‘NARIT’ โชว์ภาพปรากฏการณ์ ‘การร่วมทิศ’ สามดาวเคียงเดือน บนท้องฟ้าช่วงตีสี่ 28 มี.ค.

28 มี.ค.2565-เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์พร้อมข้อความระบุว่า วันที่ 28 มีนาคม 2565 ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ และดาวอังคาร จะปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า ทางดาราศาสตร์เรียกว่า “การร่วมทิศ” เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 04:00 น. เป็นต้นไป บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก มีเวลาสังเกตประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น  ดวงจันทร์เสี้ยวข้างแรมปรากฏใกล้ดาวอังคาร

สำหรับท่านที่พลาด พรุ่งนี้วันที่ 29 มีนาคม ยังมีให้ชมกันอีก แต่ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏใกล้กับดาวเสาร์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 04:00 น. เป็นต้นไป บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก มีเวลาสังเกตประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

“การร่วมทิศ” คือ ปรากฏการณ์ที่มีวัตถุท้องฟ้า เช่น ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์สว่างเด่น ตั้งแต่ 2 วัตถุขึ้นไป ปรากฏบนท้องฟ้า โดยมีระยะห่างเชิงมุมไม่เกิน 5 องศา  ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี (เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนฟ้า) ดังนั้น การที่ดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ  

สำหรับผู้สนใจ สามารถติดตามชมความสวยงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้ายามเช้าในช่วงเวลาดังกล่าวได้ หลังจากนี้ดาวอังคารจะค่อย ๆ เคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้า และจะปรากฏใกล้ดาวเสาร์มากที่สุดเพียง 0.3 องศา ในวันที่ 5 เมษายน 2565 นี่ไม่ใช่แค่ดาวเคียงเดือนธรรมดา แต่มากันถึง #สามดาวเคียงเดือน  พาเหรดมาพร้อมหน้ากันแบบนี้ มีมาให้ชมไม่บ่อยนัก ช่วงนี้ตื่นเช้าออกมาชมดาวกันสักนิด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเดิมรับลมหนาว! หอดูดาว 5 แห่ง จัดชมปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 3 พ.ย.นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า 3 พฤศจิกายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนคนไทยส่อง #ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

สดร. เปิดภาพปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคาบางส่วน'

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ต่อเนื่องคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หรือเช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ

ชมเลย ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ทำการไลฟ์สด ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย ในช่วงเช้ามืด 29 ตุลาคม 2566 นี้!!

NARIT โชว์ภาพ ‘ดาวศุกร์’ ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปีนี้

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า ดาวศุกร์ หรือ ดาวประกายพรึก รุ่งเช้าวันนี้

รอชม 'ดาวศุกร์สว่างที่สุด' รุ่งเช้า 18 ก.ย. สังเกตได้ด้วยตาเปล่า

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า รุ่งเช้า 18 กันยายนนี้ #ดาวศุกร์สว่างที่สุด อีกครั้ง 18 กันยายน 2566 ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง

มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี