เตรียมเงินเลย 'ธ.ก.ส.' เปิดรับฝากสลาก 3 หมื่นล้าน

ธ.ก.ส. เปิดรับฝากสลากผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus หน่วยละ 50 บาท วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ฝากครบ 2 ปี ได้รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.07 บาท พร้อมลุ้นรางวัลที่ 1 สูงสุด 5 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ รวมกว่า 16 ล้านบาทต่อเดือน พร้อมยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดา ดีเดย์เปิดรับฝาก 17 พ.ย.65

15 พ.ย. 2565 – นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธนาคารเปิดรับฝากสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. ผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus เพื่อสนับสนุนการออมเงินและอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์เงินฝากและสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. แก่ลูกค้าและประชาชนทั่วไป ในราคาหน่วยละ 50 บาท วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท พร้อมรับสิทธิ์ลุ้นเงินรางวัลมากมาย สูงสุด 5 ล้านบาท

โดยสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. เป็นสลากชนิดไร้ตราสาร มีอายุรับฝาก 2 ปี เมื่อฝากครบกำหนดไถ่ถอนจะได้รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.07 บาท หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ย 0.07% ต่อปี นอกจากนี้ยังได้ลุ้นรางวัลทุกวันที่ 16 ของเดือน และวันที่ 17 ม.ค. ของทุกปี รวม 24 ครั้ง ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล มูลค่า 5,000,000 บาท รางวัลที่ 1 ต่างหมวด มี 59 รางวัล รางวัลละ 3,000 บาท รางวัลที่ 2 มี 180 รางวัล รางวัลละ 2,000 บาท รางวัลที่ 3 มี 600 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท รางวัลที่ 4 มี 1,200 รางวัล รางวัลละ 400 บาท รางวัลที่ 5 มี 6,000 รางวัล รางวัลละ 300 บาท รางวัลเลขท้าย 4 ตัว มี 60,000 รางวัล รางวัลละ 25 บาท รางวัลเลขท้าย 3 ตัว มี 600,000 รางวัล รางวัลละ 10 บาท และรางวัลพิเศษปีละ 2 ครั้ง ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนธันวาคม 2566 ครั้งละ 2 รางวัล รางวัลละ 500,000 บาท รวมรางวัลสูงสุดทั้งสิ้น 668,042 รางวัล เป็นเงินรางวัลรวมสูงสุด 16,917,000 บาทต่อเดือน

ออกรางวัลครั้งแรกวันที่ 16 ธ.ค. 2565 โดยผู้ฝากต้องฝากสลากภายในวันที่15 ของทุกเดือน เพื่อรับสิทธิ์ตรวจรางวัลในเดือนนั้น ๆ และกรณีฝากไม่ครบ 3 เดือน คิดค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากมูลค่าสลาก 2 บาทต่อหน่วย (ต้นเงินคงเหลือ 48 บาทต่อหน่วย) ที่สำคัญดอกเบี้ยและเงินรางวัลจากการฝากสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีดอกเบี้ย และสามารถใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินกับ ธ.ก.ส. บนแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ ลูกค้าจะได้รับ e-Slip ไว้เป็นหลักฐานในการฝากสลากบันทึกไว้ในอัลบั้มภาพในโทรศัพท์เคลื่อนที่อัตโนมัติ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลหมายเลขสลาก รายการธุรกรรมและประวัติการถูกรางวัลได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการออกสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. ได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่นความถี่ AM 891 กิโลเฮิรตซ์ เว็บไซต์ www.baac.or.th Facebook Page “BAAC Thailand” Youtube Channel “BAAC Thailand” หรือตรวจผลรางวัลทาง A-Mobile Plus โดยท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธ.ก.ส. หนุนธุรกิจชุมชน อัดฉีดสินเชื่อดอกเบี้ยถูกวงเงิน 50,000 ล้านบาท

ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย ระยะที่ 2 ตามนโยบายรัฐบาล หนุนผู้ประกอบการเป็นหัวขบวนขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน และสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน สู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน อัดฉีดวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปีใน 3 ปีแรก โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ต่อปี สามารถติดต่อขอรับสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568

ธ.ก.ส.ปักหมุดเติมทุน 3 หมื่นล้านอัดสินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร

“ธ.ก.ส.” ปักหมุดเติมทุน 30,000 ล้านบาท ผ่านสินเชื่อ SME เสิรมแกร่ง เคาะดอกเบี้ย 4% หนุนเอสเอ็มอีเกษตรดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก BCG โมเดล

'ธ.ก.ส.' ดีเดย์ 3 ม.ค. ขายสลากดิจิทัล ลุ้นรางวัลสูงสุด 5 ล้าน

“ธ.ก.ส.” ดีเดย์ 3 ม.ค. 2566ลุยขายสลากดิจิทัล วงเงิน 30,000 ล้านบาท เคาะหน่วยละ 50 บาท ฝากครบ 2 ปี รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.07 บาท พร้อมลุ้นรางวัลที่ 1 สูงสุด 5 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาทต่อเดือน

รอซื้อได้เลย 'ธ.ก.ส.' จ่อขายสลากออมทรัพย์ 2.2 หมื่นล.

“ธ.ก.ส.” เปิดรับฝากสลากออมทรัพย์ ชุดเกษตรกรมั่งคั่ง 7 ช่วงที่ 2 หน่วยละ 100 บาท วงเงินรวม 2.2 หมื่นล้านบาท ชูลุ้นรางวัลที่ 1 สูงสุด 10 ล้านบาท ฝากครบ 3 ปีรับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.18 บาท เคาะเปิดขาย 2 ช่วง ลูกค้าเกษตร 19-21 ก.ย. ส่วนลูกค้าทั่วไป 22 ก.ย. 2565

ธ.ก.ส.โชว์โอนเงินประกันภัยข้าว-ข้าวโพดยอด 1.5 พันล้าน ช่วยเกษตรกร 1.1 แสนราย

‘ธ.ก.ส.’ เดินเครื่องโอนเงินค่าสินไหมทดแทนให้เกษตรกรในโครงการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 กว่า 1.5 พันล้านบาท ช่วยบรรเทาความเสียหายและลดความเสี่ยงด้านการผลิตแก่เกษตรกรกว่า 1.1 แสนราย พื้นที่การเกษตร 1.2 ล้านไร่