อุตุฯ ประกาศฉบับ 8 เตือนฝนถล่มลมแรง 45 จังหวัด

29 พ.ค. 2566 – ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 8 (มีผลกระทบถึง 30 พฤษภาคม 2566) โดยมีใจความว่า

ในช่วงวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่างและประเทศกัมพูชา โดยมีแนวโน้มจะเคลื่อนลงสู่อ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโซกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำบำไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบศีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดตาก และกำแพงเพชร

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2566

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 12 เตือนพื้นที่เสี่ยงอันตรายฝนตกหนักถึงหนักมากใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ฉบับที่ 12 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ

ทั่วไทยเจอฝนกระหน่ำต่อเนื่อง 60-80% ของพื้นที่

กรมอุตุฯ ประเมินอกาศวันนี้ ทั่วไทยยังฉ่ำฝนหลายพื้นที่เจอตกหนักมากและสะสม ระหวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ภาคใต้คลื่นสูงกว่า 3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 8 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมภาคอีสาน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง" ฉบับที่ 8 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศลาว ขณะที่ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่

'นครพนม' ดีเปรสชั่นมาตามนัด ระดมเดินเครื่องสูบน้ำรับมือ ผันลงน้ำโขงกันท่วมเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดนครพนม รวม 12 อำเภอ

กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันอ่อนกำลังลง แต่ 45 จังหวัด รับมือฝนตกหนัก น้ำท่วม

กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.6 พายุดีเปรสชันอ่อนกำลังลงแล้ว เตือน 26-29 ก.ย. ไทยฝนตกหนัก-หนักมาก ลมกระโชกแรง เช็กจังหวัดเตรียมรับมือ กทม.ก็ไม่รอด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุฯ เตือนทั่วทุกภาค รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก