ธปท. เลื่อนกำหนดออกเกณฑ์ตั้ง "Virtual Bank" เป็น ก.ค.66

27 เม.ย. 2566 – นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า หลังจากที่ ธปท. เปิดรับฟังความคิดเห็น เรื่อง แนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ระหว่างวันที่ 12 ม.ค.ถึง 12 ก.พ. 2566 นั้น ธปท. ได้รับคำถาม ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และผู้ประกอบธุรกิจทั้งในไทยและในต่างประเทศ โดยมีการสอบถามรายละเอียดของหลักเกณฑ์ในหลายมิติ ซึ่งบางประเด็นมีความสำคัญและอาจกระทบการตัดสินใจหรือการออกแบบแผนงานของผู้สมัคร รวมถึงรูปแบบการประกอบธุรกิจของ Virtual Bank ที่จะถูกจัดตั้ง

ทั้งนี้ เพื่อให้ Virtual Bank สามารถนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ให้บริการแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ธปท. จึงเห็นควรดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1. ขยายความในเงื่อนไขของหลักเกณฑ์ รวมทั้งเพิ่มเติมรายละเอียดในคู่มือสำหรับผู้สมัครให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้สมัครทุกรายได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจอย่างเพียงพอและเท่าเทียม ซึ่งทำให้ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งในส่วนที่มีการเพิ่มรายละเอียดหรือเงื่อนไขอย่างมีนัยสำคัญ

2. ปรับเพิ่มขั้นตอนในกระบวนการรับสมัครและพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้มั่นใจว่าผู้สมัครทุกรายได้รับข้อมูลและโอกาสอย่างเท่าเทียม โปร่งใส เช่น มีการชี้แจงข้อมูลให้กับผู้สมัครพร้อม ๆ กัน ปรับรูปแบบกระบวนการติดต่อสอบถามระหว่าง ธปท. และผู้สมัคร เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เพื่อให้การดำเนินการข้างต้นเป็นไปอย่างครบถ้วนและรัดกุม ธปท. จึงขอเลื่อนกำหนดการออกหลักเกณฑ์การอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ฉบับสมบูรณ์ออกไป โดยคาดว่าจะเสนอหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้กระทรวงการคลังพิจารณาภายในเดือน ก.ค.2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คลัง' คลอดใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank)

‘ธปท.’ จับตาหนี้จ่อตกชั้นปูด 6.6 แสนล. ชี้สินเชื่อโตแผ่ว

“ธปท.” กางผลงานไตรมาส 1/66 แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อโตแผ่ว 0.5% กำไรหดเหลือ 6 หมื่นล้านบาท จับตาหนี้จ่อตกชั้น ปูด 6.6 แสนล้านบาท แจงหนี้ครัวเรือนห่วงกลุ่มเปราะบางรายได้ฟื้นช้า พร้อมถกแบงก์ยกเครื่องโครงสร้างค่าฟีทั้งหมด ระบุต้องเหมาะสม สะท้อนต้นทุน