3 พ.ค.2567 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 6 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567) ในช่วงวันที่ 3–5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
วันที่ 4 พฤษภาคม 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
วันที่ 5 - 6 พฤษภาคม 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 7 พฤษภาคม 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า มวลอากาศเย็นอ่อนกำลัง ตั้งแต่ 23 มี.ค. รับมือพายุฤดูร้อน
กรมอุคุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า
อุตุฯ เตือน 'เหนือ-อีสาน' อากาศเย็นลมแรง ใต้ฝนตกหนัก คลื่นสูง 3 เมตร
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลงกับมีลมแรง
ทั่วไทยยังได้อิทธิพลจากมวลอากาศเย็นซ้ำบางพื้นที่เจอฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
มวลอากาศเย็นกลับมา! ทั่วไทยอุณหภูมิลด 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
พายุถล่มกาญจนบุรี กุฎิเก่า 70 ปี 'วัดโพธิ์เลี้ยว' พังครืนเสียหายทั้งหลัง
เกิดเหตุพายุฤดูร้อนพัดถล่มในพื้นที่ ต.วังศาลา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ส่งผลให้ลมกระโชกแรงจนกุฎิที่พักสงฆ์ของ หลวงพ่อกริ่ง จินดากูล แห่ง วัดโพธิ์ศรีสุขาราม (วัดโพธิ์เลี้ยว) ซึ่งมีอายุกว่า 70 ปี พังถล่มลงทั้งหลัง เคราะห์ดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่มูลค่าความเสียหายคาดว่าไม่ต่ำกว่า 3
อุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับ 8 เตือน 22 จังหวัดรับมือพายุฤดูร้อน
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ลงนามในประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง