อุตุเตือนฝนตกหนักหลายพื้นที่ชี้ ‘ภาคตะวันออก’ เฝ้าระวังน้ำท่วม

11 มิ.ย. 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 11 มิ.ย. 66

ออกประกาศ 11 มิถุนายน 2566

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย

06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร 
นครพนม ชัยภูมิ มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ตอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนอากาศร้อนจัดต่อเนื่อง สัญญาณฝนเริ่มมา 3-6 พ.ค. จะมีพายุฤดูร้อน

เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า อากาศยังร้อนและร้อนจัด ต่อเนื่องโอกาสเกิดฝนยังมีน้อย

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าฤดูฝนปี 2567 จะมาช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดฤดูฝนปี 2567 จะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม 2567 ช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์

อุตุฯ เตือนพระอาทิตย์ตั้งฉาก ร้อนระอุส่อทุบสถิติ!

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อุตุฯ เตือนร้อนจัด ทะลุ 43 องศา ฝนฟ้าคะนอง ลมแรง 39 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด