ประกาศแล้ว 'อัตราค่าจ้าง' ตามมาตรฐานฝีมือ 17 สาขา อีก 90 วันใช้บังคับ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ 'อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ' 17 สาขา มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

11 ก.พ.2566 - เว็บไซต์ราชกิจจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 12)

ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 17 สาขา โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้ “มาตรฐานฝีมือ” หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข้อ 3 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้

(1) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาช่างระบบส่งถ่ายกำลัง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท

(2) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาช่างระบบปั๊มและวาล์ว ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบห้าบาท

(3) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาช่างประกอบโครงสร้างเหล็ก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

(4) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาช่างปรับ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

(5) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็ก ด้วยหุ่นยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบบาท

(6) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระดับ 1เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสี่สิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสามสิบห้าบาทและระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยสิบห้าบาท

(7) สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาช่างซ่อมรถแทรกเตอร์การเกษตร ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบห้าบาทและระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยยี่สิบบาท

(8) สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถตักหน้าขุดหลัง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบห้าบาท

(9) สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถขุด ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบบาท

(10) สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถลากจูง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบห้าบาท

(11) สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถตัก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบบาท

(12) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด)ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ2เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(13) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (วารีบำบัด)ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(14) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (สุคนธบำบัด)ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(15) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานผสมเครื่องดื่ม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบห้าบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(16) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท

(17) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างเครื่องช่วยคนพิการ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (17) คำว่า“วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง

ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น

ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566
บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

140D032S0000000003100

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อารี’ มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรนวดศีรษะ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน สร้างรายได้

นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับมอบหมายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เยี่ยมชมการฝึกอบรมและมอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนวดศีรษะ และหลักสูตรการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน

"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ

ประกันสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเปลี่ยน รพ. ปี 68 ผ่าน 4 ช่องทาง เริ่ม 16 ธ.ค.67 นี้

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม แจ้งให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2568 ได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.

“พิพัฒน์” เอาจริง! ตั้งชุดเฉพาะกิจตรวจสอบการจ้างแรงงานต่างด้าว ป้องปรามแย่งอาชีพคนไทย ออกจับ ปรับส่งกลับประเทศ

วันที่ 11 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจสอบการจ้างงาน สภาพการจ้าง การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

'พิพัฒน์' ให้ลุ้นประชุมบอร์ดไตรภาคีเคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

'พิพัฒน์' ให้ลุ้นประชุมบอร์ดไตรภาคีเคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำพรุ่งนี้ ย้ำทันปีใหม่แน่นอน ส่วนของขวัญปีใหม่ ก.แรงงานเข้า ครม.สัปดาห์หน้า