'ซูเปอร์โพล' ชี้ประชาชนเชื่อมั่น 'แจกเงินดิจิทัล' กระตุ้นเศรษฐกิจ

30 ต.ค. 2566 – ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า ในฐานะผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่เป็นอีกบทบาทหนึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายตำรวจแห่งชาติดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่ศึกษาข้อมูลสำรวจความเห็นของประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจะแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท พบว่า มีความจำเป็นที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในการยอมรับนโยบายแจกเงินดิจิทัลนี้ไปใช้อย่างปลอดภัยและเต็มเม็ดเต็มหน่วยเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล จึงได้ทำการศึกษา เงินดิจิทัลในความปลอดภัยของประชาชนบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 2,123 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 – 28 ตุลาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจครอบคลุมทั่วประเทศจากนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบว่า ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนสูงถึงร้อยละ 71.0 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 29.0 แต่เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนให้รัฐบาลลงทุนระหว่างความมั่นคงของชาติ กับ การแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล พบว่า ใกล้เคียงกันในสามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 35.5 สนับสนุนการลงทุนด้านความมั่นคงของชาติ ร้อยละ 31.2 สนับสนุนด้านการแจกเงินดิจิทัล และร้อยละ 33.3 ไม่มีความเห็น

เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์เคยถูกคุกคามไม่ปลอดภัยทางออนไลน์ พบประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 เคยเจอภัยคุกคามทางออนไลน์ค่อนข้างมาก ร้อยละ 35.2 ระบุปานกลาง และร้อยละ 8.9 ระบุค่อนข้างน้อยถึงไม่เคยเลย อย่างไรก็ตาม ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.6 หวาดกลัวค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่ออาชญกรรมทางออนไลน์ ร้อยละ 35.3 ปานกลาง และร้อยละ 14.1 ค่อนข้างน้อยถึงไม่เลย

ผศ.ดร.นพดล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะมีค่าความเชื่อมั่นสูงเกินกว่า 70 ขึ้นไป แต่ในบริบทของความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมากในขณะนี้ จึงจำเป็นต้องออกแบบวางระบบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างรอบด้านทุกมิติของนโยบายสำคัญของรัฐบาลนี้

“การใช้ระบบเทคโนโลยีแจกเงินดิจิทัลที่รัฐบาลเคยประกาศไว้ว่าจะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ โดยมีข้อดีอย่างน้อย 3 มิติคือ ความปลอดภัย ความโปร่งใส และความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพราะเทคโนโลยีบล็อกเชนมีการลงรหัสแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ยากต่อการโจรกรรมและมีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลเห็นหมดใครทำอะไรในระบบนั้นและจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมตรงที่การต่อยอดกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและข้อมูลภายในระบบเทคโนโลยีแจกเงินดิจิทัลที่ได้จะนำมาออกแบบวางแผนสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ การเกาะติดพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ข้อมูลด้านวินัยการเงินของประชาชน ที่จะให้ความแม่นยำแบบกึ่งใกล้เรียลไทม์และสามารถพยากรณ์วางแผนทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลได้มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์สูง” ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล ระบุ

อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ความไม่ปลอดภัยนอกระบบบล็อกเชน เพราะประชาชนทำธุระกรรมอื่น ๆ นอกระบบเทคโนโลยีเงินดิจิทัลจำนวนมากเป็นธุระกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบบล็อกเชนและข้อมูลส่วนตัวของประชาชนอยู่ในมือถือของประชาชนที่ง่ายต่อการถูกโจรกรรมทั้งข้อมูลส่วนตัว เลขบัตรประชาชน เลขที่บัญชีธนาคาร และข้อมูลละเอียดอ่อนอื่น ๆ ของประชาชน ดังนั้นทางออกมีอยู่อย่างน้อย 3 แนวทางได้แก่

1.รัฐบาลควรโอนความเสี่ยงอันตรายทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนไปอยู่กับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงินการธนาคาร และภาคเอกชน ผู้ประกอบการต่าง ๆ เพราะมีศักยภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากกว่าประชาชนชาวบ้านทั่วไปผ่านช่องทางการเข้าถึงการแจกเงินดิจิทัลที่หลากหลาย เช่น ใช้บัตรประชาชนใบเดียวพร้อมมีรหัสประจำบัตร ใช้สมาร์ทโฟนและใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีอื่น ๆ โดยแนวทางนี้จะช่วยลดอันตรายทางไซเบอร์จากพวกมิจฉาชีพออนไลน์ ช่วยลดภาระของชาวบ้านที่ต้องหาเงินซื้อสมาร์ทโฟน แต่แนวทางนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเทคโนโลยีตามแนวชายแดนจำนวนกว่า 6 ล้านคนให้สามารถเข้าถึงการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลและได้รับประโยชน์จากนโยบายแจกเงินดิจิทัลนี้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยและยั่งยืน

2.รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานกลางของรัฐบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบทางไกลให้ประชาชนที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายราคาถูกหรือบริการฟรีแต่ปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนต่าง ๆ

3.รัฐบาลควรใช้งบประมาณส่วนหนึ่งด้านการศึกษาและการสื่อสารความปลอดภัยทางไซเบอร์ในการเสริมสร้างความรู้เท่าทัน ความตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เพราะวันนี้ประชาชนชาวบ้านมีความกังวลและหวาดกลัวต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เด็กเศรษฐา’ ข้องใจ ‘ปานปรีย์’ ลาออกหลังมีพระบรมโองการ ชี้ไม่เคยมีใครทำ

ตกใจกับการตัดสินใจ ที่เกิดขึ้นหลังมีพระบรมราชโองการฯ ซึ่งไม่เคยมีใครกระทำแบบนี้มาก่อน เพราะมันไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธตำแหน่งเพียงอย่างเดียว

เปิดใจ ‘ปานปรีย์’ ละเอียดยิบ เหตุยื่นหนังสือลาออก ’รมว.ต่างประเทศ’

'ปานปรีย์’ยอมรับขอลาออกจากรมว.กต. เหตุถูกปรับพ้นรองนายกฯ หวั่นไร้ตำแหน่งรองนายกฯพ่วงอาจทำงานไม่ราบรื่น เชื่อยังมีคนอื่นเหมาะสมมาทำงานแทนได้ อำลาทีมผู้บริหารกระทรวงฯแล้ว

‘หมอเชิด’ สะกิดเตือน ‘เศรษฐา’ หมอคุมยาก เปลี่ยนตัว ‘รมว.สธ.’ เกิดปัญหาแน่

‘หมอเชิด’ แนะ’เศรษฐา’ฟังเสียงสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคนที่ยกมือให้ด้วย พร้อมระบุหมอควบคุมยาก เปลี่ยนตัวรมว.สธ.เกิดปัญหาแน่

ยุ่งแน่! ‘เรืองไกร’ ร้อง ป.ป.ช. สอบ ครม.เห็นชอบดิจิทัลวอลเล็ต ฝ่าฝืนกม.หรือไม่

จากการติดตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่คณะรัฐมนตรีพึ่งมีมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 67 นั้น

ด่วน! ‘ปานปรีย์’ ยื่นไขก๊อก ’รมว.ต่างประเทศ’ หลังหลุดเก้าอี้รองนายกฯ

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.ต่างประเทศ ส่งถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง

เศรษฐา โชว์ราคายางพาราใกล้แตะ 100 บาท ย้ำเกิดจากทำงานหนัก ไม่ใช่โชคช่วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ว่าข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เราจะได้เห็นภาพราคายางแตะกิโลละ 100บาท ในเร็วๆนี้แล้ว