กรมวิทย์ฯ ยันยังไม่พบ'ฟลูโรนา'ในไทย ย้ำเชื้อหวัดใหญ่กับโควิด ผสมพันธุ์เกิดเป็นไฮบริดไม่ได้

7 ม.ค.65- นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีพบมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และเขื้อไวรัสโคโรนา (Corona) ในคนเดียวกันที่ต่างประเทศ หรือที่เรียกว่า ฟลูโรนา (Flurona) ว่า ขณะนี้ยังไม่มีนัยสำคัญอะไรที่ทำให้ต้องวิตกกังวล และจากการเฝ้าระวังในประเทศไทยยังไม่พบ ผู้ติดเชื้อดังกล่าว ทั้งนี้ฟลูโรนาเป็นชื่อที่มาจากฟลู คือ ไข้หวัดใหญ่ และโคโรนา คือ โควิด 19 เชื้อทั้งสอง เป็นไวรัสทั้งคู่ แต่เป็นไวรัสคนละตระกูลกัน และทั้งสองตระกูลทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กัน คือ มีอาการ ทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด คัดจมูก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ทั้งนี้ในกรณีคนที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เกิด ปอดอักเสบ และอาจเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรืออวัยวะต่างๆ ล้มเหลว อาการของฟลูโรนาเท่าที่มีการรายงานในปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรแตกต่างจากโควิดทั่วไป โอกาสติดเชื้อทั้ง 2 ตัวพร้อมกันค่อนข้างน้อย จำนวนผู้ป่วยที่พบยังมีจำนวนน้อย ขณะนี้มีข้อมูลรายงานการตรวจพบในอิสราเอล บราซิล ฮังการี ฟิลิปปินส์


ทั้งนี้การที่คนหนึ่งคนติดเชื้อสองอย่าง โดยบังเอิญในเวลาเดียวกัน มีความเป็นไปได้ (Mixed Infection) แต่จะผสมพันธุ์กันจนเกิดเป็นไฮบริดไม่ได้ จึงไม่ต้องวิตกกังวล แต่สิ่งที่ควรรู้ คือ ทั้งเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อโควิด 19 แพร่กระจายจากทางเดินหายใจในลักษณะที่เป็นฝอยละอองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง สามารถป้องกันทั้งสองโรคในเวลาเดียวกัน และถ้าจะสร้างภูมิคุ้มกัน ให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นควรฉีดวัคซีน สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แนะนำให้ฉีดในกลุ่มปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งขณะนี้ สปสช.ได้เตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประมาณ 6 ล้านโดส ให้กลุ่มเหล่านี้ ในขณะที่วัคซีนโควิด 19 จะฉีดให้ครอบคลุมคนในประเทศทั้งหมด

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรเว้นระยะ จากวัคซีนโควิด 19 ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพราะหากฉีดพร้อมกันสองอย่างอาจจะทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยมากเกินไปและเมื่อเกิดอาการข้างเคียงก็จะไม่รู้ว่ามาจากวัคซีนตัวใด เพราะฉะนั้นถ้าฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านไป 1-2 สัปดาห์ หากไม่มีอาการอะไรก็ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ต่อได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

หมอยง ชี้ โควิด 19  มีแนวโน้มขาลง อัตราเสียชีวิตใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟชบุ๊กส่วนตัว (Yong Poovorawan) 

ผลตรวจออกแล้ว! นายกฯ ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางกลับภายหลังการประชุม สส.พรรคเพื่อไทย โดยได้สวมหน้ากากอนามัย ก่อนที่ผู้สื่อข่าวจะสอบถามว่า อาการเป็นอย่างไร ผลตรวจเลือดออกแล้วหรือไม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวด้วยน้ำเสียงที่แหบพร่า