'ตรีนุช'มอบนโยบายเคลื่อนการศึกษาปีงบฯ 66 เตรียม ศธจ.-ศธภ.รับบทบาทใหม่

4 พ.ย.2565 – ที่โรงแรมเคพี แกรนด์ จังหวัดจันทบุรี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีปลัด ศธ. ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ผู้ตรวจราชกา ศธ. ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ และผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมประชุม ว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาการศึกษาของชาติ เน้นแนวทางการพัฒนาระบบบริหารงานราชการให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว โปร่งใส ,เน้นการกระจายอำนาจสู่ระดับภูมิภาค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและให้การบริหารราชการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่ง ศธ.ได้นำมากำหนดเป็นนโยบาย และจุดเน้นหลัก ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน รวมถึงการจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
 
รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ที่ 19 / 2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายนี้ จะมีผลในการถ่ายโอนภารกิจงานด้านการบริหารงานบุคคลไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมีผลต่อการปรับบทบาทของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) และสำนักงานศึกษาธิการภาค(ศธภ.) สู่บทบาทใหม่ ที่มุ่งให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย จัดทำแผนงาน และการส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา รวมถึงการติดตาม และประเมินผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการปรับบทบาทหน้าที่ ให้มีความเข้มข้นในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา เป็นการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาในจังหวัด โดยเครื่องมือหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้สำหรับการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน คือ การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาในระดับภาค และระดับจังหวัด ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยกำหนดทิศทางการศึกษาร่วมกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดว่าทิศทางการศึกษาจังหวัดของตนจะเป็นอย่างไร ก็จะทำให้ตอบโจทย์การศึกษานำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


ขณะเดียวกัน ศธภ. ต้องแสดงบทบาทนำของตนอย่างแข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในฐานะผู้แทนของกระทรวงในพื้นที่ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวัดผลความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นวันนี้ ศธจ. และ ศธภ. จะเป็นเหมือนเข็มทิศการศึกษา หาทิศทางการศึกษาของแต่ละพื้นที่โดยไม่เดินหน้าไปแบบไร้ทิศทาง ตลอดจนติดตามผลว่ามีปัญหาอะไร และจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
 
นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า นโยบายสำคัญที่ยังต้องเดินหน้าเพื่อการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งท่านศึกษาธิการจังหวัด สามารถเป็นผู้แทนของ ศธ. ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานในจังหวัด เพื่อผลักดันให้นโยบายสำคัญประสบความสำเร็จ ได้แก่ โครงการพาน้องกลับมาเรียน โดยนำข้อมูลการสำรวจเด็กนักเรียนมาจัดทำข้อเสนอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือเด็ก โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหาขาดแคลน เพื่อป้องกันเด็กนักเรียนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา , โครงการความปลอดภัยในสถานศึกษา รวมถึงการติดตามเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการฉีดวัคซีนในเด็ก แม้จะมีการปรับให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และ การแก้ไขปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย ซึ่งสามารถนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็น Best Practice มาแลกเปลี่ยน และแบ่งปันระหว่างสถานศึกษาได้ รวมถึงการนำผลงานเด่น ๆ ด้านการศึกษาของนักเรียน มาพัฒนาและต่อยอดให้เป็นนวัตกรรมด้าน Soft Power ของจังหวัดหรือพื้นที่ของตนเอง
 
“ เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายคำสั่ง คสช. กระทรวงศึกษาธิการ ต้องเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และปรับเปลี่ยนตัวบุคคล โดยดิฉันพร้อมที่จะสนับสนุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ที่จะรองรับภารกิจหลักได้อย่างเต็มที่ หวังว่าทุกส่วนราชการในสังกัด ศธ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ร่วมมือร่วมใจกันในการนำนโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษา ไปขับเคลื่อนให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เป็นคนกลางในการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการอื่นๆ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการศึกษาให้เป็นวาระสำคัญในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายข้างต้น” รมว.ศธ. กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อนุทิน” มอบนโยบายแรงงาน เน้นทักษะทันโลก หนุนสวัสดิการฟรีแลนซ์ เข้าใจนิวเจน

10 มกราคม 2567 ที่กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมามอบนโยบาย พร้อมด้วยพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมีคณะผู้บริหาร

ป.ป.ช. เปิดกรุสมบัติ 'อิทธิพล-ตรีนุช' กรณีพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอิทธิพล คุณปลื้ม กรณีพ้นจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม โดยนายอิทธิพล แจ้งว่า มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 81,162,381 บาท มีหนี้สินทั้งหมด 543,016 บาท

'บิ๊กต่อ' สั่งลุย Quick Win 5 ด้าน คืนตำรวจให้ประชาชน

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ทันที เห็นผลได้อย่างรวดเร็ว สร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยตลอดปีงบประมาณ พ.ศ.2567 นี้ จะมี Quick Win ลักษณะนี้เป็นระยะ

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” ตรวจเยี่ยม สปส. มอบนโยบาย เรื่องเพิ่มสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ประกันตน รวมไปถึง Micro Finance ลดหนี้ เติมทุน สร้างสุข

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมและรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม

‘อนุทิน’ ชู 4 นโยบายหลัก มท. ’ปราบมาเฟีย-ประปาดื่มได้-พลังงานสะอาด-ศก.ชุมชน’

นโยบาย มท.ยุค ‘อนุทิน’  ปราบผู้มีอิทธิพล ประปาดื่มได้ หนุนพลังงานสะอาด ดันเศรษฐกิจชุมชน ยึดหลัก ‘ทันโลก ทันสมัย ทันท่วงที’