นักวิชาการ ชำแหละกรณีทุบกุฏิวัดชลประทานฯ สะท้อนสงฆ์ไร้อุดมคติ ใช้อำนาจรัฐกดขี่พระ

9 ก.พ.2566 - ดร.มงคล นาฏกระสูตร อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โพสต์บทความบนเฟซบุ๊กหัวข้อ กดขี่คุกคามสงฆ์โดยรัฐและทุน : #กรณีศึกษาทุบกุฏิวัดชลประทานฯ" มีเนื้อหาดังนี้

วัดชลประทานรังสฤษฏ์ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคมจากการเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ (อดีตพระพรหมมังคลาจารย์) งานเผยแผ่ที่หลวงพ่อทำขึ้นตรงกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่กล่าว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรืออำนาจคณะสงฆ์ วัดชลประทานฯ จึงสง่างาม เป็นวัดในเมืองตัวอย่าง เป็นวัดที่ชาวบ้านเคารพนับถือบูชา จวบสิ้นอายุไขของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

#พระพุทธเจ้าตั้งคณะสงฆ์เป็นอิสระต่อรัฐ
คณะสงฆ์ในยุคพุทธกาลตั้งขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกของสังคมที่ไม่คลั่งศาสนาและไม่หลงในโลกิยะ ทรงออกแบบคณะสงฆ์ออกไปดังนี้

- คณะสงฆ์เป็นสังคมใหม่ที่ไม่ขึ้นกับกฎของสังคมและอำนาจรัฐ เช่น การบวชต้องเปลี่ยนชื่อและโคตร , เปลี่ยนวิถีเป็นแบบนักบวช, มีกฎกติกาของตนเอง ,ตัดสถานเดิมทางสังคมทั้งหมด เริ่มด้วยระบบพรรษา คือ กำเนิดชีวิตพระ เป็นต้น

- เป็นชุมชนที่อิงอาศัยและเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้าน ชาวบ้านถวายปัจจัยสี่เพื่อแลกศรัทธาในพฤติกรรมและการเผยแผ่ธรรมะของสงฆ์

- เป็นอิสระต่อรัฐและสังคม คณะสงฆ์ต้องเป็นอนาคาริก (ไม่เป็นชาวบ้าน,ไม่ใช้ชีวิตเหมือนชาวบ้าน) และมีพื้นที่และกิจกรรมที่ห้ามชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยว เช่น สังฆกรรม และ เขตวิสุงคามสีมา ที่แปลว่า แยกจากบ้าน ที่อาญาของรัฐเข้าไปใช้บังคับไม่ได้ เช่น พระอุโบสถที่พระราชาพระราชทานมา คณะสงฆ์จึงถือ เป็นชุมชนพิเศษในอาณาจักรที่เป็นอิสระต่อรัฐอย่างถูกกฎหมาย

#สงฆ์ปัจจุบัน: #ไร้อุดมคติกลับไปใช้อำนาจรัฐ
ฐานะคณะสงฆ์ในปัจจุบัน ลืมอุดมคติแบบพุทธดั้งเดิม กลับเข้าไปหารัฐให้นำอำนาจเข้ามาจัดการคณะสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง ทั้งๆที่มีพระธรรมวินัยอยู่แล้ว สงฆ์ปัจจุบันจึงใช้พรบ.คณะสงฆ์และระบบสมณศักดิ์ เพื่อแสวงหาตำแหน่งและอำนาจในคณะสงฆ์ และนี่คือปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ทำให้พฤติกรรมสงฆ์โดยรวมที่กระทบกระเทือนต่อศรัทธาของชาวบ้าน เพราะเป้าหมายของสงฆ์อยู่ขึ้นกับการบรรลุธรรมและเป็นสังคมอุดมคติ (Utopia) ใช้วัตถุน้อยที่ที่สุด แต่ทำประโยชน์สูงสุด กลับมาเป็นสังคมปุถุชน (ordinary society)เหมือนครธรรมดาที่มีกิเลสไป
#ปรากฎการณ์ทุบกฏิพระวัดชลฯ : #การคุกคามสงฆ์โดยใช้อำนาจรัฐและทุน

ข่าวดังที่เจ้าอาวาสและคณะจัดทำโครงการ 5 ส. แต่เหลาลงไปกลายเป็นการทุบกุฏิพระลูกวัดจนพระและญาติโยมเดือดร้อนโดยไม่ฟังใคร บางคนมองแคบๆว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าอาวาสกับพระลูกวัด แต่ที่จริงตามที่แถลงการณ์ของวัดปรากฎว่าอ้างความชอบธรรมของโครงการตนโดยผ่านอำนาจรัฐ อำนาจคณะสงฆ์และระบบทุนนิยมทั้งนั้น แทนที่จะใช้พระธรรมวินัย พระธรรม เช่น หลักเมตตาธรรม หลักสังคหวัตถุ หรือพระวินัย เช่น การไม่กล่าวมุสา ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่พระลูกวัดและสังคม หรือ อาวาสิกวัตร หน้าที่ของพระที่เป็นเจ้าอาวาสที่ดี ที่น่ากลัวมากคือการทำธุรกิจก่อสร้างในวัดดังๆทั่วประเทศ โดยนายทุนเข้ามาดำเนินการแทนพระ

การใช้พรบ.คณะสงฆ์ ใช้กฎหมายของรัฐ ใช้อำนาจหน่วยของรัฐมากดขี่ข่มพระที่ไม่มีอำนาจหรือทุนใดๆมาต่อสู้ จึงเรื่องที่น่าสงสารพระที่ถูกกระทำที่เกินเลยไป ทำให้วัดระงับอธิกรณ์ไม่ได้ ระงับสุข สงบ เย็น เป็นสังคมตัวอย่างของชาวบ้านไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะถอยห่างจากเป้าหมายของพุทธะมาเป็นเป้าหมายโลกิยะ จึงวุ่นวายไม่จบไม่สิ้นให้ เพราะคนใส่สูทมาบังคับคนห่มจีวร...นี่เอง

ด้วยจิตคาวระ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวบอดีต 'พระอาจารย์คม' ยักยอกเงินวัดกว่า 180 ล้าน ยอมรับเสพเมถุนในกุฏิวัด

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ร่วมกันจับกุม นายคมฯ หรือพระอาจารย์คม , นาย วุฒิมาฯ หรือพระหมอ และ น.ส.จุฑาทิพย์ฯ ในข้อหา “เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด .

สำนักพุทธฯ รับ 'พระอาจารย์คม' สึกแล้ว แจงสอบทรัพย์สินวัด ป้องกันโยกย้าย

นายอินทพร จั่นเอี่ยม รอง ผอ.รักษาราชการแทน ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า การแต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี และการตั้งคณะกรรมการสำรวจทรัพย์สินวัดนั้น สืบเนื่องจากวัดนี้ไม่มีเจ้าอาวาสแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปกติของคณะสงฆ์

อาฟเตอร์ช็อก! ตั้งกรรมการสำรวจทรัพย์สินวัดป่าธรรมคีรี ไล่เช็กบิลพระอาจารย์คม

จากกรณี พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต (จิรศักดิ์) เจ้าอาวาสวัดวงศ์เกษตร ในฐานะเจ้าคณะตำบลปากช่อง เขต 4 จ.นครราชสีมา มีหนังสือคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา​ นับตั้งแต่วันที่​ 3 พ.ค.​ 2566​ เป็นต้นไป

แชร์สะพัด! หนังสือแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี โซเชียลสงสัยจริงหรือเท็จ

ขณะนี้ในสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการแชร์หนังสือ คำสั่งเจ้าคณะตำบลปากช่อง (ธรรมยุต) ที่ 01/2566 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดราษฎร์

‘อ.ทองย้อย’ เขียน’ถวายข้อคิดเพื่อโปรดพิจารณา’ สิ่งที่เป็นหน้าที่ของสงฆ์

กรณีพระราชทานสมณศักดิ์เป็นอำนาจโดยตรงของพระราชา ฉันใด กรณีศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม และสอนธรรม ก็เป็นหน้าที่โดยตรงของพระสงฆ์