สิทธิบัตรทองเฮ! ทะเบียนบ้านอยู่ตจว. มาทำงาน-เรียนในกทม. ย้ายสิทธิได้

รบ. แนะ ผู้มีสิทธิบัตรทอง อาศัยทำงาน-เรียนหนังสือใน กทม. แต่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด สามารถย้ายสิทธิมาเมืองกรุงได้ ทำง่ายผ่าน 4 ช่องทาง ‘สปสช.-กทม.’ จับมือโรงพยาบาลเอกชนขยายศักยภาพรับการส่งต่อผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเร็ว

10 ก.ค.2566-น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองว่า ปัจจุบันยังคงมีประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองจำนวนมากที่เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ เพื่อทำงานหรือเรียนหนังสือโดยไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาด้วย ทำให้ยังมีข้อจำกัดในการรับการรักษาพยาบาล คือแม้จะสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิได้ทุกแห่ง แต่หากเจ็บป่วยเกินศักยภาพหน่วยบริการและต้องส่งต่อยังต้องติดต่อกลับไปยังสถานพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลตามสิทธิในต่างจังหวัด

แนวทางที่จะทำให้ผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงบริการได้สะดวกที่สุดคือการย้ายสิทธิรักษาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรุงเทพมหานครได้เชิญชวนผู้อาศัยในกรุงเทพฯ แต่สิทธิบัตรทองอยู่ที่ต่างจังหวัดหรือเรียกว่ากลุ่มประชากรแฝง ทำการย้ายสิทธิให้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยลงทะเบียนกับหน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำ ใกล้ที่ทำงาน ที่เรียน หรือที่พักอาศัย โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน โดย สปสช.และกรุงเทพมหานคร ได้เตรียมเครือข่ายหน่วยบริการรองรับการเข้ามาลงทะเบียนของกลุ่มประชากรแฝงที่คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 700,000 คน ทั้งส่วนของคลินิกชุมชนอบอุ่นเกือบ 300 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งทั้ง 50 เขต

พร้อมกันนี้เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดของศักยภาพโรงพยาบาลในระบบรับส่งต่อ สปสช.และกรุงเทพมหานคร ได้ทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกระบบส่งต่อเข้ามาร่วมเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมแล้ว 17 แห่ง

สำหรับการย้ายสิทธิบัตรทองจากต่างจังหวัดมาที่ กทม. นั้นสามารถทำได้ง่ายผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1)แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ 2)ไลน์ OA สปสช. (พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso ในช่องเพิ่มเพื่อน) เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง 3)ติดต่อด้วยตนเอง ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันเวลาราชการ 4)โทรสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้

ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ดำเนินการย้ายสิทธิบัตรทองนั้นใช้เพียงบัตรประชาชนตัวจริงใบเดียว และหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดที่แสดงถึงการอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ดังนี้ 1)หนังสือรับรองของเจ้าของบ้าน 2)หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน 3.หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง 4. เอกสารหรือหลักฐานที่มีชื่อของผู้ประสงค์ลงทะเบียน เช่น ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก หรือ 5.ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนทำหนังสือรับรองตนเองได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มท.1 ขีดเส้น 15 วัน สอบข้อเท็จจริง-รายงานผลสรุปปมอื้อฉาว 'รองผู้ว่าฯยะลา'

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวทั้งในสื่อสาธารณะ และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของข้าราชการของกระทรวงมหาดไทยระดับรองผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

สมชัย ชี้ปรับ ครม. ‘รัฐบาล’ ขาดทุนมากขึ้น  หน้าตาคนมาใหม่หลายคน ปชช.ส่ายหน้า

ปรับ ครม.ครั้งนี้ จึงดูเหมือนรัฐบาลจะขาดทุนมากขึ้น  เพราะหน้าตาคนมาใหม่หลายคนประชาชนก็ส่ายหน้า  ยิ่งปานปรีย์ลาออกอีก ยิ่งเสียโอกาสได้คนเก่งและทุ่มเทมาอยู่ใน ครม.

'แพทย์ชนบท' แฉเบื้องลึก! ทำไม 'หมอชลน่าน' หลุดเก้าอี้

เพจ "ชมรมแพทย์ชนบท" โพสต์ข้อความว่า ชมรมแพทย์ชนบท ขอขอบคุณ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ที่ผ่านมา

ดร.รัชดา เชื่อถ้าใช้หลักตอบแทนนายใหญ่ ’นพดล’ เสียบเก้าอี้ ‘ปานปรีย์’ แน่

ดร.รัชดา อยากรู้รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของรัฐบาลนี้จะเป็นใคร คนที่จะต้องเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ สถานการณ์การเมืองในประเทศเพื่อนบ้านและการเมืองโลกตอนนี้