อุตุฯ พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า ช่วงเปลี่ยนฤดูฝนสู่หนาว

23 ต.ค. 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 23 ต.ค.- 1 พ.ย.66 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

วันนี้ (23 ต.ค.66) มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) กำลังปานกลาง ยังแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวเริ่มพัดปกคลุม อากาศเริ่มเย็นลงในตอนเช้า ฝนภาคอีสานน้อยลง ยังมีอยู่บ้างบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล ช่วงวันหยุดยาวเดินทางท่องเที่ยว มีโอกาสได้สัมผัสทะเลหมอก ตามยอดภู ยอดดอย บริเวณทางตอนบนของภาคเหนือ ภาคอีสาน ขอให้ระมัดระวังการเดินทางสัญจรและรักษาสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

ส่วนภาคใต้และในอ่าวไทย ยังมีฝนและตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไวด้วย คลื่นลมกำลังอ่อนถึงปานกลาง ระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ส่วนช่วง 24 – 28 ต.ค. 66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสาน มีกำลังอ่อนลงบ้าง ทำให้มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ (ในระดับกลางๆ) พัดแทรกเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ความชื้นสูง ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว) ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลง และมีฝนปนกับอากาศเย็น ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เมฆมาก ความชื้นสูงในระยะนี้ เกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องระวัง อาจได้รับความเสียหายได้

ส่วน 29 ต.ค. – 1 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็นจะเริ่มแผ่ลงมาอีกระลอก ลมหนาวจะเริ่มกลับมาพัดอีกครั้ง สัญญาณการเริ่มต้นฤดูหนาวเริ่มชัดขึ้น ภาคอีสานอากาศเย็นลง ส่วนภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุ เตือนฉบับ 12 เปิดชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่มใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 12 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)

นายกฯ ปลื้ม! คนร้อยเอ็ดเชียร์นั่ง 2 สมัย 'พระอาจารย์ต้อม' มอบของขลัง

'เศรษฐา' ลุยต่อร้อยเอ็ด กราบนมัสการ 'พระอาจารย์ต้อม' ให้พรประสบความสำเร็จ มอบพระเครื่อง 'เสาร์ 5 ร้ายกลับดี' รับปากเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม - ยาเสพติด ขณะชาวบ้านเชียร์นั่งนายกฯ 2 สมัย

กทม. เตือนค่าดัชนีความร้อนอยู่เกณฑ์ ‘อันตราย’ ลดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) อยู่ในเกณฑ์ 'อันตราย' คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ประชาชนทั่วไป ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 52 จังหวัด

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 11 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนร้อนจัด 42 องศา พายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ลูกเห็บตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

เตรียมใจยังร้อนกันอีกยาว 'เอลนีโญ'ส่อหวนกลับมาเร็ว

จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ปรากฏการณ์ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์เอนโซ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) และลมมรสุม (Monsoon) นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรว