แนะจุดสังเกตแอปเงินกู้ แบบไหนนอกระบบ-ปลอม

27 พ.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันบริการทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์มีความหลากหลาย โดยเฉพาะการให้สินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน ผู้ใช้บริการก็ให้ความนิยมเนื่องจากมีความสะดวกสบาย แต่ก็กลายเป็นช่องให้มิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวง ฉกฉวยเอารัดเอาเปรียบประชาชน มีตัวอย่างให้เห็นในข่าวตามสื่ออยู่เป็นระยะ

เมื่อเร็วๆ นี้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือแบงก์ชาติ จึงได้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสังเกตแอปพลิเคชันเงินกู้ว่าลักษณะแบบไหนเป็นแอปฯ ที่อยู่ในระบบได้รับการกำกับโดยแบงก์ชาติ แบบไหนเป็นแอปฯ เงินกู้นอกระบบ หรือลักษณะใดเป็นแอปฯ ปลอม เพื่อเป็นความรู้ป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกหลอกจากมิจฉาชีพ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กรณีแอปฯ เงินกู้ที่ถูกกฎหมาย จะต้องเป็นแอปฯของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นสถาบันการเงิน 39 แห่ง และที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 120 แห่ง โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของ ธปท. หรือเข้าไปที่ https://bit.ly/3OG6vb7_BOT_license-loan

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจะถูกกำกับโดยกฎหมายที่เข้มงวด จ่ายเงินกู้ให้เต็มจำนวนตามกู้ และคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่กำกฎหมายกำหนด คือสินเชื่อส่วนบุคคลต้องคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (นาโน ไฟแนนซ์) ไม่เกินร้อยละ 33 ต่อปี บัตรเครดิตไม่เกินร้อยละ 16 ต่อปี โดยสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการให้สินเชื่อแต่ละรายได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท. https://app.bot.or.th/1213/MCPD/ProductApp/PersonalLoan

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หากมีผู้มาเสนอให้บริการสินเชื่อผ่านแอปฯ ขอให้สนใจจะกู้เงินตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตตามช่องทางข้างต้นก่อน หากตรวจแล้วไม่พบชื่อ หรือมีชื่อแต่ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอไม่ตรงกับที่แจ้งไว้กับ ธปท. ขอ ให้คาดการณ์ไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพที่เป็นไปได้ทั้งแอปฯเงินกู้นอกระบบ หรือแอปฯ ปลอม

โดยกรณีแอปฯ เงินกู้นอกระบบจะมีลักษณะให้เงินกู้ไม่เต็มจำนวนตามกู้ เช่นอ้างว่าหักเป็นค่าดำเนินการ หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า แต่ผู้กู้ยังต้องชำระเต็มจำนวน มีการคิดดอกเบี้ย/ค่าปรับสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมาก ระยะเวลาการชำระคืนสั้น มีการทวงหนี้แบบข่มขู่ คุกคาม ซึ่งกรณีที่พบบ่อยคือเมื่อติดตั้งแอปพลิเคชันลงโทรศัพท์มือถือแล้ว ผู้ปล่อยกู้จะสามารถเข้าถึงรายชื่อในโทรศัพท์ของผู้กู้ จะมีการส่งข้อความ หรือโทรหาบุคคลต่างๆ ตามรายชื่อในโทรศัพท์เพื่อข่มขู่ ประจานให้ผู้กู้อับอาย เป็นต้น

ส่วนถ้าเป็นแอปฯ เงินกู้ปลอม จะหลอกให้โอนเงินเป็นค่าใช้จ่ายก่อน เช่น ค่าค้ำประกัน ค่าทำสัญญา แล้วให้โอนอีกเรื่อยๆ แต่สุดท้ายไม่ได้ให้กู้จริง

“ภาครัฐมีการปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการทำงาน เร่งรัดกวาดล้างมิจฉาชีพที่แพร่ระบาดในช่องทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก แต่การแจ้งเตือนให้ประชาชนให้ระมัดระวัง เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพ รู้วิธีหรือจุดสังเกตเปรียบเทียบได้บริการทางการเงินในช่องทางออนไลน์ จะเป็นการป้องกันที่สำคัญและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้มาก” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกมหาดไทยเตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จกำหนดสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น

โฆษกมหาดไทยเตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จกำหนดสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น เผยกระบวนการสอบข้อเท็จจริงการทุจริตยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่มีการลงนามกับมหาวิทยาลัยผู้จัดสอบ ย้ำ! ขอให้รอประกาศทางการจาก สถ.อีกครั้ง

‘มท.1’ จ่อชง ครม. ไฟเขียว พรก.เว้นความผิดอาญาผู้นำส่งปืนเถื่อนให้ทางการ

โฆษกมหาดไทย เผยความคืบหน้า พ.ร.ก.เว้นความผิดอาญาผู้นำส่งปืนเถื่อนให้ทางการ มท.1 ลงนามแล้ว พร้อม ส่ง ครม. ไฟเขียว

'อนุทิน' ติดตามสถานการณ์ฝุ่นใกล้ชิด ประเมินผลงานทุกจังหวัด สั่ง ปภ. บูรณาการทุกฝ่าย เร่งเดินหน้า 6 มาตรการควบคุม

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังเป็นเรื่องสำคัญ ที่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยหลายจังหวัดสถานการณ์คลี่คลาย แต่ในบางจังหวัด ค่าฝุ่นยังเกินมาตรฐาน

มท.1 สั่งผู้ว่าฯ คุมเข้มต้นตอฝุ่น PM2.5 'ปภ.' ร่อนหนังสือแจ้งแนวปฏิบัติ

'อนุทิน' กำชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ลงพื้นที่สอดส่อง พร้อมสั่งเข้มกิจกรรมต้นตอฝุ่น PM2.5 ปภ. ร่อนหนังสือด่วนวางหลักปฏิบัติให้ทุกจังหวัด

มหาดไทยชง ครม. เคาะเปิดทางใช้ประโยชน์ป่าชายเลน

มหาดไทยชง ครม. เคาะเปิดทางใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เดินหน้าก่อสร้างสะพานถาวรในเกาะพยาม จ.ระนอง เหลือรอความเห็นหน่วยงานเกี่ยวข้องคาดตอบกลับเร็วๆนี้ มท.1 มั่นใจโครงการช่วยดูแลความปลอดภัยประชาชนในระยะยาว หนุนท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล