14 ก.พ.2566 - ที่กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ. ธิติชัย เทียนทอง เสนาธิการทหาร ร่วมกับ นายโรเบิร์ต เอฟ โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แถลงข่าวการฝึก คอบร้าโกลด์ 2023 ซึ่งเป็นการฝึกครั้งที่ 42 มีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และ มาเลเซีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย และออสเตรเลีย ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติหรือ MPAT(Multinational Planning Augmentation Team) 10 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ฟิจิสหราชอาณาจักร และบรูไน สำหรับประเทศที่ เข้าร่วมในโครงการสังเกตการณ์ฝึก (Combined Observer Liaison Team) : COLT) ฃ 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว บราซิล ปากีสถาน เวียดนาม เยอรมนี สวีเดน สาธารณรัฐเฮลเลนิก คูเวต และศรีลังกา รวมทั้งสิ้น 30 ประเทศ ยอดผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน 7,394 นาย ซึ่งปีนี้เป็นวงรอบการฝึก light year
พล.อ.ธิติชัย กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้สถานการณ์ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จึงได้กำหนดแผนการฝึกให้กลับมาฝึกเต็มรูปแบบเหมือนเดิม แต่ยังคงใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มข้น โดยกำหนดการฝึกฯ ระหว่างวันที่ 27 ก.พ.- 10 มี.ค.2566 ประกอบด้วยการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) เป็นการฝึกอำนวยการยุทธ์ของ กำลังรบขนาดใหญ่ เพื่อรองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ในทุกมิติ (All Domain Operations)ได้แก่ ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ทางด้านไซเบอร์ และทางอวกาศ สำหรับการฝึกด้าน Cyber เป็นการฝึกการวางแผน โดยเน้นวิธีการ ตรวจสอบภัยคุกคามเบื้องต้น และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อระบบอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน
สำหรับในปีนี้ เป็นปีแรกในการฝึกทางด้านอวกาศ เข้ามาร่วมในการฝึกการวางแผนของฝ่ายเสนาธิการ ร่วม/ผสม เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงผลกระทบในส่วนของการฝึกด้านอวกาศ (Space) โดยนำผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอวกาศ ที่มีผลต่อการปฏิบัติการทางทหารในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายอำนวยการ ได้วางแผนรองรับ และใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่มีผลต่อระบบการสื่อสาร สัญญาณดาวเทียม โดยมีหน่วยงานด้านอวกาศทั้งทางทหาร และพลเรือน ของไทย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนข้อมูล และการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ
นอกจากนั้นยังมีการฝึกโครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian Civic Assistance: HCA) ได้แก่ โครงการก่อสร้าง อาคารเอนกประสงค์ส าหรับโรงเรียนในพื้นที่การฝึก จำนวน 6 พื้นที่ การฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติประกอบด้วย การฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ (HADR-TTX) ในหัวข้อบทบาททางทหาร ในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติภายใต้กลไกลการตอบสนองในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมการฝึกสาธิตฯ (HADR-Demo) ซึ่งเป็นการฝึกสาธิตแนวทางในการปฏิบัติเป็นสถานี ได้แก่ การค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย การแพทย์ฉุกเฉิน การส่งกลับสายแพทย์ สารเคมีรั่วไหล และการดับเพลิง ของประเทศต่าง ๆ
รวมถึงการฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise: FTX) ประกอบด้วย การฝึกแลกเปลี่ยน CTX และการฝึกภาคสนามของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยมีกิจกรรมที่ส าคัญ ได้แก่ การฝึกการเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ (Joint Forcible Entry Operations: JFEO) ประกอบด้วย การฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำ สะเทินบก การกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ การอพยพพลเรือนจากพื้นที่ความขัดแย้ง และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ ด้วยกระสุนจริง
เมื่อถามถึงการพิจารณาเชิญกลุ่มประเทศร่วมการฝึก พล.อ. ธิติชัย กล่าวว่า การฝึกคอบบร้าโกล มีมานานแล้ว ได้รับการยอมรับ ซึ่งหลายชาติทาบทามเข้าร่วมมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ดำเนินตามขั้นตอน การจัดกลุ่มประเทศเข้าฝึก 30 ชาติ แบ่งเป็น กลุ่มแรก ประเทศฝึกหลักรวม 7 ประเทศ ประเทศเข้าร่วมแบบจำกัดมี 3 ประเทศ กลุ่มที่เหลือกลุ่มประเทศเข้าร่วมเป็นบางส่วน ให้จัดฝ่ายเสนาธิการร่วมฝึกจำนวน 2 นาย และกลุ่มไม่สามารถเข้าร่วมได้ คือ ผู้สังเกตุการณ์ ทั้งนี้ ประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วม หรือประเทศอยากมาสังเกตการณ์ เชิญมาเพื่อให้เห็นโปร่งใส ความจริงใจการฝึก มีหลายประเทศ รวมในอาเซียนด้วย เราจะใช้ระบบหมุนเวียน เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เชิญกลุ่มประเทศสังเกตการณ์ ทำให้มีประเทศค้างอยู่พอสมควร จึงเลือกใช้นะบบหมุนเวียนจึงทำให้ บางประเทศไม่ได้รับเชิญในวงรอบนี้ แต่ส่วนใหญ่ประเทศในอาเซียนเคยเข้ามาสังเกตุกาณ์ทุกประเทศแล้ว เช่น บลาซิล ถือเป็นครั้งแรกที่เชิญมา ส่วนประเทศเมียนมาไม่ได้เข้าร่วมในการฝึกครั้งนี้ แต่ครั้งก่อนๆ เข้าร่วม
นายเบิร์ต เอฟ โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้ไม่ใช่แค่ปีที่ 42 ของการฝึกคอบร้าโกลด์เท่านั้น แต่ยังเป็นปีที่เรามาร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบ190 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยและชาวอเมริกันเป็นแรงขับเคลื่อนให้ประเทศทั้งสองมั่นคงและมั่งคั่งยิ่งขึ้นต่อไป คุโณปการณ์ของการฝึกคอบร้าโกล์ด ที่มีต่อพลเมืองประเทศทั้งสอง ตลอดจนการอำนวยการยุทธ์ร่วม และ การฝึกภาคสนามมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร นักเรียน ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ โดยขอยกตัวอย่างว่า ประมาณร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจโลกอยู่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน3 ของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจทั้งหมดตลอด5 ปีที่ผ่านมา อย่างน้อยการค้าขายทางทะเลทั่วโลกเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ดังนั้นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันจึงช่วยให้สินค้าที่ผู้ประกอบการชาวไทยและชาวอเมริกันส่งออกสามารถที่จะขนย้ายผ่านภูมิภาคนี้ได้อย่างเสรีไม่ว่าจะเป็นทางน่านฟ้าและทะเล จะได้ช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่งร่วมกันระหว่างสองชาติทำให้คนสองชาติเดินทางไปมาได้อย่างปลอดภัย
ในปัจจุบันไทยมีธุรกรรมหมุนเวียนทางออนไลน์ร้อยละ 35 ซึ่งเรากำลังทำงานร่วมกันเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของเรามีความมั่นคงและปลอดภัย ในส่วนข้อมูลของธนาคารโลก มี 30ประเทศ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุด โดย 13 ประเทศอยู่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค ไทยก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบนั้นเช่นกัน การฝึกคอบร้าโกลด์ครั้งนี้จะช่วยให้เรารับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งต่อไปอย่างรวดเร็วเหมือนที่เราได้ร่วมมือกันตลอดมา การฝึกคอบร้าโกลด์ ตลอดจนความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี และพหุภาคีที่คลอบคลุมทั้งภูมิภาคนี้ ช่วยส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เศรษฐกิจของภูมิภาค แม้บุคลากรจะมาจากหลายประเทศ และภูมิภาคที่แตกต่าง แต่เราอยู่ได้ด้วยเจตจำนงค์ร่วมที่จะผดุง สันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่งในภูมิภาค พลเมืองของเราจะสร้างรากฐานที่สำคัญในการการรับมือความท้าทายที่ซับซ้อน ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้ด้วยประเทศใดประเทศหนึ่ง
“คอบร้าโกลด์มีความพิเศษไม่เหมือนใครเพราะเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของสายสัมพันธ์แห่งมิตรแท้ที่เราร่วมถักทอต่อเนื่องมาตลอด 200 ปี ทหารไทยและสหรัฐฯ หลายพันนายได้สร้างมิตรภาพอันยั่งยืนผ่านการฝึกคอบร้าโกลด์และการร่วมกิจกรรมทางทหารอื่นๆ สนธิสัญญาและการร่วมกิจกรรมทางทหารอื่นๆ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ที่เราได้ลงนามเมื่อปี2376 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นข้อตกลงทางการค้าระดับทวิภาคี ได้พัฒนากลายเป็นความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไทย การฝึกคอบร้าโกลด์ก็ต่อยอดมาจากการฝึกซ้อมทางทะเลระดับทวิภาคีขนาดเล็ก ซึ่งต่อมาก็ขยายขอบเขตกลายเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับนานาชาติที่สำคัญที่สุดในโลก” นายโรเบิร์ต กล่าว
พ.อ.เคิร์ท เลฟเลอร์ นายทหทรอาวุโส และ ผช.ฑูตทหารฝ่ายทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้สหรัฐฯ ส่งกำลังพลกว่า 6,000 นาย เข้าร่วมการฝึก ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นับว่าเรากลับสู่ "คอบร้าโกลด์ดั้งเดิม" อย่างแท้จริงในด้านขนาดการฝึก ด้านขอบเขตการฝึก ทั้งจำนวนและความซับซ้อนของกิจกรรมต่าง ๆ นั้น การฝึกคอบร้าโกลด์ในปีนี้จะล้ำหน้าไปกว่าครั้งไหน ๆ ดังนั้นผมจึงอยากชื่นชมเจ้าหน้าที่จากประเทศเข้าร่วมการฝึกชื่งวางแผนร่วมกัน ความพยายามของพวกเขารับรองว่าจะเป็นประโยชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เราไม่เพียงแต่สนใจประเด็นที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ความร่วมมือของเรายังคงมั่นคงในหลายทศวรรษที่จะมาถึง เราได้บูรณาการความร่วมมือด้านไซเบอร์และอวกาศเข้ามาในการฝึก อีกทั้งยังเดินหน้าทดลองแนวทางดำเนินกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบในอนาคต ในปีนี้การฝึกการควบคุมบังคับบัญชา เป็นโอกาสนการฝึกปฏิบัติการร่วมกันด้านขั้นตอนการดำเนินงานและสื่อสารและระเบียบปฏิบัติประจำระหว่างประเทศของเรา ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการตอบสนองในระดับนานาชาติต่อสถานการณ์วิกฤตในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล
ในการฝึกภาคสนาม กองกำลังมผสมของเราจะปฏิบัติภารกิจการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการเข้าโจมตีด้วยการกระโดดร่มระยะไกล จากDiego Garcia สู่ประเทศไทย และฝึกปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งเป็นการยกพลขึ้นบกจากฝั่งอ่าวไทย หลังจากนั้นจะดำเนินการฝึกเพิ่มเติมในพื้นที่การฝึกทั่วประเทศไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้กับนาวิกโยธิน และทหารเรือของเรา ได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวและวัฒนธรรมของตน การทำความรู้จักเพื่อนใหม่แต่ถักทอสายสัมพันธ์ของเราให้ยิ่งแน่นแฟ้น และในโครงการช่วยเหลือประชาชนด้านการก่อสร้าง ทหารช่างจะใช้ทักษะฝีมือในการสร้างอาคารให้โรงเรียนในไทยนี้ เราและภาคีจะสร้างอาคาร 6 หลังด้วยกัน คือ ในลพบุรีและจันทบุรี จังหวัดละ 1 หลัง และในสระแก้วและระยอง ละ 2 หลัง
พ.อ.เคิร์ท เลฟเลอร์ ยังกล่าวถึงการฝึกด้านอวกาศว่า เราจะทำงานร่วมกันในภาพกองกำลังผสมนานาชาติ และร่วมกันหาระเบียบประจำด้านอวกาศ ตลอดจนถึงผลกระทบสิ่งต่างๆอาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติทางอวกาศ และประเด็นที่จะมีผลกระทบอวกาศ สิ่งต่างๆถือเป็นเรื่องใหม่ ทำร่วมกัน ศึกษาร่วมกัน และเป็นความท้าทาย ส่วนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลดาวเทียมสหรัฐหรือไม่นั้น พ.อ.เคิร์ท กล่าวว่า เรื่องการฝึกมีโอกาสเข้าถึงดาต้า ดาวเทียม สหรัฐด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 'ลมหนาวแรง' อีสานอุณหภูมิลดวูบ 4-8 องศา ภาคอื่นลด 2-5 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 7
สั่งปิดขึ้น 'ภูกระดึง' ไม่มีกำหนด หลังช้างป่าทำร้ายนักท่องเที่ยวเสียชีวิต
น.ส.จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีช้างป่าบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย ทำร้ายนักท่องเที่ยวหญิงเสียชีวิตขณะเดินเที่ยวในเส้นทางระหว่างทางเดินจากองค์พระพุทธเมตตาไปน้ำตกเพ็ญพบใหม่
'ภูมิใจไทย' ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม-อสม. เข้าสภาฯ
พรรคภูมิใจไทย นำโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย สส.ของพรรคภูมิใจไทย ร่วมยื่นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเท่าเทียม และ ร่าง (พ.ร.บ.)
มท.1 เซ็นอนุญาตให้หญิงต่างด้าว 31 ราย ได้สัญชาติไทย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การได้สัญชาติไทย
รัฐบาลเตือนผู้กู้ยืม กยศ.อย่าเบี้ยวหนี้
รัฐบาลเตือนผู้กู้ยืม กยศ.หากไม่ชำระเงินคืนตามกำหนดจะทำให้เกิดภาระดอกเบี้ยและเสียเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงถูกฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย ย้ำผู้กู้ยืมต้องมีคุณธรรมมีความรับผิดชอบ
คนกรุงอ่วม! สภาพอากาศมีผลกระทบสุขภาพถึง 33 พื้นที่
เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหา