‘ธปท.’ จับตาหนี้จ่อตกชั้นปูด 6.6 แสนล. ชี้สินเชื่อโตแผ่ว

“ธปท.” กางผลงานไตรมาส 1/66 แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อโตแผ่ว 0.5% กำไรหดเหลือ 6 หมื่นล้านบาท จับตาหนี้จ่อตกชั้น ปูด 6.6 แสนล้านบาท แจงหนี้ครัวเรือนห่วงกลุ่มเปราะบางรายได้ฟื้นช้า พร้อมถกแบงก์ยกเครื่องโครงสร้างค่าฟีทั้งหมด ระบุต้องเหมาะสม สะท้อนต้นทุน

22 พ.ค. 2566 – นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยภาพรวมสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/2566 ขยายตัวที่ 0.5% ชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่และซอฟท์โลน รวมทั้งการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ โดยธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งระดมทุนผ่านตราสารหนี้ ขณะเดียวกันสินเชื่อยังขยายตัวได้จากธุรกิจรายใหญ่ในภาคการเงินและพาณิชย์ รวมทั้งสินเชื่อรายย่อยพอร์ตที่อยู่อาศัย และสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นสำคัญ

ด้านคุณภาพสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีการบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อดอยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) ณ ไตรมาส 1/2566 ลดลงมาอยู่ที่ 4.98 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.68%

“หนี้เสียที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการ ส่วนสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ในระบบสถาบันการเงินและนอนแบงก์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ปัจจุบันอยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย เราเห็นแต่ไม่ถึงกับตกใจ และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้จับตาดูตลอดและต้องเข้าไปช่วยเหลือให้ทันก่อนที่ลูกหนี้จะเป็นหนี้เสีย จึงมีมาตรการช่วยเหลือก่อนที่ลูกหนี้จะเป็นหนี้เสีย โดยสัดส่วนหนี้เสียค่อนข้างกระจายตัวในแต่ละสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการส่งทีมเข้าไปคุยกับแบงก์และลูกหนี้ รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรการช่วยเหลือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องบอกว่าการมีหนี้เสียในธุรกรรมสินเชื่อเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ต้องทำคือการนเข้าไปปแก้ไขในภาวะที่ลูกหนี้มีการเสื่อมค่าลง” นางสาวสุวรรณี กล่าว

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2566 ปรับดีขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาทเนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นตามกรขยายตัวของสินเชื่อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น สุทธิกับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินรับฝากและ FIDF Fee กลับสู่ระดับปกติ รวมถึงกำไร FVTPL จากตราสารอนุพันธ์เป็นสำคัญ แม้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและค่าใช้จ่ายสำรองจะเพิ่มขึ้น และลดลงเล็กน้อยราว 4%จากไตรมาสก่อนหน้า จากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับไตรมาสก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายและโอนพอร์ตสินเชื่อรายย่อย แม้ค่าใช้จ่ายสำรองและค่าใช้จ่ายสำรองและค่าใช้จ่ายดำเนินงานจะปรับลดลง

“ในส่วนของแนวโน้มหนี้เสียนั้น มองว่าเราได้ผ่านช่วงที่หนักที่สุดของการไม่มีรายได้ของประชาชนมาแล้ว จากนโยบายของรัฐที่พยายามให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่ง ธปท. ไม่ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขหนี้เสียจะเป็นอย่างไร แต่ที่ผ่านมาได้พยายามดูแลลูกหนี้ที่เดือดร้อนและยังมีศักยภาพในการจ่ายหนี้ได้แต่ได้รับผลกระทบชั่วคราวอย่างเต็มที่ โดยการขอให้เจ้าหนี้ปรับโครงสร้างหนี้และดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือต่อไป แม้ว่ามาตรการที่ออกไปอาจจะช่วยไม่ได้ทุกคน แต่ก็ช่วยให้สัดส่วนหนี้เสียไม่ได้สูงขึ้น โดยลูกหนี้ภายใต้มาตรการลดน้อยลงมาก และหลังจากสถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นก็เชื่อว่าลูกหนี้จะกลับมาชำระหนี้ได้” นางสาวสุวรรณี กล่าว

สำหรับสถานการณ์หนี้ตัวเรือนต่อจีดีพี ในปัจจุบันอยู่ที่ 86.9% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีการชะลอตัวลงจากสินเชื่อในกลุ่มรถยนต์ ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังเติบโตในสัดส่วนที่เท่ทาเดิม ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลก็ยังขยายตัว สะท้อนว่าครัวเรือนยังต้องพึ่งพาสินเชื่อจากเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่ในอนาคตคาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะทยอยลดลง โดยยังต้องติดตามาความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มเปราะบางที่รายได้ฟื้นตัวช้าและมีหนี้สูง และการฟื้นตัวของธุรกิจบางกลุ่ม

อย่างไรก็ดี ขณะนี้ ธปท. อยู่ระหว่างการหารือกับสถาบันการเงินเกี่ยวกับการทบทวนโครงสร้างค่าธรรมเนียมทั้งหมด ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมการกดเงินไม่ใช่บัตรด้วย โดยหลักการคือจะต้องมีความเหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และต้องส่งเสริมการใช้ดิจิทัลเพย์เม้น รวมถึงต้องคำนึงถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชนที่จะต้องเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อวงเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน ให้แก่ SC Asset จำนวน 600 ล้านบาท

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) โดยนายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (ที่ 3 จากขวา) นายเฉิน จิง-หมิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้าธุรกิจ