เตรียมตัว 'คลัง' จ่อขายพันธบัตรออมทรัพย์ 'ออมไปด้วยกัน' รอบใหม่ 70,000 ล้าน 22 พ.ย.นี้

ตรียมพร้อม!! ร่วม “ออมไปด้วยกัน” อีกครั้ง จำหน่ายผ่าน 4 ธนาคารตัวแทน เริ่ม 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

19 พ.ย. 2564 นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่าสบน. จะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่น “ออมไปด้วยกัน” ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท ให้กับประชาชนและนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร และเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่พลาดโอกาสในการลงทุนพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต สบม. จะได้ร่วมจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้อีกครั้ง ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564นี้ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. เป็นต้นไปเริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 1,000 บาท – ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง มีรายละเอียดดังนี้

  1. จำหน่ายให้แก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564 วงเงิน 55,000 ล้านบาท 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 2.10 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 3.00 ต่อปี ทั้ง 2 รุ่นจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน จำหน่ายทั้งในช่องทาง CounterInternet Banking และ Mobile Banking ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง

2. จำหน่ายให้แก่นิติบุคคลไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564 วงเงิน 15,000 ล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.20 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือนจำหน่ายเฉพาะช่องทาง Counter ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามวิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านช่องทางต่างๆของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่งได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ เพื่อความสะดวกและสามารถทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมบัญชีกลาง เปิดแผนเร่งรัดจ่ายเงินงบปี 67

กรมบัญชีกลางออกแนวทางปฏิบัติในการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างและการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ปี 67 เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถเบิกจ่ายงบได้ทันภายในปีงบประมาณ

คลังปลื้ม 'ฟิทช์' คงเครดิตเรตติ้งไทยชมเปาะเศรษฐกิจฟื้นต่อเนื่อง

คลังปลื้ม “ฟิทช์” คงเรตติ้งประเทศ ชี้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เคาะจีดีพีปีนี้โตแจ่ม 3.7% ปี 2567 โตเพิ่มแตะ 3.8% มองท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนช่วยหนุน ชมเปาะภาคการคลังปึ๊ก ขาดดุลการคลังลดต่อเนื่อง สะท้อนรายได้ภาษีแข็งแกร่ง-หมดมาตรการดูแลโควิด-19