คลังปลื้ม ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ก.พ. พุ่งสูงทุกภาค

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แสดงถึงความเชื่อมั่นในอนาคตที่ยังอยู่ในระดับสูงทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ”

27 ก.พ. 2566 – นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แสดงถึงความเชื่อมั่นในอนาคตที่ยังอยู่ในระดับสูงทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียดดังนี้

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 83.4 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 52 เดือน แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง และในภาคเกษตร เนื่องจากคาดว่าพืชเศรษฐกิจที่สำคัญจะเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เช่น ลำไย และยางพารา เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 82.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการบางรายมีแนวโน้มขยายกิจการเพิ่มขึ้น จากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในภาคการลงทุน เนื่องจากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายมีแนวโน้มจะขยายกิจการเพิ่มขึ้น

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 76.0 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการบางรายมีแนวโน้มจะขยายกิจการของตนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจภัตตาคาร

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 74.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในภาคการจ้างงาน เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จะจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 66.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการที่หลายสายการบินปรับเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศ และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการบางรายในพื้นที่มีแนวโน้มจะขยายธุรกิจของตนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 59.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และในภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรของประชาชนในพื้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคบริการได้รับผลกระทบจากค่าแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'

ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต  โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

นักเศรษฐศาสตร์ ฉีกหน้า ‘พิชัย’ ย้ำแนวคิดรื้อจัดเก็บภาษี ยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ฉีกหน้า”ขุนคลัง-พิชัย”ย้ำแนวคิดรื้อจัดเก็บภาษียิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไม่ใช่ลดเตือนลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเสี่ยงเกิดวิกฤติการคลังคนสงสัยเอื้อประโยชน์คนในรัฐบาล-กลุ่มทุนใหญ่  แนะเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ในอัตราก้าวหน้าจะได้ผลกว่า