ใคร? คือ 'คนจน'ประเทศไทย(ตอน1)

ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ถูกจัดให้เป็นประเทศมีรายได้ปานกลางมาหลายปี  ในประชากรเกือบ 70 ล้านคนในปัจจุบัน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ประชากรไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของปี 2563 จำนวน 234,000 บาท/ปี หรือคิดเฉลี่ยต่อหัวประมาณ 18,820 บาท /เดือน  

แต่ในความเป็นจริง ยังมีคนไทยจำนวนมากที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 18,820 บาท/เดือน  คนเหล่านี้ อาจเรียกได้ว่าเป็น”คนจน”   ที่ผ่านมา รัฐบาลเข้ามาดูแลคนที่มีรายได้น้อย  โดยการให้ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  มอบเงินช่วยเหลือเดือนละประมาณ 1,800 บาท ซึ่งมีผู้ขึ้นทะเบียน”บัตรคนจนไปแล้ว  13.56 ล้านคน  และปีหน้าจะขยายเป็น 15 ล้านคน  แต่ต้องยอมรับว่า ยังมีคนไทยอีกจำนวนมาก ที่เข้าไม่ถึง บัตรคนจน  อาจจะด้วยเหตุผลหลายประการ

ในช่วงเกิดวิกฤตโควิด 19   ที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก ทั้งในแง่สุขภาพและเศรษฐกิจ รวมทั้งคนไทย บางคนต้องสูญเสียงาน  สูญเสียรายได้   ที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ก็จนหนักและลำบากมากขึ้น  ทำให้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)โดย”หน่วยบริการและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่( บพท. )”ซึ่งมีหน้าที่ทำวิจัยในระดับพื้นที่  และหนึ่งในเป้าหมายการวิจัยก็คือ การวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  ซึ่งกลุ่มคนจน อยู่ในหนึ่งชองเป้าหมาย   3กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนจนและครัวเรือนยากจน 2.กลุ่มอาชีพ และ3.กลุ่มชุมชน  

เริ่มแรกการทำวิจัยเรื่องคนจน มบพ.ได้ตั้งโจทย์อันดับแรกไว้ที่  การหาจำนวน”คนจน”ในประเทศไทยจริงๆว่ามีเท่าไหร่    มีใครบ้างที่ตกหล่นจากระบบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ    โดยเริ่มค้นหาจากพื้นที่ 10 จังหวัด และต่อมาขยายมาเป็น 20 จังหวัด   แบ่งตามภาคดังนี้  ภาคเหนือ 3จังหวัด  แม่ฮ่องสอน ลำปาง พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  12 จังหวัด อำนาจเจริญ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ  สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด เลย ภาคกลาง 1จังหวัด คือ ชัยนาท และภาคใต้ 4จังหวัด ปัตตานี พัทลุง ยะลา  นราธิวาส  ส่วนการเก็บข้อมูลได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ต่างๆ

จุดมุ่งหมายค้นหาคนจน ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้ตัวเลขเท่านั้น แต่เป้าหมายที่แท้จริง คือ การขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปจากประเทศไทย  ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผอ.บพท.กล่าวถึงการวิจัย เกี่ยวกับคนจนว่า  ในต่างประเทศจะใช้ข้อมูลการวิจัยนำร่องเชิงโครงสร้าง และนำข้อมูลระดับพื้นที่ ไปวางแผนการพัฒนาประเทศ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน  ซึ่งบทบาทหลักของบพท.คือการทำวิจัยเชิงพื้นที่อยู่แล้ว และยุทธศาสตร์ 2-3 เรื่องที่ทำคือ แพลตฟอร์มขจัดความยากจน ซึ่งได้ศึกษาโมเดลจากประเทศจีน และผลงานของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล  ที่ต่างเห็นตรงกันว่า การขจัดความยากจนให้ได้น้น  วิธีการที่ได้ผลที่สุด คือ การต้องเข้าไปช่วยเหลือแบบถึงตัวคนจน หรือช่วยแบบไดเร็ก   และประเทศไทยเอง ก็มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงความช่วยเหลือ เช่น ในเรื่องการศึกษา เรามีงบฯการศึกษาปีละหลายแสนล้าน  แต่กว่าเงินจะเข้าถึงตัวเด็กได้ ก็เหลือไม่เท่าไหร่ และจากการศึกษาโมเดลของจีน ซึ่งจีนใช้เวลา 4-5เดือน ในการสำรวจหาว่ามีคนจนอยู่ที่ไหนบ้าง และจนจากสาเหตุอะไร หลังจากนั้น จึงออกแบบความช่วยเหลือให้หายจน


จากการสำรวจค้นหาคนจน ทำให้จีน ได้ข้อมูลระดับบิ๊กดาค้า  และเมื่อเจอคนจนแล้ว ได้มีการออกแบบBusiness model  ให้ทำการผลิตในพื้นที่ แล้วเอาคนจนไปอยู่ สร้างชุมชน  โดยจีนทำเรื่องนี้ เป็นกลไกระดับชาติ และจัดระบบมอนิเตอร์ ดูแลหลังการเข้าไปช่วยเหลือ เป็นระบบ  1ข้าราชการ1 ครัวเรือน  เพื่อให้เกิดพัฒนาการดูแลปัญหาจนกว่าครอบครัวจะดีขึ้น

กลับมาที่ไทย ดร.กิตติ กล่าวว่า ในปี 2563 บพท.จึงคิดแพลตฟอร์ม สำรวจหา”คนจน ” เบื้องต้นสำรวจ โดยดูตัวเลขจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ที่จัดทำข้อมูลร่วมกัน  และดูชุดข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนจนของรัฐ  

หลังจากสำรวจตัวเลข พบว่าตัวเลข Thai Poverty Map ( TP Map )ที่สภาพัฒน์ ทำไว้ เป็นข้อมูลระดับบน ไม่ใช่ในระดับพื้นที่  โดยTP Map  มีการรายงานตัวเลขในปี62 ว่ามีคนจนจำนวน 9.8แสนคน ขณะที่ ข้อมูลของ จปฐ.รายงานว่ามี  10กว่าล้านคน นอกจากนี้  ยังเข้าไปดูตัวเลขจาก  ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.)ซึ่งเป็นกลไกแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล โดยรัฐบาลสั่งการให้ทุกจังหวัดมีศูนย์นี้  แต่พบว่าศูนย์ดังกล่าวใช้ข้อมูลของ TPMAP

จากนั้น จึงคิดว่าตัวเลขของสภาพัฒน์ ฯ และจปฐ. อาจยังไม่สะท้อนจำนวนคนจน ที่แท้จริง การลงพื้นที่ทำการสำรวจเท่านั้น ที่จะได้ข้อมูลจริง จึงได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่  ช่วยลงมือสำรวจ 10 จังหวัด   ซึ่งพบว่า มีคนจนมากกว่าตัวเลข TPMAP รายงาน โดย TPMAP รายงาน 10 จังหวัดมีคนจน 1.3 แสน แต่พอไปสำรวจเจอจริงๆ 4.5แสน  มากกว่าที่TPMAP รายงาน 4เท่า  

ครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ ที่แสดงข้อมูลเป็น dashboard แบบ real time  ที่สามารถชี้เป้าคนจนในพื้นที่รายครัวเรือน  ซึ่งเป็นผลจากการค้นหาและสอบทาน คนจนและครัวเรือนยากจน รวมทั้งสิ้น 131,826 ครัวเรือน หรือ 602,774 คน เพิ่มเติม (add on) จากตัวเลขเป้าหมาย 20 จังหวัดนำร่องในฐานข้อมูล TPMAP ที่ระบุไว้คือ 239,100 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ย. 2564)

ตอนหลังมีข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช).อีกจำนวน 9,877 ครัวเรือน  (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พ.ค. 2564)  ปัญหาในมิติทางด้านการศึกษา  ส่งต่อข้อมูลเด็กและเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่อยู่ใน-นอกระบบการศึกษา ให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 97,745 คน  (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ส.ค. 2564)

“ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเรียลไทม์ ทำให้หลังจากนั้น บพท.จึงร่วมมือกับ ศจพ. โดยเอาตัวเลขของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)มาช่วยประกอบ แล้วลงพื้นที่ไปสำรวจค้นหาอย่างจริงจังอีก  โดยพบว่าคนจนบางคนไม่อยู่ในระบบสวัสดิการของรัฐ  ซึ่งมีเหตุผลหลายประการ ทั้งมาจากการการที่รัฐเข้าไม่ถึงคนกลุ่มนี้ และคนกลุ่มนี้ก็เข้าไปถึงระบบการช่วยเหลือของรัฐด้วยเช่นกัน”ดร.กิตติกล่าว

หลักเกณฑ์การค้นหาคนจน  ดร.กิตติ บอกว่า ตอนแรกใช้เกณฑ์ขีดเส้นที่รายได้  ต่อมาพบว่าใช้เกณฑ์นี้เกณฑ์เดียวไม่ได้ เพราะพบว่าคนไทยมี Informal sector  หรือการแยกย่อยกิจกรรมในชีวิตที่ไม่เป็นทางการเยอะมาก  การค้นหาต้องเข้าไปดูสภาพชีวิตความเป็นอยู่จริงๆ  จึงเป็นที่มาของเกณฑ์วัด 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ, ด้านความเป็นอยู่, ด้านการศึกษา, ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ  
ถ้าพบว่าคนไหนเข้าเกณฑ์ยากจน ก็ยังจำแนกสถานภาพออกเป็น 4 ระดับ คือ อยู่ลำบาก, อยู่ยาก, พออยู่ได้, อยู่ได้   หรือแยกออกรวมเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่  20% ล่าง เป็นคนจนยากไร้ และ 20% บน เป็นกลุ่มคนจนเข้าไม่ถึงโอกาส มีหนี้สินมากมาย

“งานวิจัยที่เราทำ เราหวังว่าจะเป็นการช่วยคนจนในมิติความยั่งยืน   ผมต้องบอกว่าความยากจนมี 2 มิติ คือ มิติจนจากข้างใน ถึงขั้นไม่มีเงินซื้อปัจจัยพื้นฐาน คน เช่นที่จังหวัดลำปาง ที่เราไปสำรวจพบครอบครัวหนึ่งจนมาก แต่คนข้างบ้านไม่รู้ว่าเขาเป็นอยู่ยังไง  เช่น ยาสีฟันหลอดเดียวเขาใช้  2 ปี หรือบางครอบครัว ลูกสาว 3 คน ไม่เคยมีเงินซื้อผ้าอนามัยใช้เลย พวกนี้ เป็นจนดักดาน จนซ้ำซาก จะส่งต่อมรดกความยากจนจากรุ่นสู่รุ่น  หรือคนจนอีกแบบมีไร่ มีนา สวนยาง ก็จริงแต่ก็ยังยากจน และคนจนอีกประเภท มาจากการใช้ชีวิต คือ ติดการพนัน ติดเหล้า ซึ่งเราจะแก้ปัญหาให้พวกเขาอย่างไร  “

นอกจาก ค้นหาแล้ว “การสอบทาน”  ก็เป็นขั้นตอนสำคัญ   ไม่ใช่ว่าเจอว่าคนโน้นคนนี้จนแล้ว จบ  แต่หลังจากนั้น จะมีการส่งต่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งส่งไปแล้ว จำนวน 15,696 ครัวเรือน และ 46,190 คน   เช่นถ้าเป็นปัญหาด้านสุขภาพ  ตอนนี้อยู่ระหว่างประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือกับมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ส่งต่อให้กับพม.จังหวัด  พอช.  หรือพวกองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ  หรือ สภาองค์กรชุมชน รวมจำนวน 15,696 ครัวเรือน และ 46,190 คน ซึ่งเรามีเป้าหมายช่วยเหลือ กลุ่มคนจน 20% บน เป็นพวกที่เข้าไม่ถึงโอกาส มีหนี้สิน และคนจนเปราะบางที่พร้อมจะจน  

” บพท.หวังว่า ต่อไปจะเกิด “โมเดลแก้จน”  ซึ่งเป็นกลไกการนำคนจนเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่คุณค่า   ซึ่งต่างจากโครงการพัฒนาของภาครัฐ  จีนมี Business modelช่วยเหลือครัวเรือนยากจน  เราก็อยากให้มีBusiness model แบบนี้บ้าง ให้คนจนเข้าไปอยู่ในระบบเศรษฐกิจ  ให้เขาสามารถผลิต มีรายได้สม่ำเสมอ มันจะต่างไปจาก โครงการช่วยเหลือของรัฐที่เราเห็นๆกัน เช่น โครงการส่งเสริมอาชีพ อย่างสมาร์ทฟาร์มเมอร์  ที่ช่วยเหลือแต่เกษตรกรรายย่อย แต่โครงการพวกนี้   ถ้าเข้าไปดูจริงๆ จะพบว่า ไม่มีครัวเรือนที่ยากจนจริง ๆ คนกลุ่มนี้ ยังเข้าไม่ถึงโครงการช่วยเหลือแบบนี้  “ดร.กิตติกล่าว


(พรุ่งนี้ มีต่อตอนที่ 2)
————————–

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ศุภมาส’ ยัน ไม่ได้หนีอุเทนถวาย หลังมีคำสั่งให้ ขรก. เวิร์คฟรอมโฮม

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวก่อนการป

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'วันนักประดิษฐ์'

2 ก.พ.2567 - เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2567 และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ