'ชาวเกาะลิบง' ร้องผู้ว่าฯตรัง เดือดร้อนหนัก คลื่นซัดบ้านพังยับผ่านมา 7 เดือนยังไร้เยียวยา

ชาวบ้านสุดทน บุกล้อมศาลากลางตรัง เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ว่าตรัง หลังจากผ่านไป 7 เดือน ที่อยู่อาศัยถูกคลื่นซัดพัง รัฐยังไม่เยียวยา ไม่มีแม้ที่ดินแม้จะสร้างบ้าน เดือดร้อนหนัก เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือด่วน ก่อนหน้ามรสุมจะมาอีกครั้ง 

19 มีนาคม 2568 - ชาวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง บุกศาลากลางจังหวัด ขอคำตอบภายใน 15 วัน แก้ปัญหาความเดือดร้อน ชาวบ้านชุมชนมดตะนอย หมู่ที่ 3 และ ชาวบ้านชุมชนบ้านเกาะมุก หมู่ที่ 2 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ยื่นหนังสือผู้ว่าฯตรัง เรียกร้องขอจัดสรรพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงสร้างที่อยู่อาศัย 10 ไร่ สำหรับ 17 ครัวเรื่อนที่ถูกคลื่นลมมรสุมพัดกระหน่ำจนทรัพย์สิน บ้านเรือนพังเสียหาย แผ่นดินกลื่นไปกับทะเล ในขณะที่ชาวบ้านชุมชนบ้านเกาะมุกเรียกร้องการบริหารจัดการที่ดินบริเวณหาดชาลี เรียกร้องให้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่กว่า 80 นาย พร้อมอาวุธครบมือข่มขู่คุกคามประชาชน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวบนเกาะมุก

ที่หน้าศาลากลางจังหวัดตรัง วันนี้ กลุ่มชาวบ้านชุมชนมดตะนอยหมู่ที่ 3 และชาวบ้านชุมชนบ้านเกาะมุก ประมาณ 100 คน รวมตัวเดินทางมายื่นหนังสือติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ชุมชนผู้ประสบภัยพิบัติที่ถูกคลื่นลมมรสุมพัดกระหน่ำจนทรัพย์สิน บ้านเรือนพังเสียหายแผ่นดินกลื่นไปกับทะเล

โดยนายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มอบหมายให้ นายจักรพงษ์ รัชนีกุล ปลัดจังหวัดตรัง พบกับปะกับชาวบ้านและเป็นตัวแทนรับหนังสือ ซึ่งที่ผ่านมา ชาวบ้านชุมชนบริเวณบ้านมดตะนอย หมู่ที่ 3 ต.เกาะลิบง ได้ความเดือดร้อนเป็นผู้ประสบภัยพิบัติที่ถูกคลื่นลมมรสุมพัดกระหน่ำจนทรัพย์สิน บ้านเรือนพังเสียหายแผ่นดินกลื่นไปกับทะเล เมื่อวันที่ 18-19 กันยายน 2567 ส่งผลให้บ้านเรือนทรัพย์สินเสียหาย 17 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่พักชั่วคราว เพราะบ้านไม่สามารถกลับไปซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ได้ มีความเสี่ยงที่จะโดนคลื่นพายุซัดในช่วงหน้ามรสุม

ต่อมา อบต.เกาะลิบงและผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง ได้จัดประชุมชาวบ้านเพื่อรับฟังปัญหา มีความเห็นร่วมกันว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาขออนุญาตขยายพื้นที่ให้ประชาชนตั้งบ้านเรือน เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ออกจากแนวเขตกระแสคลื่นเซาะชายฝั่ง แม้จะมีการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือมีหน่วยงานต่าง ๆ เดินทางลงมาดูพื้นที่ ยังไร้ซึ่งทางออกในการแก้ปัญหา ชาวบ้านต่างรอคอยและไร้ความหวัง ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมี

ขณะที่ชาวชุมชนบ้านเกาะมุกเรียกร้องการบริหารจัดการที่ดินบริเวณหาดชาลี หลังจากเจ้าหน้าที่กว่า 80 นาย พร้อมอาวุธครบมือข่มขู่คุกคามประชาชน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวบนเกาะมุก นอกจากนั้นยังมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีนายทุนเข้ามายึดครองพื้นที่บริเวณชายหาดชาลี ในการสร้างร้านค้า ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งที่เป็นข้อกังวลของประชาชนบนเกาะมุกคือการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณหาดชาลี ในรูปแบบป่านันทนาการ ยังมีข้อจำกัดเป็นอย่างมาก และมีการเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน อันจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวบนเกาะมุกในอนาคต

1. เรียกร้องให้กรมป่าไม้ ยุติการก่อสร้างใด ๆ บนพื้นที่ชายหาดชาลี จนกว่าจะมีข้อตกลงแก้ปัญหาร่วมกับชุมชนและแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดินบริเวณหาดชาลี บ้านเกาะมุก 2. ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่นำกำลังอาวุธลงพื้นที่เกาะมุก ถือเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ เนื่องจากสร้างความตื่นตระหนกตกใจแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวบนเกาะมุกเสียหาย 3. ชุมชนเรียกร้องให้มีการจัดการพื้นที่ในรูปแบบการจัดตั้ง “ป่าชุมชน” แทน “ป่านันทนาการ” เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิในการปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศควบคู่กับการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

นายอิสมาแอน เบ็ญสะอาด กล่าวว่า การมายื่นหนังสือครั้งนี้ เพราะชาวบ้านได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติคลื่นมรสุมพัดบ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหาย จำนวน 17 หลัง 7 เดือนแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปหลายหน่วยงาน ทางรัฐมนตรีก็รับทราบเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรเลย ชาวบ้านมีความกังวลว่าอีก 3 เดือนพายุจะมาอีก เขายังไม่มีที่อยู่อาศัย ยังไม่มีบ้าน ทางราชการรับปากก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวแต่อย่างใด ยังไร้วี่แวว จึงต้องเดินทางมาหาท่านผู้ว่าฯวันนี้

ทั้งนี้ตนมองว่าทางจังหวัดตรังให้ความสำคัญน้อย เพราะตั้งแต่เกิดเรื่องมา 7 เดือน ยังไม่มีวี่แววว่าจะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ชาวบ้านบางคนต้องไปเช่าบ้านอยู่ ซึ่งเขาเองก็ไม่มีรายได้ สร้างภาระให้กับพี่น้องประชาชน โดยมันติดข้อกฎหมาย “สัตว์อยู่ได้ คนอยู่ไม่ได้” เป็นปัญหาสิทธิของชุมชน ไม่มีสิทธิของชาวบ้าน คนมีค่าน้อยกว่าลิง ชาวบ้านมีความรู้สึกน้อยใจ เพราะวันนี้ทำไมทางราชการรับรู้ปัญหาเกิดขึ้น 7-8 เดือนแล้ว ทำไมยังไม่ได้รับการแก้ไข

หลังจากรับหนังสือ นายจักรพงษ์ รัชนีกุล ปลัดจังหวัดตรัง ได้รับปากว่าจะนำหนังสือยื่นให้กับท่านผู้ว่าฯราชการจังหวัดตรัง และจะส่งต่อให้กับผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะมีแนวทางช่วยเหลืออนุญาตใช้พื้นที่ได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง แต่อย่างไรก็ตามจะดำเนินการเพื่อให้ได้คำตอบภายใน 15 วัน ชาวบ้านพอใจรับข้อเสนอ ต่างทยอยแยกย้าย โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อากาศแปรปรวน! ไทยตอนบนอุ่นขึ้นแต่เช้ายังเย็น-ใต้ฝนน้อยลง คลื่นลมยังแรง

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า อุณหภูมิไทยตอนบนปรับสูงขึ้น 1-3 องศา แต่ยังคงมีอากาศเย็นช่วงเช้า ขณะที่ภาคใต้มีฝนลดลง แต่อ่าวไทยและอันดามันยังคงมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือควรใช้ความระมัดระวัง

อากาศร้อนจัด! เหนือ-กลางแตะ 41 องศา เตรียมรับพายุฤดูร้อน 16-17 มี.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยาเผย ไทยตอนบนยังคงร้อนจัด โดยบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลางอาจแตะ 41 องศาเซลเซียส ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเผชิญสภาพอากาศ

อุตุฯ ประกาศฉบับที่ 1 เตือน 'อากาศแปรปรวน' อีสานลด 5-8 องศา ภาคอื่น 2-4 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 16-20 มีนาคม 2568)

สลด! รถไฟชนรถกระบะ เสียชีวิต 4 ราย เจ็บ 6

ชาวบ้านหวาดผวา เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรถไฟซ้ำซาก แต่ครั้งถือว่ารุนแรงมาก ตายคาที่ 4 ศพ บาดเจ็บอีก 6 ราย ขณะที่นักงานขับรถไฟบอก บีบแตรเตือนมาเกือบ 100 เมตร สุดวิสัยแบรครถได้ทัน บางศพกระเด็นไปไกลนับ 10 เมตร

อากาศแปรปรวน! เหนือ-อีสานหนาวเช้า กลางวันร้อนจัด-ฝุ่นพิษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยพื้นที่ภาคเหนือและอีสานยังคงหนาวเย็นในช่วงเช้า แต่พอตกบ่ายอุณหภูมิพุ่งสูงแตะ 36-38 องศาเซลเซียส ขณะที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเจอฟ้าหลัว ฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนประปราย ชาวเรืออ่าวไทยตอนล่างควรระวังคลื่นลมแรงในบางจุด