14 ก.พ.2566-กรมอุตุนิยมวิทยาออก ประกาศ เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 (51/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ 2566)
บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศลาวแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (วันที่ 14 ก.พ. 66) และจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันพรุ่งนี้(วันที่ 15 ก.พ. 66) ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ประกอบกับในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.พ. 66 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 – 6 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 – 4 องศาเซลเซียส
ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้
โดยจะมีผลกระทบดังนี้
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลกเพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย และตาก
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15 – 17 ก.พ. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวพัดยาวฉลองคริสต์มาส
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13 - 27 ธ.ค. 67
กรมอุตฯ ประกาศฉบับ 8 เตือนอากาศหนาว 13-16 ธ.ค. ใต้ฝนตกหนักคลื่นลมแรง
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 8
อุตุฯ เตือนอากาศเย็น ลมแรง อุณหภูมิลด 1-3 องศา กทม. ฝนตก 40%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 'ลมหนาวแรง' อีสานอุณหภูมิลดวูบ 4-8 องศา ภาคอื่นลด 2-5 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 7
เปิดภาพ 'แม่คะนิ้ง' เกิดครั้งแรกหน้าหนาวปีนี้ 'กิ่วแม่ปาน' ยะเยือก 4 องศา
จังหวัดเชียงใหม่ยอดดอยอินทนนท์หนาวจัด เกิดเหมยขาบแรกแห่งปี อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศาเซลเซียสที่กิ่วแม่ปาน พบบริเวณลานจอดตรงข้ามพระมหาธาตุเจดีย์ บรรยากาศ ยอดดอยและกิ่วแม่ปานอากาศเปิด คุณภาพอากาศดีมาก
วันนี้คนกรุงต้องพกร่มมีฝน 20%ส่วนภาคใต้อ่วมเจอถล่ม 60-70%
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป