'ประวิตร' บอกไม่ต้องห่วงพายุโนรูเข้าไทย สทนช.ตั้งศูนย์รับมือทั่วประเทศ มท.พร้อมเยียวยา

27 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการเตรียมรับมือพายุโนรู ว่า ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ตั้งศูนย์เตรียมรับมือทั่วประเทศไว้แล้ว ไม่ต้องห่วง ส่วนเรื่องการเยียวยาได้เตรียมแล้วโดยกระทรวงมหาดไทย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สั่งให้เตรียมการไว้แล้วรับมือผลกระทบจากพายุโนรู

เมื่อถามว่ามีข่าวว่าพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย จะลงพื้นที่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่รู้

ถามอีกว่า เห็นว่าไปตามคำสั่งของท่าน พล.อ.ประวิตร ตอบว่า รมว.มหาดไทยเขาต้องไปดูอยู่แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สทนช. ตั้ง“วอร์รูม” แก้ปัญหาน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรมย์ ลงพื้นที่ทำงานเชิงรุกเร่งฟื้นฟู ขีดเส้นภายใน เม.ย. กลับสู่ภาวะปกติ

สทนช.ตั้ง “วอร์รูม” เฉพาะกิจผนึกกำลังบูรณาการวางแผน สั่งการ แก้ปัญหาทำนบดินชั่วคราวพังทลาย น้ำเค็มทะลักเข้าคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสาขา ในพื้นที่   จ.ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ลงพื้นที่เร่งติด ตามการดำเนินงานในเชิงรุก หวังลดผลกระทบที่เกิดขึ้น มั่นใจสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในเดือนเม.ย.นี้อย่างแน่นอน

'ธรรมนัส' เชื่อ 'บิ๊กป้อม' มีชื่อสำรอง หาก 'ไผ่ ลิกค์' คุณสมบัติไม่ผ่านเป็นรมต.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ กับโควตาที่ยังว่างอยู่ ว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร

สทนช. เร่งหน่วยงานด้านน้ำคลอดแผนปฏิบัติการรองรับฤดูฝน เตรียมรับมือ “ลานีญา” คาดฝนตกหนัก มิ.ย. - ส.ค. 67

สทนช. มั่นใจ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 รับมือสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรมเร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝน

ห่วงปชช. 7 จ. ริมน้ำโขง หลังสารเคมีรั่ว สั่ง สทนช. เฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

'สมศักดิ์' ห่วงชาวไทย-ลาว หลังสารเคมีรั่วลงแม่น้ำโขง สั่ง สทนช. เกาะติดใกล้ชิด แจงตรวจคุณภาพน้ำ จ.เลย ใช้ได้ปกติ แต่ยังเฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

กรมอุตุฯ ออกประกาศ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วง 8-11 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8 – 11 เมษายน 2567)