กรมอุตุฯ เตือน 52 จว. รับมือพายุฝน ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก

30 เม.ย.2566-กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 6 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2566) ระบุว่า ในช่วงวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2566  ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน

โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 30 เมษายน 2566 ภาคเหนือ:  จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:    จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี  ภาคกลาง:  จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และพิษณุโลก ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหน้า ภาคใต้ฝั่งตะวันออก: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พายุฤดูร้อนกระหน่ำบึงกาฬ เครนยักษ์ล้มทับ 3 คนงานเสียชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่จังหวัดบึงกาฬ ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มมาพร้อมกับลมแรงพัดมาจากฝั่งทางทิศตะวันตกนานกว่า 30 นาที โดยภาพบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร บนถนนหลาวงสาย 212 บึงกาฬ-หนองคาย

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 อัปเดตชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม 4-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567)

ระดมกำลังเข้าดับไฟป่า 'ดอยผาผึ้ง' ทั้งคืน ก่อนควบคุมได้ช่วงใกล้เที่ยงคืน

จนท.ระดมกำลังเข้าดับไฟป่าดอยผาผึ้ง เหนือห้วยตึงเฒ่า เชิงดอยสุเทพทั้งคืนก่อนควบคุมได้ช่วงใกล้เที่ยงคืน อุตุเตือนพายุฤดูร้อน

กรมอุตุนิยมฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 3-7 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา โดยนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5

ทั่วไทยยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป