กราฟิกพยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทยพร้อมแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 17 ก.พ. ถึงเวลา 18.00 น. วันที่ 18 ก.พ.
17 ก.พ.2566 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 12 (มีผลกระทบถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566) ระบุว่า คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้
โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบดังนี้
ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 17-26 ก.พ.66 อัพเดท 2023021612 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 17 - 18 ก.พ.66 คลื่นกระแสลมตะวันตกจากทางด้านประเทศเมียนมา ได้เคลื่อนเข้าพัดปกคลุมภาคเหนือ และจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคอีสานตอนบนต่อไป ทำให้ภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ )ภาคอีสานตอนบน (จ.เลย หนองบัวลำภู) มีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตก เกิดขึ้นได้ ต้องติดตามและเฝ้าระวัง พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บ วันนี้อีก 1 วัน (17 ก.พ.66)
สำหรับภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก อากาศเย็นลง ระมัดระวังรักษาสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
ส่วนภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ คลื่นลมแรงขึ้น ชาวเรือ ชาวประมง ต้องเดินเรือด้วยความระวัง
ส่วนช่วง 19-26 ก.พ.66 ฝนน้อยลงเกือบทุกภาค เว้นแต่ภาคใต้ ยังมีฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ พัดปกคลุม มีอากาศเย็นในตอนเช้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ออกประกาศฉบับ 6 เตือนประชาชนเฝ้าระวังฝนตกหนัก
ประกาศ "กรมอุตุนิยมวิทยา" ฉบับที่ 6 ฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน มีผลกระทบถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 5 ภาคกลาง-อีสาน-ตะวันออก รับมือฝนถล่มหนักวันพรุ่งนี้
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 5 (มีผลกระทบถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566) ในช่วงวันที่ 27-30 พฤษภาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุฯ อัปเดตพายุไต้ฝุ่น 'มาวาร์' เข้าใกล้ฟิลิปปินส์ ดึงดูดให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "มาวาร์ (MAWAR)" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เเช้าวันนี้ (27/5/66) พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือ
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 เตือนฝนตกหนักมาก 27-30 พ.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 4 (153/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 27
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 3 ฝนถล่มหนัก 27-30 พ.ค. แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 27 - 30 พฤษภาคม 2566)
อุตุฯ เตือนฝนถล่ม 47 จังหวัด ลมกระโชกแรง 27-30 พ.ค. ตกหนักมากขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำ