ธปท.ยันดูแลแบงก์เข้มงวดชี้ธนาคารไทยมีความมั่นคง

ธปท.เผยการติดตามสถานการณ์ปัญหาสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรป และประเมินผลกระทบต่อระบบการเงินไทย 

20 มี.ค. 66 – นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากกรณี Regional Bank ของสหรัฐอเมริกา ที่ประสบปัญหาต้องปิดกิจการ โดยทางการได้ออกมารับประกันการจ่ายคืนเงินฝากเต็มจำนวน และมีกลไกปล่อยสภาพคล่องให้ระบบสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังมีกรณีธนาคาร Credit Suisse (CS) ที่เกิดปัญหาด้วยสาเหตุที่ต่างกัน โดย CS มีปัญหาสะสมมาก่อนหน้า และมีผลขาดทุนสูงต่อเนื่อง รวมถึงเมื่อมีข่าวว่าผู้ถือหุ้นรายสำคัญมีข้อจำกัดในการเพิ่มทุนให้ CS จึงกระทบความเชื่อมั่นของตลาด จนธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์และผู้กำกับดูแล ต้องให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง และล่าสุด ภาครัฐได้จัดการให้ธนาคาร UBS เข้าซื้อหุ้นของ CS เพื่อรวมกิจการและระงับไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามแล้ว

ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวใกล้ชิด และประเมินว่าผลกระทบจากเหตุการณ์ข้างต้นต่อระบบการเงินไทยมีจำกัด จากธุรกรรมของภาคธนาคารและกองทุนประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน การกำกับดูแล ธพ. ไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เข้มงวด โดยบังคับใช้เกณฑ์ด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องกับธนาคารทุกแห่ง ขณะที่บางประเทศ เช่น สหรัฐฯ จะเน้นการกำกับดูแลที่เข้มงวดกับ ธพ. ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญเป็นหลัก ขณะที่สำหรับ ธพ. ขนาดกลางและเล็ก การบังคับใช้เกณฑ์บางอย่าง เช่น เกณฑ์สภาพคล่อง จะไม่เข้มงวดเท่า

ในปัจจุบัน ภาพรวมระบบ ธพ. ไทยมีความมั่นคง ข้อมูล ณ สิ้นปี 2565 ระบบ ธพ. ไทย มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) 19.4% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดที่ 8.5% โดยส่วนใหญ่เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1: CET1) นอกจากนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage ratio : LCR) ยังอยู่ในระดับสูงที่ 197.3% และมีหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ในระดับต่ำที่ 2.73% ขณะที่เงินสำรองต่อหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL Coverage ratio) สูงถึง 171.9% ซึ่งถือเป็นสถานะที่ดีกว่าช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2551 นอกจากนี้ ยังมีฐานลูกค้าทั้งในฝั่งสินเชื่อและเงินรับฝากที่กระจายตัวไปในกลุ่มรายย่อย ภาคธุรกิจ และ SMEs 

สำหรับตลาดการเงินโลก ยังเห็นความกังวลของนักลงทุนอยู่บ้าง สะท้อนจากราคาหุ้นกลุ่มธนาคารที่ยังผันผวนสูง และราคาในการประกันความเสี่ยงของภาคธนาคารที่เพิ่มขึ้น ส่วนตลาดการเงินไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยตลาดโลกข้างต้นจำกัด จากความเชื่อมโยงที่ต่ำต่อกลุ่มธนาคารที่ประสบปัญหา โดย ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ แขวะ 'ธปท.' ชมคนพูดลดดอกเบี้ยจิตใต้สำนึกดี

'เศรษฐา' แขวะ 'แบงก์ชาติ' ไม่ยอมหั่นดอกเบี้ย ชมเปาะเหล่าทัพ-หน่วยงานรัฐ มีจิตสำนึกดีอยากให้ลด ขอบคุณเห็นความลำบากประชาชน ย้ำเรื่องหนี้สารตั้งต้นหายนะประเทศ

'กุนซือนายกฯ' กระทุ้งอีก! 'ธปท.' ต้องเร่งลดดอกเบี้ย

'พิชัย' ห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ หลังเงินเฟ้อติดลบ 5 เดือนซ้อนสวนทางโลก จี้ ธปท. หั่นดอกเบี้ยนโยบาย ลดช่วงห่างเงินกู้เงินฝาก ตามสภาพัฒน์ฯ แนะนำ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ วันหยุดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษของสถาบันการเงิน

ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 84/2567 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินและสถาบันการ

‘อดีตเลขาฯรมว.ตท.’ เตือน กดดันลดดอกเบี้ย อาจเสี่ยงซ้ำรอยวิกฤตค่าเงินบาทปี’40

อย่าทำลายความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง อย่าทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารชาติ จะกระทบต่อฐานะเงินบาทในภูมิภาค

'เศรษฐา' ย้ำลดดอกเบี้ย สลึงเดียวก็ช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้ แต่แบงก์ชาติไม่ยอมลด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ขยายตัวเพียง 1.7% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.4% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 และรวมทั้งปี เศรษฐกิจไทย ขยายตัวเพียง 1.9%