
23 ตุลาคม 2565 รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับยังคงมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย
ออกประกาศ 23 ตุลาคม 2565
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 05:00 น. วันนี้ ถึง 05:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง
มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี
ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 23 ตุลาคม 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เตือนเตรียมรับมือพายุฤดูร้อนอีกครั้ง 7-9 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 1- 10 เม.ย.66 อัพเดท 2023033112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : จะแบ่งเป็น 2 ช่วง
ร้อนถ้วนหน้า! ไทยตอนบนระวังลูกเห็บตก กทม.ฟ้าหลัว
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดัง
อุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือน 39 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อนถล่ม 28-29 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 27 - 29 มีนาคม 2566) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศลาวและทะเลจีนใต้แล้ว
'ธนกร' มั่นใจ รทสช. ได้ 25 ที่นั่งในภาคใต้ อ้อนเลือกคน-พรรคให้ลุงตู่เป็นนายกฯต่อ
นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ภาคใต้ พรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ว่า 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เตือน ฉ.5 ‘เหนือ-อีสาน-กลาง-ตะวันออก’ พายุฤดูร้อนถล่มหลายจังหวัด
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 5 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 26 - 29 มีนาคม 2566)
น้ำท่วมเบตง ฝนตกหนักน้ำป่าทะลักเขตเทศบาล เฝ้าระวังดินโคลนถล่มในช่วง 1-2 วันนี้
ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ทำให้บ้านเรือนชาวบ้านถูกน้ำท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่ม เตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ให้ประชาชนติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 วันนี้