากกรณีที่กรมอนามัยจัดอันดับให้ จ.ชุมพร อยู่ในพื้นที่โซนสีแดง เพราะไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลภายในจังหวัดอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีรถดูดส้วมที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1 คัน ในจังหวัดชุมพร และยังำปฏิกูลไปขายให้กับเกษตรกร ชาวสวน โดยคณะทำงานฯ จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อตั้งเป้าหมายและวางแนวทางแก้ปัญหา ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและพัฒนาให้ จ.ชุมพรเป็นเมืองน่าอยู่และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวชุมพร

จากกรณีกรณีดังกล่าวมีรายงานว่าหน่วยงานเกี่ยวข้องได้มีการประชุมเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 2 มีนาคม 66 ที่ผ่านมา เพื่อเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผวจ.ชุมพร ได้มอบหมาย นายทศพล เผื่อนอุดม รอง ผวจ.ชุมพร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการสิ่งปฏิกูลรวมจังหวัดชุมพร ตามมติคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 1/2566 เพื่อให้มีการจัดการสิ่งปฏิกูลรวมให้ถูกสุขลักษณะ เกิดความเรียบร้อย และลดการแพร่กระจายโรคจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ที่ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ศาลากลางจังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เทศบาลเมืองชุมพร เทศบาลเมืองหลังสวน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดชุมพร สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพรเป็นฝ่ายเลขานุการ

จากการประชุมข้อมูลสถานการณ์สิ่งปฏิกูลจังหวัดชุมพร กรมอนามัยได้จัดให้จังหวัดชุมพร อยู่ในพื้นที่สีแดง เนื่องจากไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลภายในจังหวัด และมีรถดูดส้วมที่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1 คัน ในจังหวัดชุมพร และมีสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นสะสมเฉลี่ย 20,370.72 ลบ.ม./ปี ทำให้เกิดการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ถูกต้อง เกิดการลักลอบนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ

นอกจากนั้นนำเอาสิ่งปฎิกูลดังกล่าวไปขายในสวนไร่นา มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการสิ่งปฏิกูลรวมจังหวัดชุมพร จึงได้ร่ว มประชุมและมีมติให้เทศบาลเมืองชุมพร เทศบาลเมืองหลังสวน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกำจัดสิ่งปฏิกูลดังนี้

1 .จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และการดำเนินการตามกฎหมายที่ถูกต้องให้แก่ผู้ประกอบกิจการรถดูดส้วม เจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องที่และท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

2 .ศึกษาแนวทางการดำเนินงานการกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม โดยแบ่งเขตการรับผิดชอบกำจัดสิ่งปฏิกูลออกเป็น 3 เขต เพื่อพิจารณาการสร้างระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลรวมโดยเทศบาลเมืองชุมพร เทศบาลเมืองหลังสวน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ทั้งในส่วนของการจัดหางบประมาณ สถานที่ และการสร้างความเข้าใจในชุมชน

3 .ดำเนินการทบทวนข้อบัญญัติท้องถิ่น เรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ตาม พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ,พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2561 ของหน่วยงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งรวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการรถดูดส้วมมาดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย

4 .ให้บูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการสิ่งปฏิกูลรวมจังหวัดชุมพร ตามมติคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดชุมพร และคณะกรรมการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดชุมพร

ทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้กล่าวว่า ขอให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุมโดยเร็ว และให้นำผลการปฏิบัติตามมติที่ประชุมมานำเสนอในคราวประชุมครั้งถัดไป เพื่อจะได้สร้างให้จังหวัดชุมพรเป็นเมืองน่าอยู่ที่ถูกสุขอนามัยและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวชุมพรต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง เพิ่มศักยภาพการผลิต สร้างมูลค่าและขยายฐานตลาดแก่สถาบันเกษตรกร

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง ปี 2567

ศพก. - แปลงใหญ่ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับรายได้ พัฒนาศักยภาพเกษตรกร

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ครั้งที่ 4/2567 ณ

สศท.7 เผยผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาน้ำนมดิบอินทรีย์ ภายใต้ BCG Model สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์รายสินค้า

เกษตรกร เตรียมเฮ พร้อมก้าวสู่การเป็น Service Provider เต็มรูปแบบ

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังผลักดันนโยบายการอำนวยความสะดวกด้านการเกษตรเป็นผล ส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ให้บริการทางการเกษตรครบวงจร

ปลูกข้าวโพดหวาน สร้างรายได้เดือนละกว่าครึ่งแสน

เกษตรกรสองสามีภรรยาชาวอำเภอนาโยง จ.ตรัง ใช้พื้นที่นาข้าวหลังเก็บเกี่ยว หันมาปลูกข้าวโพดหวานฝักใหญ่ เมล็ดเหลืองเรียวยาว เป็นที่ต้องการของตลาด ขายกิโลกรัมละ 25 บาท สร้างรายได้ 1,000-2,000 บาทต่อวัน เคล็ดลับคือทำปุ๋ยหมักจากต้นข้าวโพดนานข้ามปีจึงจะนำมาใช้

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' แฉ โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า