26 มิ.ย.2567 - นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง การแบ่งปันคาร์บอนจากป่า กลุ่มทุนได้คาร์บอนด์เสริม รัฐได้เพิ่มป่า ชาวประชาได้อะไร?... มีเนื้อหาดังนี้
1.ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณห ภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ถึง ร้อยละ 20 - 25 ภายในปี พ.ศ. 2573
2.ในปี2564 กระทรวงทรัพย์ฯ ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนสนับสนุนการปลูกป่าในพื้นที่ป่าของรัฐ มีการพัฒนาผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Progra m) เรียกย่อว่า T-VER
3 ข้อมูลของกรมป่าไม้พบว่าในช่วงปี 2565 -2566 ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีภาคเอก ชนเข้าร่วมโครงการปลูกฟื้นฟูป่าเพื่อชด เชยคาร์บอนถึง 12 บริษัท และปลูกป่าไปแล้วเกือบ 3 แสนไร่. และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อคาร์บอนเครดิตในระยะ10 ปี จำนวน 300,000 ไร่ (พ.ศ. 2565-2574)
4.ในการประชาพิจารณ์ให้ความเห็นต่อร่างพรบ.เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีความเห็นและข้อมูลในพื้นที่จริงจากพี่น้องประชาชนที่น่าสนใจ ได้แก่..
4 1.ในสัญญาการแบ่งปันผลประโยชน์ในคาร์บอนเครดิตระหว่างชุมชนกับบริษัทในหลายพื้นที่ พบว่าการแบ่งผลประโยชน์จากการขายคาร์บอนเครดิตของป่าชายเลน บริษัทจะได้ถึง 70% ชุมชนได้ 20% หน่วยงานรัฐได้ 10% ซึ่งเป็นระบบจัดสรรผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม กลุ่มทุนเหล่านั้นไม่ได้ปลูกป่าเอง ชุมชนดูแลรักษาป่าชายเลนกันมาหลายสิบปี จนเป็นป่าที่สมบูรณ์ ต้นไม้โตแล้วสามารถนำไปขายคาร์บอนเครดิตได้เลย อยู่ๆ สิทธิในการรักษาป่า การใช้ประโยชน์จากป่า หรือแม้กระทั่งประโยชน์การขายคาร์บอนเครดิต รัฐกลับมอบให้อยู่กับกลุ่มทุน แบบนี้เป็นการชุบมือเปิบหรือไม่ มีคำถามว่าทำไมชาวบ้านที่รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการป่าชุมชนไม่สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง นี่เป็นวิธีการแย่งยึดฐานทรัพยากรของชุม ชนให้กับกล่มทุนโดยภาครัฐอย่างเห็นได้ชัด
4.2 ภาคประชาชนให้ความเห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นการฟอกเขียวโดยการแย่งยึดทรัพยากรของพี่น้องด้วยการที่ภาครัฐยกไปให้กลุ่มทุน ระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้แก้ปัญหาโลกร้อนแต่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มทุนที่ก็ยังคงได้สิทธิในการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง ด้วยการสร้างกลไกการตลาดเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..
'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
นักวิชาการ ชี้ ‘เมฆระเบิด’ ต้นเหตุฝนกระหน่ำหนัก เกิดบ่อยที่ไทยทุกฤดูฝน
นักวิาการ อธิบายเมฆระเบิด(Cloudburst) ทำให้เกิดฝนกระ หน่ำ(RainBomb)หนัก จะเกิดขึ้นบ่อยที่ประเทศไทยในทุกฤดูฝน
จุดยืนไทยต่อเวทีโลกเดือด COP29
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาติดอันดับท็อปเท็นของโลกที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศในระยะยาว EM-DAT รายงานข้อมูล 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2565 ประเทศไทยเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว 146 ครั้ง สร้างความสูญเสียต่อชีวิต 0.21
‘ดร.สนธิ’ ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อม เปิด 3 สาเหตุสำคัญน้ำท่วมเชียงใหม่
น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่สาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว...
'นักวิชาการ' ยกมาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรป กับ โศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียน
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า