จากปฏิกิริยาความไม่ค่อยเป็นเอกภาพของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะอย่าง “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” จนมีการมองว่ามีการนำประเด็นยุบพรรคที่เป็นขื่อคาคออยู่ทั้งสองพรรคขึ้นมาเล่นเกมกันนั้น เป็นแค่การต่อรองทางการเมืองและผลประโยชน์เท่านั้น
เมื่อวันศุกร์สุดสัปดาห์มีข่าวในทำนองว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต.พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากเหตุ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองยินยอมให้นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำ โดยเห็นว่าคำร้องมีมูล และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนและมีความเห็นเสนอ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่สามารถขอขยายได้อีกครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะแล้วเสร็จ
โดยผู้ร้องเห็นว่า เข้าข่ายขัดมาตรา 29 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และการที่พรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ก็เข้าข่ายขัดมาตรา 28 ซึ่งหากการสอบสวนพบว่าเป็นความผิดก็จะเป็นเหตุให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเสนอต่อ กกต.ให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคตามมาตรา 92 (3) ของกฎหมายเดียวกันได้
กรณีดังกล่าวมีผู้ร้องที่ถูกระบุว่าเป็นบุคคลนิรนาม นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี, นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ, นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบชาว 2006 เป็นผู้ยื่นคำร้อง อ้างถึงพฤติการณ์ของนายทักษิณ ได้อ้างถึงการที่แกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไปร่วมประชุมกับนายทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อพิจารณาเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง
และอ้างอิงถึงการให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณหลายครั้งเกี่ยวกับการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล การชี้นำพรรคเพื่อไทยในการเลือกพรรคร่วมรัฐบาล การนำวิสัยทัศน์ที่นายทักษิณได้แสดงไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค. มาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล
ขณะที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล เหมือน รู้ทางมวย ระบุว่า ไม่เป็นไร ก็ชี้แจงไป ซึ่งก็ทราบว่าร้องถึง 6 พรรค ดังนั้นไม่เป็นไร ก็ชี้แจงกันไป และเคยให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า ถ้าอ้างว่าครอบงำ ในวันนั้นที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลไปที่บ้านจันทร์ส่องหล้ามีการคุยกันและเห็นร่วมกันว่าอย่างไร จำได้หรือไม่ และวันรุ่งขึ้นพรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมก็เห็นของเราอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นจะมีอะไรมาครอบงำ ยืนยันว่าไม่มี
แต่แค่การที่มีข่าวว่า “แสวง บุญมี” รับคำร้องไว้พิจารณาก็ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมเล็กๆ เพราะปรากฏการณ์ทางการเมืองในช่วงนี้ดู แปลกแปร่ง นำไปสู่การวิเคราะห์ ตีความถึงเสถียรภาพรัฐบาลน่าจะไม่มั่นคงมากนัก ต้องยอมรับว่าพรรคแกนนำอย่าง “เพื่อไทย” ไม่ได้มีเสียงในมือที่จะสั่งชี้นิ้ว ขวาหัน-ซ้ายหัน เหมือนยุคที่เก้าอี้ สส.ท่วมท้นในอดีต การต่อรองจึงทำได้แค่การอุปโลกน์โมเดล “จับมือ” กับพรรคส้มไว้เป็นเครื่องมือต่อรอง
แม้จะเป็นการมองว่าเป็น “การละคร” ของเหล่าบรรดา “นักการเมือง-นายทุน" ที่สร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดความปั่นป่วน เพื่อลบล้างคำมั่นสัญญาและจุดยืนต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่ได้เคยหาเสียงไว้ แต่ในนั้นก็ปรากฏว่ามี “ร่องรอย” ให้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันเท่าใดนัก แต่ก็ใช่ว่าจะ “ปิดบิล” กันไม่ได้
หรือแม้กระทั่งท่าทีชักออกชักเข้าในเรื่องการแก้ไข รธน. พ.ร.บ.ประชามติ เลยไปถึงการรับรองรายงานของคณะกรรมาธิการฯ ประเด็นนิรโทษกรรม และกฎหมายในฝ่ายรัฐบาลที่เสนอต่อสภา
โดยมี “พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน” รองประธานสภาฯ จากพรรคเพื่อไทย คอย “สับคัตเอาต์” ปิดฉากลิเกไม่ให้มีการลงมติ สะท้อนให้เห็นถึงร่องรอย “การส่งสัญญาณต่อรอง-การเตือนล่วงหน้า” เพราะหลายดีลในพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้ข้อยุติและยังไม่ลงตัว
ว่าแต่ว่า อะไรที่ ไม่ลงรอยกัน ในเหล่าบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็น “แกนนำ”?
เพราะในที่สุดแล้วล้วนเป็นเรื่อง “รสนิยม” ของเหล่าพ่อค้าวาณิชที่เข้ามาเสวยอำนาจอยู่ในรัฐบาล ต่างมีเป้าหมายในเรื่องของ "ผลประโยชน์” ที่มาจากการอนุมัติโครงการ รวมไปถึงเมกะโปรเจกต์ที่ยังตกลงกันไม่ได้
อย่าลืมว่ายังมี “เมกะโปรเจกต์” มูลค่ามหาศาลที่ยังไม่ “เคาะ” หรือเดินหน้าอนุมัติ ทั้งที่ตั้งแท่นรอมานาน
ไม่ว่าจะเป็น “เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” หรือ “การเจรจาผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล” เลยไปถึงโครงการของพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังค้างเติ่งอีกหลายโครงการ
โดยเฉพาะเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ซึ่งนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง ในฐานะประธาน กมธ. บอกว่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา ครม. ตั้งแต่ 2 ครั้งแรกที่มีการประชุม แต่ดูเหมือนว่าเรื่องกลับเงียบไป ท่ามกลางกระแสข่าวว่าเหล่าบรรดา ผู้ลงขัน ตัวจริงยังคุยกันไม่จบ
โดยเฉพาะพื้นที่ “ออกใบอนุญาต” และเค้กหลายก้อนจะถูกหั่นซอยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนหนึ่ง
และเมื่อทุกอย่างลงตัว ไอ้โม่ง ที่ได้รับการจัดสรรเค้กก้อนนี้ก็จะค่อยๆ ถูกเปิดเผยตัวออกมา และคงไม่เกินความคาดหมายของผู้ที่สืบค้นข้อมูลเรื่องนี้อยู่แล้ว
ไม่นับรวมกรณีของการแบ่งก๊าซธรรมชาติทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ถือเป็นประเด็นอ่อนไหว และรัฐบาลไม่กล้าที่จะขยับเรื่องนี้มาก
5 มี.ค.2567 พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อภิปรายในสภา เรียกร้องให้รัฐบาลทำหนังสือประท้วงกัมพูชา กรณีสร้างสันเขื่อนลงทะเลอ่าวไทย ยึดหลักเขต 73
5 เม.ย.2567 ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ย้ำรัฐบาลยื่นประท้วงรัฐบาลกัมพูชา ให้ทำลายสันเขื่อนที่สร้างยื่นลงไปในทะเลหลักเขตที่ 73
10 เม.ย.2567 ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัย MOU 2544 ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่
4 ก.ย.2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยในคดีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เพราะไม่ปรากฏว่านายไพบูลย์เป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยตรงจากการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสอง ข้ออ้างของนายไพบูลย์จึงเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น
แต่ต้องยอมรับว่า การแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ภายใต้กรอบ MOU 2544 กับความสัมพันธ์แนบแน่นสองตระกูล “ชินวัตร-ฮุน เซน” ถูกจับตามองอยู่ไม่น้อย และเป็น ของร้อน ที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องขยับกันให้ถูกจังหวะ
จากปฏิกิริยาความไม่ค่อยเป็นเอกภาพของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะอย่าง “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” จนมีการมองว่ามีการนำประเด็นยุบพรรคที่เป็นขื่อคาคออยู่ทั้งสองพรรคขึ้นมาเล่นเกมกันนั้น เป็นแค่การต่อรองทางการเมืองและผลประโยชน์เท่านั้น
ทำให้ “หนูอิ๊งค์” นายกฯ แพทองธาร ที่ถูกตั้งคำถามเรื่องศักยภาพความเป็นผู้นำ จึงต้องกระชับอำนาจด้วยการเชิญพรรคร่วมรัฐบาลมาดินเนอร์เป็นครั้งแรกในวันที่ 21 ต.ค.นี้ เพื่อสร้างภาพความสมานฉันท์กันให้เกิดขึ้น
ส่วนประเด็นที่คุยจะเป็นไปอย่างที่คาดการณ์ หรือเป็นแค่การเปิดหัวไว้เพื่อลงลึกในรายละเอียดรายโครงการในวงพูดคุยอื่น คงต้องไปสืบเสาะหารายละเอียดกันต่อไป
ส่วนเรื่อง แก้ รธน.-เรื่องยุบพรรค ในช่วงรัฐบาลนี้ เป็นเรื่องที่ยังอยู่ไกลความเป็นจริง และคงไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะทั้งสองพรรคมีจุดร่วมที่ได้ประโยชน์จากผลของการยื้อเรื่องดังกล่าวไว้ แล้วค่อยไปว่ากันช่วงเลือกตั้งทั่วไป ว่าจะมีการปรับกติกาอะไรให้สองพรรคได้ประโยชน์แบบวิน-วิน
ขณะที่กระบวนการพิจารณายุบพรรคต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ซึ่งการเจรจา “แบ่งเค้ก” คงเห็นทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น และคงไม่แตกหัก เพราะเป็นกลุ่มการเมืองที่ “ผูกปิ่นโต” กันมาอย่างยาวนาน
ปรากฏการณ์ทางการเมืองช่วงนี้อาจจะมีการกวนน้ำให้ขุ่น เขย่าวาทกรรมกันไปมา แต่คาดว่าไม่ได้ส่งผลให้แตกหักหรือเปลี่ยนผู้มีอำนาจ จะเรียกได้ว่าเป็นการละครเพื่อแบ่งเค้กให้จบอย่างลงตัวเท่านั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จตุพร' อัดคนทุจริต จิตตกมาตรฐานต่ำ อวดยิ่งใหญ่ตวาดไล่ รมต.
จตุพรฟาดทักษิณ คุณใหญ่มาจากไหน เย้ยมาตรฐานการเมืองต่ำ ชกใต้เข็มขัด ลามปามลากครอบครัวไม่เกี่ยวข้องการเมืองมาโพนทะนาเสียหาย ซัดกลับมีอาชีพอะไรทำไมรวยแล้วยังโกงบ้านเมือง ปัดหากินกับม็อบเพราะไม่ได้คุมเงิน ปูดบางพรรคหลังเลือกตั้งจ่ายเงินให้ สส.คนละ 5 ล้านแล้ว ย้อนคุณรู้หรือไม่? จะให้ ปปง.ตรวจสอบหรือไม่
เรืองไกร ไล่บี้นายกฯทวงหลักฐานการลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท
เรืองไกร ทวงข้อมูลหลักฐานการลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทต่าง ๆ จากนายกรัฐมนตรี
เทพไทจวก ‘พรรคร่วม’ ทำตัวเป็นลูกไล่ทักษิณ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก "เทพไท - คุยการเมือง"
‘หนู’ ลั่นฟังแค่ ‘อิ๊งค์’ ยันร่วมรัฐบาลเป็นไฟต์บังคับ ‘ทักษิณ’ พูดไม่นำพา
"อนุทิน" ลั่น! รับสัญญาณจากนายกฯ อิ๊งค์เท่านั้น ยันที่ "ทักษิณ" พูดไม่ได้หมายถึงรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย "ท่านทักษิณพูดถึงพรรคที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผมก็ไม่นำพาไปฟังอะไรมาก"
รัฐบาลลุยขายฝันหนีบ่วงการเมือง แกนนำม็อบขยับจัดทัพเดินหน้าไล่
การแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือนของ อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ชื่อ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่สตูดิโอ 4 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)
'อนุทิน' ยันไม่ใส่ใจคำพูด 'ทักษิณ' โชว์ห้าวตะเพิดพรรคร่วมฯ ขอฟังแค่นายกฯอิ๊งค์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการข่าวเที่ยง ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาพรรคเพื่อ