รมต.เฮ้ง ขานรับข้อตกลงเอเปก เร่งฝึกช่างขุดเจาะบ่อน้ำมัน ส่งออกแรงงานไทยไปซาอุฯ

23 พ.ย.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เยี่ยมและพบปะให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการยกระดับสมรรถนะแรงงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมี นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายนิพัฒน์สิน ยิ้มแย้ม กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็มพีซี ฟิวเจอร์ จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดสงขลา และผู้เข้ารับการฝึกอบรม ร่วมให้การต้อนรับ ณ บริษัท เอ็มพีซี ฟิวเจอร์ จำกัด จังหวัดสงขลา

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญและมีนโยบายผลักดันความร่วมมือแรงงานระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อวันที่ 25 - 26 มกราคม 2565 ได้เดินทางไปเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ เจรจาหารือ เปิดโอกาสให้แรงงานไทย ได้เดินทางไปทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งประเทศซาอุดีอาระเบียมีความต้องการแรงงานจากต่างชาติจำนวนกว่า 8 ล้านคน ประกอบกับ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้เดินทางเยือนประเทศไทยในโอกาสการประชุมเอเปค 2022 และได้หยิบยกประเด็นด้านแรงงานมาหารือ

จากการหารือระหว่างไทยและซาอุทั้งสองฝ่ายยินดีที่ได้จัดทำความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่สำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านแรงงานให้เป็นผลสำเร็จ และความร่วมมือด้านอื่น ๆ อีกด้วย จึงนับเป็นโอกาสของแรงงานไทยที่มีความประสงค์เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงานจึงได้เร่งรัดให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ลงนามความร่วมมือในการจัดส่งแรงงาน พร้อมทั้งได้สั่งการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการยกระดับสมรรถนะแรงงานไทยให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานสอดคล้องกับสาขาอาชีพที่นายจ้างในประเทศซาอุดีอาระเบียต้องการ

โครงการนี้เป็นผลสำเร็จของการฟื้นความสัมพันธ์ไทย - ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเริ่มเห็นความสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือทางด้านแรงงานเป็นอีกมิติที่เห็นความคืบหน้าอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากการสานต่อและผลักดันของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินโครงการนี้จะเพิ่มโอกาสการทำงานให้แรงงานไทยรวมถึงช่วยยกระดับสมรรถนะแรงงานไทยให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ขับเคลื่อนการจัดส่งแรงงานฝีมือและแรงงานกึ่งฝีมือเข้าสู่ระบบการจ้างงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงต่อยอดไปยังความร่วมมือด้านอื่นๆ จึงขอให้ทุกท่านตั้งใจฝึกอบรมให้เกิดทักษะจริง ๆ มีความรู้ความสามารถไปทำงานในด้านปิโตรเลียม ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

ด้าน นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า โครงการยกระดับสมรรถนะแรงงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศชาอุดีอาระเบียในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมแรงงานไทยก่อนไปทำงานต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะฝีมือแรงงานและภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพในตำแหน่งงานที่ตลาดแรงงานต่างประเทศมีความต้องการ เป็นกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อขยายตลาดแรงงานใหม่ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่แรงงานไทยมีความสามารถและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานต่างประเทศ โดยเริ่มดำเนินการฝึกเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ระยะเวลาการฝึกอบรม 144 ชั่วโมง เนื้อหาการฝึกประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานของการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ความปลอดภัยในการทำงานในแท่นขุดเจาะ ความรู้และเทคนิคในการทำงาน ความรู้พื้นฐานการดำรงชีวิตในต่างประเทศ ปัจจุบันได้ฝึกจบไปแล้ว 1 รุ่น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการฝึกรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 และสำหรับรุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่