ไทยยังเจอฝนทั่วทุกภาค กทม. ตะวันออก ใต้ รับมือฝนตกหนัก

15 ต.ค. 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนล่างเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ออกประกาศ 15 ตุลาคม 2566

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์
กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น และชัยภูมิ
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา
สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่พังงา ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ภูเก็ต ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พายุฤดูร้อนกระหน่ำบึงกาฬ เครนยักษ์ล้มทับ 3 คนงานเสียชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่จังหวัดบึงกาฬ ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มมาพร้อมกับลมแรงพัดมาจากฝั่งทางทิศตะวันตกนานกว่า 30 นาที โดยภาพบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร บนถนนหลาวงสาย 212 บึงกาฬ-หนองคาย

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 อัปเดตชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม 4-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567)

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ต้น พ.ค. ฝนเพิ่มเริ่มคลายร้อนบ้าง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 29 เม.ย. - 8 พ.ค. 67

อุตุฯ เตือนร้อนจัด ทะลุ 44 องศา บางพื้นที่ฝนฟ้าคะนอง ลมแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด