'สภาพัฒน์' แจงเหตุไม่เดินหน้าโครงการขุดคลองไทยต่อ

“โครงการคลองไทย”สะดุด สภาพัฒน์ไม่ยื้อศึกษาเพิ่มเติม ชี้ใช้งบมหาศาลไม่เหมาะสมกับการลงทุน ไม่คุ้มค่ากับสถานการณืปัจจุบัน ย้ำมีทางเลือกอื่นที่ลงทุนน้อยแต่ได้ประโยชน์เหมือนกัน เล็งนำข้อมูลผลศึกษาโครงการฯลงเว็ปไซต์เพื่อเผยแพร่ต่อไป

29 ส.ค. 2565 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงกรณีโครงการคลองไทย (คอคอดกระ)เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน การดำเนินการในส่วนของโครงการคลองไทย เมื่อพิจารณา แล้วระหว่างผลเสียด้านสิ่งแวดล้อม หรือว่าการลงทุนอื่นๆที่ผ่านมาและผลประโยชน์ที่ได้รับ อาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน โดยในส่วนของคลองไทย ไม่ใช่แต่ขุดคลองอย่างเดียว ต้องมีในส่วนของระบบอื่นๆ ต้องทำสะพานข้ามคลองในหลายๆจุด และต้องมีการปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นโครงข่ายถนน เป็นต้น

“ต้องใช้งบประมาณในการเวนคืนที่ดิน จัดหาที่ดินใหม่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แล้วอีกอย่างเมื่อมีคลองไทยแล้ว แน่นอนว่าต้องถูกกดดันในแง่ของในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็จะมีผลด้วย ประเทศไทยก็คงไปอยู่ในจุดที่ต้องรับแรงกดดันด้วย เมื่อพิจารณาแล้ว เรื่องนี้อาจจะยังไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินการ ซึ่งมองว่าเรามีทางเลือกอื่นที่จะทำในลักษณะที่เป็นการลงทุนที่น้อยกว่าแต่ได้ประโยชน์เหมือนกัน”นายดนุชา กล่าว

อย่างไรก็ตาม สศช.อยู่ระหว่านำข้อมูลสรุปสาระสำคัญและผลการศึกษาลงในเว็ปไซต์เพื่อเผยแพร่ต่อไป ซึ่ง สศช ยืนยันว่าจะไม่มีการเดินหน้าศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เนื่องจากผลการศึกษาเบื้องต้นที่ได้ดำเนินการไป ก็ชี้ให้เห็นในระดับหนึ่งแล้วว่าการทำคลองไทยในสถานการณ์ปัจุจบัน อาจจะไม่เหมาระสม และในอนาคตก็ไม่มีความเหมาะสมเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับโครงการคลองไทย หรือโครงการขุดคอคอดกระ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีการเสนอให้มีการศึกษาโครงการ และก่อสร้างมาหลายครั้ง รวมทั้งมีเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านโครงการจากหลายฝ่าย โดยโครงการนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ สศช.ลงไปศึกษาโครงการนี้มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 เนื่องจากเป็นโครงการคลองไทยซึ่งเป็นข้อเสนอจากพื้นที่ผ่านมายังกรรมาธิการศึกษาในสภาฯ แต่ในปี 2563 ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2564 สศช.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประมาณ 11 ล้านบาท ให้ลงไปศึกษาโครงการกำหนดระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี โดยขอบเขตของการศึกษาเน้นที่การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะเส้นทางของคลองไทย 9 เอ จะผ่านจังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรังและกระบี่ มีระยะทาง 135 กิโลเมตร คาดว่า จะช่วยย่นระยะทางการเดินเรือได้ 1,200 – 3,500 กิโลเมตร

แหล่งข่าว กล่าวว่าจากการประเมินว่าโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้ยากไม่ว่าจะพิจารณาด้วยเหตุผลด้านใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านงบประมาณที่จะต้องใช้การลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท เหตุผลทางวิศวกรรมที่การเดินเรือข้ามระหว่าง 2 ฝั่งมหาสมุทรในระยทางยาวกว่า 135 กิโลเมตร ทำได้ยากมากในทางปฏิบัติ และเหตุผลด้านความมั่นคง โดยผลการศึกษาที่ สศช.ได้จากพื้นที่จะช่วยให้การตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับโครงการนี้มีความชัดเจนมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พาณิชย์เผยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์กระทบการค้าโลกแนะจับตาใกล้ชิด

สนค. เผยว่า ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลต่อการค้าโลก สงครามการค้าทำให้จีนเสียตำแหน่งแหล่งนำเข้าเบอร์ 1 กว่า 10 ปี ในตลาดสหรัฐฯ แก่เม็กซิโก ส่วนแบ่งตลาดของทั้งสหรัฐฯ และจีนลดลงในตลาดของอีกฝ่ายชัดเจน อีกทั้งความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเร่งการแบ่งขั้วเศรษฐกิจการค้า ขณะที่ประเทศในอาเซียนรวมถึงไทยได้ประโยชน์จากการส่งออกทดแทน พร้อมแนะจับตาสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกอย่างใกล้ชิด

'เลขาฯสภาพัฒน์' เผยพูดเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยเพราะเห็นตัวเลข ไม่ใช่ถูกนายกฯกดดัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวถึงกรณีออกมาเรียกร้องให้ธนาค

‘สภาพัฒน์’ คาดจีดีพีปี 67 ขยายตัว 2.2-3.2%

“สภาพัฒน์”เผยจีดีพีปี 66 โต 1.9 คาดเศรษฐกิจปี 67 ขยายตัว 2.2-3.2% ขอ ธปท.ทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ย จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตเหลือ 5% หวังช่วยกระตุ้นกำลังจ่ายเอสเอ็มอีให้เกิดการชำระหนี้ควัวเรือนดีขึ้น ย้ำต้องใช้นโยบายการเงินเข้ามาดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม

ครม.เห็นชอบงบ 552 ล้าน ให้จังหวัดอันดามัน หั่นออก 2 โครงการ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร จ.ระนอง ว่า ที่ประชุมครม.สัญจร เห็นชอบข้อเสนอของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวม 552 ล้านบาท โดยจะใช้งบประมาณปี 2566 ไปพลางก่อนนั้น

'นักวิชาการอิสระ' เตือนไทยไม่เข้าร่วม 'BRICS' หายนะศก.ยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง จับตา 'SCO'

'กมล' วิเคราะห์ อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย เตือนหากไม่เข้าร่วม BRICS ยังผูกอยู่กับดอลลาร์ เงินบาทจะไร้ค่าไปด้วย หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง จับตา องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO จะแทนยูเอ็น