รฟท. รับเงิน 1,309 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดินจาก เซ็นทรัล

รฟท. รับ 1,309 ล้าน “เซ็นทรัล” จ่ายค่าใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน งวดที่15 หมดสัญญาปี 71 รวม 20 ปี มูลค่า 2.1 หมื่นล้าน

18 ธ.ค. 2565 – นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่า รฟท. เป็นผู้แทน รฟท. รับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 65 จากนายปัณฑิต มงคลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานด้านการเงินบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ผู้แทนจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นค่าใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ของ รฟท. ในรอบระยะเวลา 1 ปี (วันที่ 19 ธ.ค.64 – 18 ธ.ค.65) เป็นเงิน 1,309,059,000 บาท รับมอบการรับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน

ทั้งนี้ รฟท.ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน บนพื้นที่จำนวน 47.22 ไร่ระหว่าง รฟท. กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.51 ระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.51 – 18 ธ.ค.71 โดยผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญา เป็นจำนวนเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) กำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี โดยจะต้องชำระให้แก่ รฟท. เป็นรายปี รวม 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

สำหรับการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์การใช้พื้นที่ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 65 เป็นปีที่ 15 ที่ รฟท. จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,309,059,000 บาท(หนึ่งพันสามร้อยเก้าล้านห้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ส่งผลให้จนถึงปัจจุบันระหว่างปี 51-65 รวมแล้วทั้งสิ้น12,365,785,000 บาท

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา รฟท. ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารที่ดินของ รฟท. ออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ พื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาท และไม่มีปัญหาการบุกรุก เพื่อนำที่ดินออกจัดประโยชน์เป็นสิ่งปลูกสร้าง การเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยที่ดินทั้งสองส่วนนี้ รฟท. ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารทรัพย์สินและสัญญา รวมถึงได้ตั้ง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสทจำกัด (SRT Asset) โดยเป็นบริษัทลูกที่ รฟท. ถือหุ้น100% ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้การบริหารทรัพย์สินของ รฟท. ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รฟท.แจงเหตุขบวนรถไฟทางไกลล่าช้า หลังเปิดใช้สถานีกลางแห่งใหม่

รฟท. แจงเหตุขบวนรถไฟทางไกลล่าช้า หลังปรับให้บริการ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’วันแรก พบตู้โดยสารขบวนรถไฟชำรุด ต้นเหตุต้องสับเปลี่ยนตู้โดยสารกับขบวนอื่นๆ ยันขบวนดีเลย์ไม่เกี่ยวกับการเปิดขบวนเที่ยวปฐมฤกษ์

เช็กที่นี่ 19 ม.ค.นี้ รฟท. ปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกล 52 ขบวนให้บริการสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

เช็กที่นี่ 19 ม.ค.นี้ รฟท. ปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกล 52 ขบวนให้บริการ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 

รฟท. แจงเหตุระเบิดขณะกำลังเก็บกู้รถพ่วงตกรางสถานี ‘คลองแงะ-ปาดังเบซาร์’ สั่งเยียวยาทันที

‘การรถไฟฯ’ ชี้แจงเหตุระเบิดขณะกำลังเก็บกู้รถพ่วงตกราง ระหว่างสถานีคลองแงะ-ปาดังเบซาร์ พร้อมดูแลเยียวยาเจ้าหน้าที่และครอบครัวเจ้าหน้าที่ผู้เสียชีวิต ประสานฝ่ายความมั่นคง เร่งตรวจสอบพื้นที่เพื่อหาสาเหตุจากการเกิดเหตุครั้งนี้

รฟท.เร่งทางคู่ 'เด่นชัย-เชียงของ' ลุยเคลียร์เวนคืนคืบ 40%

รฟท.กางแผนรถไฟทางคู่สายใหม่ “ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” โชว์ทำสัญญาเวนคืนคืบหน้า 30% ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในปี66 ภาพรวมคืบหน้า1% เจองานหินทะลวงปากอุโมงค์ที่จ.พะเยา ปักหมุดเปิดให้บริการปี71

รฟท.เปิดให้บริการรถด่วนพิเศษสายใต้ ‘กรุงเทพ – ปาดังเบซาร์ - กรุงเทพ’ เพิ่มอีก 2 ขบวน

‘การรถไฟฯ’เปิดให้บริการขบวนรถด่วนพิเศษสายใต้ เพิ่ม 2 ขบวน เส้นทางกรุงเทพ – ปาดังเบซาร์ - กรุงเทพ เริ่ม 11ส.ค.นี้ หนุนนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น