เกษตรกรเลี้ยงกุ้งยิ้ม ครม.ปรับหลักเกณฑ์เข้าถึงเงินกู้

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเฮ! ครม.ปรับหลักเกณฑ์เข้าถึงเงินกู้สถาบันการเงินง่ายขึ้น ชี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลน

13 เม.ย.2565 – น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 เ.ม.ย. ครม.เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี หรือ GAP (Good Aquaculture Practice) และมาตรฐานฟาร์มกุ้ง CoC (Code of Conduct) จากมติ ครม.เมื่อ 30 ก.ย.2546 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเดิมได้กำหนดให้เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถเลือกขอรับการรับรองมาตรฐานเพียงมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) จากเดิมอยู่นอกพื้นที่ป่าชายเลน

2.เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี GAP (Good Aquaculture Practice) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Code of conduct หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมง หรือหน่วยงานรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จากเดิมที่ต้องผ่านการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินและแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบต่อไป

น.ส.รัชดากล่าวด้วยว่า การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ให้อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบังคับใช้อยู่แล้ว โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่จะขอรับรองมาตรฐานนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) กับกรมประมงก่อน ซึ่งต้องแสดงหลักฐานข้อมูลที่ดินว่าสถานประกอบการไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น เขตพื้นที่ป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น รวมถึงต้องอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนด และต้องแจ้งประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' การันตี ภท. ไม่ปรับ ครม. ชี้ 8 รมต. ทำงานคืบหน้า

'อนุทิน' ย้ำรัฐมนตรีภูมิใจไทย 8 คน ไม่มีขยับ ชี้ทุกคนทำงานเต็มที่ผลักดันนโยบายคืบหน้าตลอด นายกฯ ยังไม่ส่งสัญญาณปรับ ครม. พร้อมอุ้ม 'เกรียง' มอบ พช. ดูแลเพิ่มอีกกรม

พรรคร่วมรัฐบาลเคาะ 'ทำประชามติ' 3 รอบ เข้า ครม. อังคารนี้

'ภูมิธรรม' คอนเฟิร์มทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย ชง ครม. อังคารนี้ คาดทำรอบแรกเดือน ส.ค. ซัดกลุ่มจ้องเคลื่อนไหวห้ามปชช.ใช้สิทธิ์ ปัดหารือหัวหน้าพรรคร่วมเรื่องนิรโทษกรรม

เช็กเงื่อนไข 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ รับเดือนละ 3 พัน

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยเงื่อนไขคุณสมบัติ 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3 พันบาท เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.