เคาะ'ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์’ หรือสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 เป็นบริการในระบบบัตรทอง

16 ต.ค.2565- ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบประกาศกำหนดให้ “ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ” (ศบช.) โดยมูลนิธิสร้างสุขไทยเป็นสถานบริการอื่นตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เริ่มให้บริการปีงบประมาณ 2566 ตามการนำเสนอโดย ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข

ทั้งนี้ มติดังกล่าวสืบเนื่องตามผลการศึกษา “การประเมินความคุ้มค่าและภาระงบประมาณของบริการให้คำปรึกษาเลิกยาสูบของ ศบช. จัดทำโดย ดร.ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) พบว่าบริการของ ศบช. ทำให้คนเลิกบุหรี่สำเร็จกว่าร้อยละ 17 ของผู้มารับบริการ มีความคุ้มค่า ช่วยประหยัดต้นทุนทางสังคมได้ตั้งแต่ 525–10,333 บาทต่อผู้สูบหนึ่งราย ส่งผลให้ในการประชุมบอร์ด สปสช. ครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 มีมติเห็นชอบให้บริการสายด่วนเลิกบุหรี่เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และให้จ่ายชดเชยบริการได้ภายหลังจากที่ ศบช. ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) พร้อมให้จัดทำร่างประกาศกำหนดให้ ศบช. เป็นสถานบริการอื่นตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ศบช. อยู่ภายใต้การดูแลโดยมูลนิธิสร้างสุขไทย จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิกับกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2551 และเริ่มให้บริการคำปรึกษาทางโทรศัพท์ สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 มาตั้งแต่ปี 2552 รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และที่ผ่านมายังได้รับการรับรอง มาตรฐานระบบการให้บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ โดยกรมควบคุมโรคเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ในส่วนบุคลากรบริการ ศบช. ยังมีคุณสมบัติตามตามแนวปฏิบัติการบริการของสถานบริการสาธารณสุขอื่นตามที่ บอร์ด สปสช. ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2563 ได้แก่ บุคลากรด้านสาธารณสุขสาขาต่างๆ ที่ผ่านการอบรมณ์หลักสูตรของศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา และมีเจ้าหน้าที่ที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทำหน้าที่คัดกรองเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ และสร้างแรงจูงใจในการเข้ารับการบำบัด

“บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ ภายใต้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประชาชนไทยทุกคน จะเริ่มให้บริการในปีงบประมาณ 2566 นี้ โดยตั้งเป้าหมายผู้รับบริการเบื้องต้นที่ 21,400 คนต่อปี โดยทุกรายที่เข้ารับบริการต้องมีการแสดงเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เพื่อพิสูจน์ตัวตน ในการนี้ สปสช. จะมีการกำกับติดตามผลงานการให้บริการร่วมกับกรมควบคุมโรค เพื่อเป็นการประเมินการดำเนินงานต่อไป” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แพทย์ชนบท' แฉเบื้องลึก! ทำไม 'หมอชลน่าน' หลุดเก้าอี้

เพจ "ชมรมแพทย์ชนบท" โพสต์ข้อความว่า ชมรมแพทย์ชนบท ขอขอบคุณ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ที่ผ่านมา

คนไทยต่างแดนเฮ! เริ่มใช้สิทธิบัตรทองได้ 15 ม.ค.

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติรับทราบ “แนวทางการจัดระบบบริการเพื่อดูแลคนไทยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รบ.แนะ ปชช. ช่วงปีใหม่ เจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้ารพ.ใกล้สุด รักษาตามนโยบาย UCEP

รัฐบาลห่วงใยประชาชน ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2567 หากเจ็บป่วยฉุกเฉิน แนะเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดตามนโยบาย UCEP

ประชาชนเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 โรค รักษาคลินิกชุมชนใกล้บ้านฟรี

รัฐบาลเชิญชวนประชาชน เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 โรคเบื้องต้น รักษา “คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น” ใกล้บ้านที่ร่วมโครงการได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย