สพฐ. เตรียมโครงการสอนเสริมให้ นร.ช่วงปิดภาค ไม่บังคับแล้วแต่เด็กสมัครใจ

2มี.ค.65-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมมอบนโยบายให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ว่า ตนต้องการมาสร้างความเข้าใจและการรับรู้ให้แก่หน่วยงานระดับปฏิบัติในพื้นที่ในนโยบายต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงการพาน้องกลับมาเรียน ความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนคุณภาพชุมชน และการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งตนต้องการให้ทุกนโยบายเหล่านี้ได้มีการบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ได้เน้นย้ำปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษาที่มีคุณภาพ คือการศึกษาที่เด็กนักเรียนมาโรงเรียน และมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับคุณครู เพราะ ศธ.มีนโยบายเปิดการเรียนการสอนแบบ On site หากมีผู้ติดเชื้อโควิด ต้องมีมาตรการดำเนินการที่ชัดเจน มาตรการในการเรียนการสอน หรือปิดการเรียน On site เท่าที่จำเป็น ให้หยุดเฉพาะเด็กนักเรียนที่ติดเชื้อ หยุดเป็นห้องเรียน การเรียนสลับเวลา การเรียนสลับชั้น มาตรการ 6-7-6 และมาตรการฉุกเฉินต้องถูกกำชับและเข้มงวดอย่างต่อเนื่อง


ทั้งนี้ สพฐ. ได้เตรียมดำเนินโครงการสอนเสริมให้นักเรียนช่วงปิดภาคเรียนที่ 2/2564 เนื่องจากตลอดภาคเรียนที่ผ่านมานักเรียนอาจเรียนที่โรงเรียนไม่เต็มที่ และ โรงเรียนบางแห่งอาจหยุดการเรียนการสอนบ่อยครั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ดังนั้น ตนจึงได้มอบหมายให้สถานศึกษาทั่วประเทศดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้น โดยให้สถานศึกษาและแห่งกำหนดเป้าหมาย โดยยึดบริบทของพื้นที่และความคาดหวังของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เช่น นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูอาจสอนเสริมเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และ นักเรียนในระดับปฐมศึกษาตอนต้น ครูอาจเน้นในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ เพื่อใช้ในการต่อยอดในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการดังกล่าว ต้องขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้ปกครอง และ นักเรียน ด้วย โดยไม่มีการบังคับนักเรียนให้เข้าร่วมโครงการแต่อย่างใด


นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า สำหรับการสร้างคุณภาพทางการศึกษาให้เกิดขึ้นทั่วประเทศทั้งในส่วนโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส และระดับมัธยมศึกษานั้น เรามีเป้าหมายในการจัดทำแนวทางและแผนการสร้างโรงเรียนคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และสามารถเกิดขึ้นได้จริงภายใต้กรอบระยะเวลาที่ระบุไว้ชัดเจน โรงเรียนใดเป็นโรงเรียนหลัก มีโรงเรียนใดบ้างที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ต้องมั่นใจว่าโรงเรียนหลักได้รับการสนับสนุนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง รูปแบบของการใช้ทรัพยากรร่วมกันการนำเด็กมาเรียนรวมครบชั้น ครบวิชา การเรียนแบบเครือข่าย การจัดสรรทรัพยากรครู สิ่งที่ต้องขอรับการสนับสนุนเพื่อให้แผนงานบรรลุเป้าหมาย บ้านพักครู จำนวนครู การจัดรถรับ-ส่ง เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย