ส.อ.ท. เปิด 4 ข้อเรียกร้อง ให้พรรคก้าวไกล ทั้งราคาพลังงาน - แรงงาน - SME

ส.อ.ท. เปิด 4 ข้อเรียกร้อง ให้พรรคก้าวไกล ดันแก้ปัญหาครบทุกมิติ ตั้งแต่ค่าพลังงาน ปัญหาแรงงาน ช่วยเหลือ SME และพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

23 พ.ค. 2566 – นายเกรียงไกร เธียรนุกูร ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังให้การต้อนรับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ได้เดินทางเข้าหารือร่วมกับ ส.อ.ท. ในวันที้ 23 พ.ค. 2566 ว่าสำหรับข้อเสนอแนะต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม เสนอผู้บริหารพรรคก้าวไกลแบบเร่งด่วน ประกอบด้วย 1. การแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงาน โดยการแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าระยะสั้นมาตรการ 100 วัน (1)ไฟฟ้าสำรองเกิน 30% และตามสัญญา 54% จะแก้ปัญหาอย่างไร โดยสัญญาเดิมต้องเจรจา ค่า AP และอย่าเร่งของใหม่เข้าระบบ (2) NG ใน อ่าวไทย ควรจะจัดสรรอย่างไรให้เหมาะสม โดยเจรจากับโรงไฟฟ้า & ปิโตรเคมี & อุตสาหกรรม พร้อมกับเร่งขุดเจาะตามสัญญา

(3) ปลดล็อค Solar / โปรโมท Solar โดยให้ศึกษา Net metering vs Net billing และปลดล็อค เรื่อง ใบอนุญาต ร.ง. 4 ของการติดตั้ง Solar กำลังไฟฟ้าเกิน 1 เมกะวัตต์ พร้อมกับลดภาษีนำเข้า แผง Solar และอุปกรณ์ (4) แก้หนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ด้วยมาตรการทางการเงิน เพื่อลดภาระ FT เช่น ออกพันธบัตรรัฐบาล และ (5) เร่งตั้ง กรอ. พลังงาน เพื่อร่วมหามาตรการระยะกลางและระยะยาวร่วมกัน

2.การแก้ไขปัญหาแรงงาน ที่มีปัญหาและข้อเสนอด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ได้แก่ ผลิตภาพแรงงานต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านกับต้นทุนต่อหน่วยสินค้าสูง โดยต้องกำหนดให้ผลิตภาพแรงงานเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงาน สร้างความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ขณะเดียวกันประเทศไทยยังขาดฐานข้อมูล (Big Data) กำลังแรงงาน สำหรับบริหารจัดการดีมานด์และซัพพลาย โดยรัฐควรพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data โดยมีหน่วยงานเฉพาะมารับผิดชอบ เพื่อวางแผนพัฒนากำลังคน สร้างความสมดุลด้านกำลังแรงงานดีมานด์และซัพพลาย แก้ปัญหา Mis-Matching

3.การส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โดย (1) จัดทำ Government Service Catalog for SMEs พัฒนาต่อเนื่องและส่งต่อผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบจากหน่วยงานต่อหน่วยงาน (2) มาตรการช่วยเหลือ SME ด้านสภาพคล่องทางการเงิน มาตรการบรรเทาภาระหนี้ของลูกหนี้การเลื่อนการชำระหนี้ลดภาระหนี้และการให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการมีโอกาสกลับมาแข่งขันได้อย่างเข้มแข็ง

(3) จัดตั้งกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม และดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ สามารถรปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (CBAM) มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง เป็นต้น และ (4) ออกมาตรการช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้แก่ SME ที่อยู่่ในระบบภาษีเช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น เพื่อลดภาระด้านต้นทุนในการประกอบการ และจูงใจให้SME เข้าสู่ระบบภาษี

4.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยยกระดับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ประเทศไทยมีความพร้อมและมีศักยภาพด้านเกษตร อาหาร และความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้เปน็ เศรษฐกิจหลักของประเทศ และประเทศไทยต้องพัฒนาเพื่อเปลี่ยนถ่ายจากอุตสาหกรรมผู้รับจ้างผลิต ไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มและมีแบรนด์ของคนไทยเอง โดยมีแนวทางดำเนินการ ได้แก่ (1) พัฒนาและส่งเสริมตลอด Value Chain โดยเน้นพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อย ยางพารา ปาล์ม มันส าปะหลัง ข้าว ผลไม้ และพืชสมุนไพร ขยาย BCG Model ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ทั้งนี้ส.อ.ท. กำลังพัฒนา BCG model ของอุตสาหกรรมยางพารา ปาล์ม  ที่ชลบุรีและ BCG model ของอุตสาหกรรมน้ำตาล ที่นครสวรรค์

พร้อมด้วยส่งเสริมนวัตกรรม วิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (HVA) เช่น การสกัดสารจากพืชเพื่อท ายาและเครื่องสำอางหรืออาหารเสริม เป็นต้น (2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้รองรับและเพียงพอต่อการพัฒนาดังกล่าว (3) สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เทคโนโลยี Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) เทคโนโลยี Green Hydrogen และกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเปน็ ธรรม เพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายสู่ Carbon Neutral 

(4) ส่งเสริมการด าเนินงานของทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามแนวทาง ESG และ (5) การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อส่งเสริม Ease of Doing Business การเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการปฏิรูปกฎหมายเป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำสุด และมีโอกาสสำเร็จได้ง่าย เมื่อเทียบกับเครื่องมือทางการเงินการคลัง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เสธ.หิ' เผย 'พีระพันธุ์' สั่งทบทวน 3 เรื่อง ประมูลพลังงานสะอาด ชะลอสรรหาบอร์ด กกพ. สอบปมเหมืองแม่เมาะ

นายหิมาลัย ผิวพรรณ ผู้อำนวยการพรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ปฐมบทของเรื่องนี้ เกิดมาจากการอภิปรายที่ผ่านมา ในเรื่องของการประมูลพลังงานสะอาด หลังจากฟังการอภิปรายแล้ว

สสว. ยกศักยภาพ SME จัดกิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง

สสว. มุ่งมั่นยกศักยภาพผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่