19 กุมภาพันธ์ 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาถึงประเทศจีนตอนใต้และเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (19 ก.พ. 66) โดยจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงในวันพรุ่งนี้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มขึ้นเนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง
ออกประกาศ 19 กุมภาพันธ์ 2566
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง
อากาศเย็นในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
อากาศเย็นในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
อากาศเย็นในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 19 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลมหนาวกำลังแรงยังมีอีกระลอก 26-28 ม.ค. จากนั้นลมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 20 ม.ค. - 3 ก.พ.68 init. 2025011912 จากศูนย์พยากรณ์อากาศ
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว มีหมอกบางตอนเช้า ใต้ฝนฟ้าคะนอง 20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนบน
อากาศเย็นต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยลมหนาวพัดปกคลุมเสริมลงมาอีก ช่วง 26 -28 ม.ค.68
การพยากรณ์ฝนสะสมรายวันทุกๆ 24 ชม.นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 19 ม.ค. - 2 ก.พ.68
ไทยตอนบนยังหนาวเย็น ข่าวดีภาคใต้ตอนล่างฝนตกลดลง
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ยังหนาวต่อเนื่องถึงปลายเดือน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 17 - 31 ม.ค. 68
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือนใต้ฝนตกหนัก อ่าวไทย-อันดามันคลื่นลมแรง
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 18 มกราคม 2568) ฉบับที่ 7 โดยมีใจความว่า