จับตา 17 ม.ค. 'สภากทม.' เคาะเคลียร์หนี้สายสีเขียว

17 ม.ค.นี้ สภา กทม.สางปัญหารถไฟฟ้า จ่อพิจารณาหนี้ติดตั้งระบบส่วนต่อขยาย “สายสีเขียว” กว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ด้าน “ชัชชาติ” เสนอขออนุมัติงบศึกษา ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน 1.4 หมื่นล้าน

17 ม.ค. 2566 – นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาชำระหนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยระบุว่า ปัจจุบัน กทม.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อขออนุมัติงบต่อสภากรุงเทพมหานครแล้ว ซึ่งจะมีการประชุมพิจารณาในวันที่17 ม.ค.นี้

อย่างไรก็ตามโดย กทม.ยืนยันว่าขณะนี้มีงบประมาณเพียงพอต่อการชำระหนี้ส่วนนี้ให้แก่เอกชนผู้รับจ้างได้ทันที ประเมินวงเงินเบื้องต้นมากกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่ง กทม.จะนำเงินสะสมจ่ายขาดที่มีอยู่ราว 4 – 5 หมื่นล้านบาทมาชำระ อีกทั้งงานค่าจ้างส่วนนี้เกิดจากค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้า เป็นก้อนหนี้ที่ครบกำหนดต้องชำระให้กับภาคเอกชน และที่ผ่านมาคณะกรรมการวิสามัญยังประชุมพิจารณาไปแล้วถึง 5 ครั้ง ดังนั้น กทม.จึงมองว่าค่าจ้างส่วนนี้มีข้อมูลพิจารณาเพียงพอที่จะชำระให้เอกชนได้

ส่วนงานค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง O&M (Operation and Maintenance) รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่1 (อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า) และส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) เรื่องนี้ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ดังนั้นยังต้องรอกระบวนการศาลพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อน

“เรื่องค่าจ้างงานระบบรถไฟฟ้า กทม.เราได้พิจารณาแล้วว่าเป็นค่าจ้างที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานแล้วเสร็จ ครบกำหนดจ่าย และขณะนี้รถไฟฟ้าส่วนนี้ก็เปิดให้บริการแล้ว โดยการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภา กทม.เพื่อขออนุมติจัดใช้งบประมาณ และก่อนหน้านี้ กทม.ก็ได้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยแล้ว ซึ่งทางกระทรวงฯ มอบหมายให้นำกลับมาเสนอในที่ประชุมสภา กทม.”นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ ยังกล่าวด้วยว่า การประชุมสภา กทม. จะมีการเสนอขออนุมัติจัดใช้งบประมาณประจำปี 2568 เพื่อดำเนินการศึกษาพัฒนารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน เพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าสมบูรณ์มากขึ้น โดยโครงการนี้ กทม.จะดำเนินการเองเพราะเป็นส่วนต่อขยายเชื่อมจากโครงการเดิม ช่วงตากสิน-บางหว้า และจะมีการศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการลงทุนในลักษณะเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า – ตลิ่งชัน ผลการศึกษาเบื้องต้นมีระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุนอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท โดยแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสิน-เพชรเกษม ที่สถานีบางหว้า จากนั้นไปตามแนวเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ ผ่านทางแยกตัดถนนบางแวก (ซอยจรัญฯ 13) แยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4แล้วยกข้ามทางแยกถนนบรมราชชนนี ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกที่อยู่ในแนวรถไฟสายใต้ มาสิ้นสุดบริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ แฮปปี้หลังรับฟังงานกทม. ชมทำได้ดี บอกรัฐบาลยินดีให้ความร่วมมือ

นายกฯ แฮปปี้หลังรับฟังงาน กทม. ชมทำได้ดี แนะใช้ช่องทางสื่อสารผลงาน บอกรัฐบาลยินดีให้ความร่วมมือ ห่วงแท็กซี่-ไกด์ผี มะเร็งกัดกร่อนท่องเที่ยว มอบ ตร. เข้ม ขอบคุณผู้บริหาร กทม. ทำงานเข้มแข็ง -พัฒนากรุงเทพฯ

ห้ามพลาด! กทม. จัดยิ่งใหญ่งาน Bangkok Brand ระดมผลิตภัณฑ์ชุมชนอาหารอร่อยทั่วกรุง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักพัฒนาสังคม ได้ดำเนินการคัดสรรผลิตภัณฑ์ Bangkok Brand ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปีงบประมาณ 2557 และดำเนินการคัดสรรทุก 2 ปี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและมีเอกลักษณ์อย่างต่อเนื่อง กรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินการ

ดีเดย์เปิดผับตี 4 'อนุทิน' ย้ำทำตามกฎหมาย ขู่ยกเลิกประกาศได้ทุกเมื่อ

'อนุทิน' ย้ำเปิดสถานบันเทิงถึงตี 4 ขอให้ทุกคนทำตามกฏหมาย ขู่ทำผิดยกเลิกประกาศได้ 'ขัขขาติ' เผย กทม. มีกว่า 140 แห่ง ใน 3 โซน รัชดา-สีลม-อาร์ซีเอ

นายกฯ บอกค่าฝุ่นพิษในกทม. มีขึ้น-มีลง ไม่ต้องประกาศให้ประชาชนทำงานที่บ้าน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นว่า ช่วงที่นั่งรถเดินทางมาก่อนเดินทางขึ้นเครื่อง และส่งข้อมูลได้ฝากฝังและส่งข้อความถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง

กทม.เล็งเสนอโอนโครงการรถไฟฟ้าให้ รฟม.เดินหน้าลงทุน

กทม.เตรียมเสนอ คจร.โอนสารพัดโครงการรถไฟฟ้าให้ รฟม.เดินหน้าลงทุน รวมเม็ดเงินกว่า 1.5 แสนล้านบาท ชี้ภาครัฐมีความพร้อมผลักดันโครงการเชื่อมโครงข่ายสะดวก ขณะที่ กทม.หันลงทุนบริการด้านอื่น