ตีตกคำร้อง 'หมอวรงค์' ปม 'กสทช.' ออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคมดวง 7-8

แฟ้มภาพ

17 พ.ย.2564 - ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่นศาล รธน.วินิจฉัยกรณี กสทช.ออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคมดวง 7 และ 8 ขัด รธน.หรือไม่ โดย คำแถลงศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่านายวรงค์ เดชกิจวิกรม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 (เรื่องพิจารณาที่ ต. 45/2564) นายวรงค์ เดชกิจวิกรม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกร้องที่ 2) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ผู้ถูกร้องที่ 3) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) (ผู้ถูกร้องที่ 4) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้องที่ 5) กระทำการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 และมาตรา 305 (1) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60 และมาตรา 274

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า 1. กรณีผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 มีมติมอบให้ผู้ถูกร้องที่ 5 นำเอกสารข่ายงานดาวเทียม (fling)​ ที่ตำแหน่ง 120องศาตะวันออก ไปทำสัญญาร่วมกับบริษัท Asia Satelite Telecommunications Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 หรือไม่ นั้น เห็นว่า การยื่นคำร้องในปัญหาการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญ มาตรา 178 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่ประชาชนทั่วไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

2. กรณีผู้ถูกร้องที่ 3 และผู้ถูกร้องที่ 4 ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามเลขที่ 3ก/55/002 ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2555 เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 305 (1) และบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือไม่นั้น เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 305 (1) เป็นบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ซึ่งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 และผู้ถูกร้องที่4

๓. กรณีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 60 และมาตรา 274 หรือไม่ นั้น เห็นว่า การยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สิทธิไว้เป็นการเฉพาะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 และมาตรา 231 (1) ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213

4. กรณีประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2564ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60 หรือไม่ นั้นเห็นว่า ประกาศดังกล่าวมิได้มีสถานะเป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่จะอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึก! กกต.ชงศาลรธน.ยุบพรรคก้าวไกลแล้ว จับตา 20 มีนา.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกก

ก้าวไกลเบรกเกมเร็ว ชิงดักทาง ผวาเร่งยุบพรรค

คดียุบ พรรคไทยรักษาชาติ ที่เป็นพรรคสาขาของเพื่อไทยในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เคยสร้างสถิติไว้ว่าเป็นคดียุบพรรคที่ใช้เวลาสั้นที่สุด คือแค่ 25 วัน นับจาก กกต.มีมติให้ส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 13 ก.พ.2562

ธีรยุทธ ผู้ร้องคดีต่อ กกต. ศาล รธน.ไต่สวน-จบเร็ว นับถอยหลังยุบ'ก้าวไกล'

จากมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ให้ส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบ "พรรคก้าวไกล" เนื่องจากมีหลักฐานเชื่อได้ว่ากระทำการล้มล้างการปกครอง

พิธาพลิกตำรา ‘รอดยุบพรรค’ เชื่อแค่ตักเตือน

"พิธา" ย้ำเตรียมแผนรับมือไว้แล้วหากศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล ชี้ต้องใช้ดุลพินิจ ความผิดมาตรา 49-มาตรา 92 มีความต่างกัน เชื่อศาลจะให้ความยุติธรรม

'เรืองไกร' ส่งหนังสือด่วนที่สุด เร่ง ป.ป.ช. ฟันจริยธรรม 44 สส.

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า วันนี้ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ศาลอาญาฯ ประทับฟ้อง 'พิรงรอง รามสูต' กสทช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลนัดฟังคำสั่งชั้นไต่สวนคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดยื่นฟ้อง ศาสตร