21 ก.ย.2565 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 23 กันยายนนี้ เป็น "วันศารทวิษุวัต" เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
“ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และประเทศซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
วันดังกล่าว ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:13 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) เนื่องจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย เหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สดร. เปิดภาพปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคาบางส่วน'
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ต่อเนื่องคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หรือเช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ
รอชม 'ดาวศุกร์สว่างที่สุด' รุ่งเช้า 18 ก.ย. สังเกตได้ด้วยตาเปล่า
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า รุ่งเช้า 18 กันยายนนี้ #ดาวศุกร์สว่างที่สุด อีกครั้ง 18 กันยายน 2566 ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง
มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี
ชวนชม 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมนี้พบกับ 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (ฝนดาวตกวันแม่) ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี และซูเปอร์บลูมูน
รับรองแล้ว 'แก้วโกสินทร์-ไพลินสยาม' ชื่อภาษาไทยดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยว่า สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ IAU (The International Astronomical Union) ได้รับรองชื่อภาษาไทยของดาวฤกษ์แม่ GJ3470 และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ GJ3470b ว่า “แก้วโกสินทร์” และ “ไพลินสยาม” นับเป็นระบบดาวเคราะห์นอกระบบ ระบบที่ 3 ที่มีชื่อเป็นภาษาไทย
พบ ‘พระจันทร์ดวงที่สอง’ ที่โคจรใกล้โลกไปอีกนาน 300 ปี
จนถึงตอนนี้เราคิดว่าพระจันทร์มีเพียงดวงเดียวที่โคจรรอบโลกของเรา แต่ความจริงแล้วพระจันทร์ยังมีเพื่อน แม้ว่าจะในระยะเวลาที่จำกัด