‘แบงก์ชาติ’ ชี้ตั้งรัฐบาลช้าบีบเชื่อมั่นต่างชาติสะดุด ห่วงเร่งกู้กระตุ้นบริโภคไม่คุ้ม

“แบงก์ชาติ” หวั่นตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าบีบเชื่อมั่นต่างชาติสะดุด แต่ไม่กระทบเศรษฐกิจ ห่วงเร่งเครื่องกู้ทำนโยบายกระตุ้นบริโภคอาจไม่คุ้ม ยันขึ้นดอกเบี้ยต่อ แม้เงินเฟ้อลดเร็วเกินคาด ชี้แค่ชั่วคราวมีโอกาสกลับมาพุ่งต่อ

19 ก.ค. 2566 – นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้า จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาถ้าพิจารณาจากรายงานจัดอันดับความเชื่อมั่นของต่างชาติหลายราย ก็เป็นห่วงในเรื่องของความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย รวมทั้งนโยบายที่จะออกมาหลังจากที่ได้รัฐบาลใหม่ ซึ่งภาคธุรกิจ ตลาด นักวิเคราะห์ อยากเห็นการทำนโยบายการเงินและนโยบายการคลังกลับสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) ต้องให้ความสำคัญกับเสถียรภาพเศรษฐกิจ

“ความไม่แน่นอนเรื่องรัฐบาล ใครจะมา มาเมื่อไหร่ จะไม่กระทบภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะในประมาณการ ธปท. ได้รวมสมมุติฐานไปหมดแล้ว คาดว่างบประมาณจะล่าช้าไป 1 ไตรมาส แต่ข้อเท็จจริงกระบวนการยังเป็นไปตามปกติ งบประจำยังเบิกจ่ายได้ โดยไตรมาส 4/2566-ไตรมาส 1/2567 ที่หายไปจริง ๆ คือ งบลงทุน แต่ก็ไม่ได้มีสัดส่วนมาก คงไม่กระทบปีนี้ แต่จะไปกระทบปี 2567” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า มุมมองเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ยังมีศักยภาพในการขยายตัวได้ในระดับ 3-4% ซึ่งการทำนโยบายรัฐบาลควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างเสถียรภาพ มากกว่าการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าดูตัวเลขการบริโภคเอกชนครึ่งปีแรก ขยายตัวได้ 5% การกระตุ้นการบริโภคจึงอาจจะยังไม่จำเป็น ขณะที่การท่องเที่ยวก็เริ่มฟื้นกลับมา ควรมุ่งนโยบายในการสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องหนี้ ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ หนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ค่อนข้างสูงที่ระดับ 90% ของจีดีพี ขณะที่หนี้สาธารณะอยู่ที่ 60% ต้น ๆ ของจีดีพี ถ้าอยากให้เศรษฐกิจโต ใช้วิธีไหนก็กระตุ้นเศรษฐกิจได้ทั้งนั้น ซึ่งการกู้เงิน ถ้าเป็นครัวเรือน การกู้ก็เป็นการบริโภค เป็นรัฐบาลกู้ ก็เป็นใช้ในนโยบายรัฐ และการลงทุน แต่ถ้าเอกชนกู้มา ก็จะเป็นการกู้เพื่อการลงทุน คิดว่าอยากได้แบบไหน จริง ๆ ที่เศรษฐกิจไทยขาดที่สุดคือ การลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งไม่ใช่ช่วยแค่กระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น

นอกจากนี้ มองว่า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งหลังของปีนี้จะขยายตัวได้ 4.2% จะดีกว่าครึ่งปีแรกที่ขยายตัว 2.9% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคที่เติบโตดี และตัวหัวใจสำคัญคือภาคการท่องเที่ยวที่ปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 29 ล้านคน ส่วนกรณีที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ออกมาไม่ค่อยดี ทำให้คาดว่าการส่งออกของไทย ทั้งปีนี้คือแทบจะไม่โต

ขณะที่เงินเฟ้อ ธปท.ยอมรับว่าต่ำกว่าที่คาด โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จากราคาอาหาร ราคาพลังงานโลก ที่ปรับ แต่ก็เป็นปัจจัยชั่วคราว คาดว่าทิศทางเงินเฟ้อจะกลับขึ้นมา หลัก ๆ จากฐานลดลง โอกาสที่เงินเฟ้อต่ำแบบสุด ๆ ต่อเนื่องไปข้างหน้าคงไม่ใช่ เงินเฟ้อมีโอกาสขึ้น และขึ้นมากกว่าที่เห็น จากปัจจัย 1.ท่องเที่ยวฟื้นกลับมา จะเห็นหมวดการบริการมีโอกาสที่เงินเฟ้อจะขึ้น และ 2.การใช้กำลังการผลิตมากขึ้น โอกาสส่งผ่านต้นทุนของภาคธุรกิจก็จะเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อที่ปรับลดลงกว่าที่คาดแต่มีโอกาสปรับสูงขึ้นในระยะต่อไป ส่งผลให้นโยบายการเงินจึงไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะมุมมองการฟื้นตัวเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อยังเป็นไปตามที่ ธปท.คาดไว้ ยังจำเป็นต้องทำนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ แบบค่อยเป็นค่อยไป ที่ไม่ได้ดูแค่เงินเฟ้อ ต้องดูปัจจัยระยะยาวให้กลับสู่สภาวะปกติ หาจุดที่เหมาะสม สมดุลของดอกเบี้ย เหมาะให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามศักยภาพ เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย 1-3% และไม่ได้สร้างปัญหาเสถียรภาพการเงิน ไม่ใช่การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจัดการเงินเฟ้อ

“ตอนนี้ภาพรวมความจำเป็นต้องหยุดการทำนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติยังไม่เห็น เราไม่อยากให้ตลาดเข้าใจว่าเงินเฟ้อลงแล้ว เหมาะที่จะหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่เงินเฟ้อที่ลงเป็นเรื่องชั่วคราว ยังมีโอกาสกลับขึ้นมา เราอยากเห็นเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบอย่างยั่งยืน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบถ้านานก็มีผลต่อพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนของนักลงทุน (Search for Yield) มีความเสี่ยงในการลงทุน พฤติกรรมการออม การกู้ เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ให้ดอกเบี้ยกลับมาสมดุล” ผู้ว่าการ ธปท. ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บรรยากาศเก่าๆ สมัย 'ระบอบทักษิณ' เริ่มย้อนกลับมา ให้กำลังใจกับคนที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า

'สมาคมธนาคารไทย' ลดดอกเบี้ยตอกย้ำความขัดแย้งนายกฯกับผู้ว่าฯธปท.

'อดีตรมว.คลัง' ชี้สมาคมธนาคารไทยลดดอกเบี้ย ตอกย้ำความขัดแย้งระหว่างนายกฯ กับผู้ว่าฯแบงค์ชาติ กลยุทธ์ที่นายกฯ งัดมาใช้นั้นไม่สำเร็จ ไม่มีผลต่อการลงทุนภาคเอกชนเพราะเป็นเพียงระยะสั้น

'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' รูดซิปปาก หลัง 'เศรษฐา' อ้างทุกภาคส่วนเห็นด้วยแจกเงินดิจิทัล

ภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มีนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ เป็นประธานการประชุม

นายกฯ แขวะ 'ธปท.' ชมคนพูดลดดอกเบี้ยจิตใต้สำนึกดี

'เศรษฐา' แขวะ 'แบงก์ชาติ' ไม่ยอมหั่นดอกเบี้ย ชมเปาะเหล่าทัพ-หน่วยงานรัฐ มีจิตสำนึกดีอยากให้ลด ขอบคุณเห็นความลำบากประชาชน ย้ำเรื่องหนี้สารตั้งต้นหายนะประเทศ

'กุนซือนายกฯ' กระทุ้งอีก! 'ธปท.' ต้องเร่งลดดอกเบี้ย

'พิชัย' ห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ หลังเงินเฟ้อติดลบ 5 เดือนซ้อนสวนทางโลก จี้ ธปท. หั่นดอกเบี้ยนโยบาย ลดช่วงห่างเงินกู้เงินฝาก ตามสภาพัฒน์ฯ แนะนำ