นายกฯ ประชุมสภากลาโหม ชื่นชมผลงานวิจัยยุทโธปกรณ์ ใช้ได้จริงพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

นายกฯ ควง ผบ. เหล่าทัพชมนิทรรศการอาวุธ ก่อน ประชุมสภา กห. ชื่นชมฝีมือ กห. -ดีทีไอ วิจัยยุทโธปกรณ์ ใช้ได้จริงพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

24 มี.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการประชุมสภากลาโหม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมด้วย ปลักกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ชมบูทนิทรรศการแสดงงานวิจัย พัฒนายุทโธปกรณ์ ที่ห้องสุรศักดิ์มนตรี ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม จัดขึ้นโดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) โดยได้ทำการวิจัย พัฒนา และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สามารถนำมาทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และนำไปใช้งานจริงในกองทัพด้วยราคาที่ต่ำกว่าการจัดซื้อ จากต่างประเทศ โดยพลเอก ประยุทธ์ กล่าวชื่นชมในงานวิจัย ฝีมือคนไทย และขอให้ภูมิใจในหน่วยงานกลาโหม และ DTI ที่มีขีดความสามารถในการ พัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ สามารถ นำไปใช้ได้จริงในเหล่าทัพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างชมงานนิทรรศการพลเอกประยุทธ์ ยังได้ทดลองเล็งปืนเล็กยาวที่มีการวิจัยพัฒนาให้เหมาะสม กับสรีระของทหารไทยปรับปรุงให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา และซ่อมบำรุง ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ได้พัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยของ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ในปี 2563ให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564จนถึงปัจจุบัน และมีแผนนำเข้าประจำการในปี 2567- 2568 หน่วยได้ทำการวิเคราะห์ทางวัสดุศาสตร์และทางวิศวกรรม โดยวัสดุที่ต้องการมีแพร่หลายภายในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถทำการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืนได้ และผ่านกระบวนการวิจัยร่วมกันทั้งสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จนได้ปืนต้นแบบที่มีความยาวลำกล้อง 14.5 นิ้ว และ 20 นิ้ว เข้ารับการทดสอบจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม จำนวน 15 สถานี ทดสอบการยิงในด้านความทนทาน การยิงในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 19-30กรกฎาคม 2565 จนได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลเดียวกับต่างประเทศกำหนด

โดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบสายการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมของเครื่องจักร รวมทั้งทดสอบการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนและดำเนินการผลิต Pilot Lot จำนวน 25กระบอก เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จและความเป็นมาตรฐานระดับสากลในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ สำหรับในขั้นตอนต่อไป ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ จะนำไปประจำการเพื่อใช้ในการรักษาการณ์และการฝึกของหน่วย จำนวน 400กระบอก โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2567- 2568เพื่อให้สามารถรับทราบ FEED BACK จากการใช้งานจริงในระยะยาวและนำมาปรับปรุงต่อไป

การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ที่ขาดแคลน อาทิ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ขาดแคลนชิ้นส่วนปืนซุ่มยิง Ballet 0.50 นิ้ว และ Stoner SR - 25 สป. ได้ร่วมกันแก้ปัญหาโดยผลิตชิ้นส่วนที่ขาดแคลนที่มีมาตรฐาน สามารถทำงานได้อย่างปกติและมีความทนทานสูง และยังคงมีโครงการร่วมกันในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาชิ้นส่วนอาวุธอื่น ๆ ที่มีอยู่ต่อไป

ปืนขนาด 9มิลลิเมตร ทั้งปืนยาวและปืนสั้น โดยเกิดจากการขยายผลจากองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาปืนเล็กยาวขนาด 5.56มิลลิเมตร ขยายสายการผลิตเพื่อสนองตอบต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน กรมป่าไม้ หรือกระทรวงมหาดไทย

ในส่วนของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ได้มีการร่วมทุนกับบริษัทเอกชน และจัดทำ โครงการวิจัยยานเกราะล้อยางแบบ 8x8 “พยัคฆ์ทะเล” ให้กับกองทัพเรือ ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน โดยการวิจัยพัฒนาตอบสนองการใช้งานให้กับนาวิกโยธิน ทั้งนี้ผลงานดังกล่าวได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพเรือแล้ว และปัจจุบันบริษัทได้รับการเชิญเข้าสู่กระบวนการจัดหาของกองทัพเรือในการจัดหายานเกราะลำเลียงพลแบบ 8x8 ในปีงบประมาณ 66ซึ่งในการผลิตมีชิ้นส่วนในประเทศประมาณ 40%

โครงการผลิตอากาศยานไร้คนขับร่วมกับมิตรประเทศ (จีน) เพื่อให้เกิดการต่อยอด องค์ความรู้ โดยมีกองทัพบกเป็นผู้ใช้งาน และจากการวิจัยทำให้ สทป. ได้ต้นแบบอุตสาหกรรมของ อากาศยาน ไร้คนขับ รุ่น DP20 โดยพร้อมส่งมอบให้กองทัพบก ในเดือนเมษายน ๒๕๖๖ และในปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้ทำการวิจัยต่อยอดเพื่อให้ได้อากาศยานไร้คนขับแบบติดอาวุธ ตามดำริของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ รุ่น DP20/A ซึ่งจะสามารถส่งให้กองทัพบกได้ ได้ในปี ๒๕๖๗

สำหรับผลงานวิจัยที่พร้อมจำหน่ายให้กับเหล่าทัพ ประกอบด้วย 1) อากาศยานไร้คนขับ รุ่น D - EYE 01 และ D - EYE 02 เป็นผลงานวิจัยที่เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมพร้อมผลิตและขาย ทั้งนี้ทั้ง ๒ รุ่นได้ผ่านการทดสอบทดลองใช้งานมาในระดับหนึ่งแล้วจาก เหล่าทัพ โดยเฉพาะ D - EYE O2 ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม แล้ว เมื่อปี 2563ทั้ง 2ระบบเป็น UAV มาตรฐานทางทหาร

2) หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD ROBOT) รุ่นหนูนา และ D - EMPRIER เป็นหุ่นยนต์ที่ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้ร่วมวิจัยพัฒนากับสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้รวบรวมความต้องการจากหน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหม เพื่อทำการวิจัยให้ตรงความต้องการของหน่วยใช้จนสามารถตอบสนองความต้องการ และได้ต้นแบบอุตสาหกรรม ทั้ง 2รุ่น รวมทั้งได้ผ่านการรับรองมาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมแล้วเช่นกัน ปัจจุบันสามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตและขายได้แล้ว 1รายการ คือ รุ่นหนูนา โดยมี กรมสรรพาวุธทหารเรือ กองทัพเรือ (สพ.ทร.) เป็นผู้จัดหา และอยู่ในกระบวนการจัดหาอีก 1รายการ คือ D - EMPRIER โดยมี กรมสรรพาวุธทหารอากาศ กองทัพอากาศ เป็นผู้จัดหา

ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้พึ่งพาตนเองได้และมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากล สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติภายใต้บริบท “วิจัย พัฒนา ทดสอบ และปรับปรุงสู่การบรรจุใช้งานจริง ในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการจัดซื้อจากต่างประเทศ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กตู่' ตั้งการ์ดมวยไทยสู้สื่อ หลังถูกถามขอบสนามเลสเตอร์ฯ

นายกตั้งการ์ดสู้สื่อ สะท้อนเอกลักษณ์มวยไทย อีกนัยยะหนึ่งเพื่อสื่อบอกว่า ไม่อยากตอบเรื่องขอบสนามเลสเตอร์เมื่อวาน หลังถูกตื้อถาม

นายกฯ เผยนักลงทุนกังวลจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ลั่นทุกอย่างกำลังไปด้วยดี ระวังอย่าให้เสียหาย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม โดยกล่าว “สวัสดีนะครับสื่อมวลชนที่รักทุกท่าน ทั้งประชาชนที่รับฟังอยู่ทางบ้านด้วยการประชุมครม.

'บิ๊กตู่' ปัดพัลวัน! ไม่ได้รอส้มหล่น ยันเป็นไปตามกติกา

'บิ๊กตู่' ปฏิเสธลั่นไม่ได้รอส้มหล่นทางการเมือง บอกสื่ออย่าตั้งคำถาม 'ถ้า' ชี้ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา วอนอย่ามัวฟังแต่เรื่องวุ่นๆ ภายในประเทศ

'บิ๊กตู่' สั่ง 'คลัง-พลังงาน' หามาตรการรับมือเลิกอุ้มดีเซล

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้รับทราบถึงข้อกังวลของประชาชนและภาคธุรกิจ

นายกฯ ยินดียูเนสโกรับรอง 'คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ' เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์