'ดร.สามารถ' ชำแหละ 'ป้าย 33 ล้าน' บทเรียนราคาแพง ชี้โครงการขนาดเล็กก็มีเงินรั่วไหล

  'ดร.สามารถ' ชำแหละ ป้าย 33 ล้าน บทเรียนราคาแพง 4ข้อ ชี้ แม้โครงการขนาดเล็กก็อาจมีเงินรั่วไหล แล้วโครงการขนาดใหญ่ซึ่งยากที่จะตรวจสอบจะไม่มีเงินรั่วไหลหรือ

25ม.ค.2566- นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte เรื่อง “ป้าย 33 ล้าน” บทเรียนราคาแพง มีเนื้อหาดังนี้

ข้อกังขาของป้ายราคา 33 ล้านบาท ชี้ให้เราเห็นว่าแม้โครงการขนาดเล็กก็อาจมีเงินรั่วไหล แล้วโครงการขนาดใหญ่ซึ่งยากที่จะตรวจสอบจะไม่มีเงินรั่วไหลหรือ ?

บทเรียนที่เราได้รับจากการเปลี่ยนชื่อป้าย “สถานีกลางบางซื่อ” เป็น “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” มีดังนี้

1. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ควรขอพระราชทานชื่อสถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของประเทศไทยและเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนก่อนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน เช่นเดียวกับ “สนามบินหนองงูเห่า” ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเราเรียกขานกัน หรือ “ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (New Bangkok International Airport : NBIA)” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้สื่อสารตอนเริ่มดำเนินโครงการก่อนได้รับพระราชทานชื่อ “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 ก่อนเริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร

2. แม้ว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ได้ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนป้ายชื่อมีราคาแพง แต่เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าถ้าราคาไม่แพง คณะกรรมการฯ คงไม่เสนอแนะให้ทบทวนราคากลาง และวิธีการประมูล ซึ่งผมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ

แต่เป็นที่น่ากังขาว่า “เหตุใด รฟท. จึงไม่นำแนวทางตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ มาใช้ตั้งแต่การคิดราคากลางครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ซึ่งคำนวณได้ 33,169,726.39 ล้านบาท เพราะเป็นแนวทางที่ รฟท. รู้ดีอยู่แล้ว” ดังนี้

(1) นำตัวอักษรเดิม “สถานีกลาง” มาใช้ตามที่คณะกรรมการฯ เสนอแนะ ซึ่งผมขอเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรใช้ตัวอักษรเดิมอีก 2 ตัว ได้แก่ “ง” และ “อ” จากป้ายชื่อเดิม “บางซื่อ” มาใช้กับ “กรุงเทพอภิวัฒน์” ในป้ายชื่อใหม่ รวมทั้งควรนำตัวอักษรภาษาอังกฤษเดิมที่เหมือนกันมาใช้ด้วย
(2) ลดค่าออกแบบใหม่ซึ่งมีแบบเดิมอยู่แล้ว ไม่ได้ออกแบบใหม่ทั้งหมด
(3) ลดค่าใช้จ่ายในการเลือกใช้วัสดุ การรื้อถอนป้ายชื่อเดิม และติดตั้งป้ายชื่อใหม่
(4) เลือกวิธีการประมูลที่เปิดให้มีการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้ราคาลดลงได้
เหล่านี้เป็นแนวทางที่ รฟท. ควรนำมาใช้ในการคำนวณราคากลางในครั้งแรก เพราะมีประสบการณ์ในการคิดราคากลางดีอยู่แล้ว ปัญหาราคากลางที่ถูกกล่าวหาว่าแพงก็จะไม่เกิดขึ้น แต่เหตุใดจึงไม่นำมาใช้ ?

3. การเปลี่ยนป้ายชื่อเป็นโครงการขนาดเล็กแต่มีความสำคัญ โครงการขนาดเล็กเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณต่ำ การก่อสร้างไม่ซับซ้อน ซึ่งผู้สนใจทั่วไปสามารถรู้สึกได้ว่าราคาถูกหรือแพง ต่างกับโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง การก่อสร้างซับซ้อน ยุ่งยาก ดังเช่นโครงการรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งผู้สนใจไม่สามารถรู้สึกได้ว่าราคาถูกหรือแพง เพราะยากที่จะตรวจสอบได้ ด้วยเหตุนี้ หากโครงการขนาดเล็กมีเงินรั่วไหล แล้วโครงการขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นมากมาย เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าไม่มีเงินรั่วไหล ?

4. โดยสรุป โครงการเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีจาก “สถานีกลางบางซื่อ” เป็น “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” ทำให้ประชาชนทุกคนได้บทเรียนราคาแพงว่าเราต้องให้ความสนใจกับการใช้งบประมาณซึ่งเป็นเงินภาษีของพวกเราในการประมูลทุกโครงการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.สามารถ' แนะ นายกฯ ลด 'อุบัติเหตุจราจร' ช่วง สงกรานต์ เข้มงวดกวดขัน 'คนขับ'

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง แนะ “นายกฯ” ลด “อุบัติเหตุจราจร” ช่วง “สงกรานต์” มีเนื้อหาดังนี้่

'ดร.สามารถ' ถาม 'กพท.' ไหนว่าจะลดค่าตั๋วเครื่องบิน แนะกำหนดเพดานค่าโดยสารต่อกม.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ไหนว่าจะลดค่าตั๋วเครื่องบิน มีเนื้อหาดังนี้

'สุริยะ' ตั้งธงศึกษา 'สถานีขนส่งบขส.' ใหม่เสนอครม.ภายในปี67

“สุริยะ” สั่ง รฟท.ทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่พหลโยธินใหม่ แนะเกลี่ยพื้นที่ให้ บขส.สร้างรวมสถานีขนส่งผู้โดยสาร”เหนือ-อีสาน-ใต้”แห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คาดศึกษา

เจ๊งวันละ 7.4 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย

สามารถแฉรถไฟฟ้าสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสายครบ 30 วัน แล้ว ผงะ! ขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท ถามไปต่อหรือพอแค่นี้ ที่สำคัญอย่าลืมทุกสายต้อง 20 บาทเพราะหาเสียงไว้

เชื่อมั้ย! ค่ารถไฟฟ้าใน กทม. ต่ำสุดแค่ 3 บาท

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เชื่อมั้ย ? ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่ำสุด 3 บาท !

‘คมนาคม’ เปิดสถานีกลางฯเป็นศูนย์ประสานงานสนับสนุนภารกิจรับแรงงานไทยกลับบ้าน

“สุริยะ” สั่ง “คมนาคม” อำนวยความสะดวกคนไทยกลับจากอิสราเอลสู่ภูมิลำเนา เน้นย้ำ “บขส.-รฟท.” พร้อมช่วยเหลือดูแลจนภารกิจลุล่วง พร้อมเปิดพื้นที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นศูนย์ประสานงานอำนวยความสะดวก