19 พ.ย.2565 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 4 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งเกาะบอร์เนียวมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนในวันที่ 21 - 22 พ.ย. 65 และเข้าสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. 65 ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณปลายแหลมญวน ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565
ภาคตะวันออก: จังหวัดจันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ช่วงวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2565
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั่วไทยอากาศร้อนและฟ้าหลัวตอนกลางวันแต่มีฝนประมาณ 10%ของพื้นที่
กรมอุตุฯ คาดวันนี้เหนือ-อีสานอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 40 องศา ซ้ำร้ายมีฝนฟ้าคะนองและเจอลูกเห็บตก แต่มีเพียง 10%ของพื้นที่ ส่วนเมืองกรุงฟ้าหลัวและมีฝนตก 10%เช่นกัน
กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เตือนระวังพายุฤดูร้อน 26-27 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉี
ไทยตอนบนร้อน! ระวังลูกเห็บตก กทม.โล่ง PM2.5 น้อย เพราะมีลม
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ลั
พายุฤดูร้อนถล่ม 20-22 มี.ค. ฝนฟ้าคะนอง ลมแรงลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย
เหนือ อีสาน กลาง รับมือพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
ปลอดพายุฤดูร้อน! ช่วงนี้อากาศนิ่ง เริ่มร้อนขึ้น ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ระบุว่า ในวันที่ 17-18 มี.ค. 66 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน