'จุลพันธ์' โต้แรงไม่ใช่นโยบายขายชาติ!! หลังรัฐปูดแนวคิดเปิดช่องต่างชาติครองอสังหาฯ99ปี

“จุลพันธ์” โต้ไม่ใช่นโยบายขายชาติ หลังรัฐบาลปูดแนวคิดขยายเวลาต่างชาติถือครองอสังหาริมทรัพย์ไทย 99 ปี ชี้เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เปิดช่องกลไกจูงใจในการเข้ามาถือครอง ยันไม่กระทบสิทธิสภาพอาณาเขตบนพื้นดิน ชี้อสังหาฯ เจอมรสุมคนซื้อเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ส่งผลซัพพลายล้นตลาด

25 มิ.ย. 2567 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง กล่าวถึงกรณีข้อวิจารณ์หลังรัฐบาลมีแนวคิดกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอสังหาริมทรัพย์ โดยจะปรับแก้ไขกฎหมายให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้นานขึ้นจาก 50 ปี เป็น 99 ปี และการถือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เพิ่มสัดส่วนจาก 49% เป็น 75% ว่า เรื่องนี้เป็นแนวคิดหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการหมุนเวียนมากขึ้น ไม่ได้เป็นนโยบายขายชาติ เพราะพื้นที่ สิทธิสภาพ สิทธิอาณาเขตบนพื้นดินของเราไม่ได้หายไป

ทั้งนี้ ต้องชี้แจงว่า แนวคิดดังกล่าวไม่ได้เป็นการให้สิทธิ์ขาดกับต่างชาติ เพียงแต่เป็นการเปิดช่องให้มีกลไกในการที่จะจูงใจให้มีการเข้ามาถือครองมากขึ้น แต่ไม่ได้มอบสิทธิในการออกเสียงของนิติบุคคล ไม่ใช่ว่าเมื่อต่างชาติเข้ามาถือครองแล้วจะเปลี่ยนสภาพจากห้องชุดเป็นโรงแรม หรือเป็นอาคารประเภทอื่นได้ เขาทำไม่ได้ และไม่ได้ให้ทำแบบนั้น ดังนั้นจึงยืนยันว่าแนวคิดนี้ไม่น่าจะกระทบเรื่องอาณาเขต สิทธิสภาพบนพื้นดินของเรา

“รัฐบาลไม่ค่อยชอบสังคมอีแอบอยู่แล้ว อย่างที่นายกรัฐมนตรีได้เคยพูด เราต้องยอมรับความจริงว่าในสภาพปัจจุบันก็มีต่างชาติที่มีการถือครองที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด หรือถือครองเกินกว่า 49% โดยใช้รูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นการหลบเลี่ยงอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ตรงนี้ก็ต้องยอมรับตามจริงว่ามี และต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เป็นโลกไร้พรมแดน และทุกคนเป็นพลเมืองของโลก และสำหรับประเทศไทย เราต้องการสร้างให้เป็นพื้นที่ระดับโลก หมายความว่า มีการดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยว และคนต่างชาติที่มีทักษะจำเพาะ เพื่อที่จะมาพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เราจะเป็นต้องเปิดรับการลงทุน เช่น เรื่อง Data Center เซมิคอนดักเตอร์ จุดต่าง ๆ เหล่านี้ท้ายที่สุดจะมีความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเราจำเป็นจะต้องเปิดกว้าง ให้มีการพัฒนา” นายจุลพันธ์ กล่าว

สำหรับการให้ต่างชาติข้ามาบางส่วนก็จะมีประโยชน์ในเรื่องการถ่ายโอนองค์ความรู้ และมองว่าปัจจุบันการกระตุ้นการลงทุน และการจ้างงานในประเทศก็อยู่ในระดับที่ใช้ได้ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเชื่อว่าจะไม่ได้มีผลกระทบต่ออัตราการจ้างงานของคนไทยแต่อย่างใด” นายจุลพันธ์ กล่าว

โดยเรื่องการให้สิทธิ์ในการเช่ากับคนต่างชาตินั้น ปัจจุบันก็มีการดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว ที่ 30 ปี บางพื้นที่ที่มีกฎหมายพิเศษ ก็อยู่ที่ 50 ปี และต่อได้อีก 50 ปี ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องพิเศษอะไร เพียงแต่เป็นการเปิดช่องให้มีกลไกในการจูงใจให้มีการเข้ามาถือครองได้โดยไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงของนิติบุคคลเท่านั้น ยืนยันว่าไม่ได้กระทบกับอาณาเขตในเรื่องสิทธิสภาพบนพื้นดินอย่างแน่นอน

นายจุลพันธ์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของกระทรวงหมาดไทยที่รับผิดชอบจะต้องไปศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงการคลัง ดังนั้นข้อเสนอหรือข้อเรียกต้องต่าง ๆ จึงต้องรอการศึกษาให้เรียบร้อยก่อน ว่าแนวคิดดังกล่าวมีผลรอบด้านอย่างไร ค่อยกลับมาสรุปกันอีกครั้ง เพื่อเสนอกลับเข้าไปให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี มองว่า ปัจจุบันตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยไม่ได้มีปัญหาเรื่องราคาแพงหรือไม่แพง แต่ปัญหา คือ เริ่มเห็นอาการของการเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ซึ่งส่งผลทำให้ซัพพลายที่มีอยู่ในตลาดไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายโอนได้ ดังนั้นกลไกนี้นอกจากเรื่องการกระตุ้นแล้ว ยังต้องมาดูเรื่องการให้คนไทยหรือใครก็ตามสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างเพียงพอที่จะเข้าไปถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้ด้วย ไม่อยากให้มองเพียงแค่จุดเดียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เจ๊ไหม' จี้ถามปฏิรูปภาษี-ล้วงทุนสำรอง 'จุลพันธ์' ยก OECD ที่ไทยจะเข้าเป็นสมาชิกเป็นต้นแบบ!

'ศิริกัญญา' จี้ถาม 'ปฏิรูประบบภาษี' บอก ฟังแล้วเหนื่อยไม่มีเป้าหมาย 'จุลพันธ์' แย้งบอกเป็นแนวทางศึกษา ระบุ 'ไม่มีโจทย์ ไม่มีเป้า ไม่มีธง' แค่เดินหน้าไป เหน็บเอาใจยากพอสมควร

Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'

ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต  โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ