สวนดุสิตโพล ชี้ประเพณีลอยกระทงมีศักยภาพเป็น Soft Power ดึงชาวต่างชาติ

26 พ.ย. 2566 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “วันลอยกระทงกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,424 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างพอมีความรู้บ้างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ร้อยละ 69.03 โดยมองว่าวันลอยกระทงเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีไทยสู่สายตาชาวโลก ร้อยละ 95.35 และเห็นว่าประเพณี ลอยกระทงมีศักยภาพในการเป็น Soft Power ในระดับมาก ร้อยละ 70.72 เนื่องจากช่วยดึงดูดความสนใจ ทำให้ต่างชาติเห็นถึงประเพณี ศิลปะ ดนตรี อาหาร การแต่งกาย ร้อยละ 89.63 ทั้งนี้วันลอยกระทงทำให้ประชาชนสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น ร้อยละ 51.54 ด้านปัญหาและอุปสรรคของการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย คือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ค่านิยมและพฤติกรรมของคนไทย ร้อยละ 71.59 จึงควรนำเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมาช่วยเผยแพร่ เชื่อมโยงกับปัจจุบัน ร้อยละ 85.09

ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ โรงเรียนการท่องเที่ยวและบริการมหาวิทยาลัยสวนดุสิตจากการเสวนากลุ่มเรื่อง “ประวัติศาสตร์สร้าง Charisma” พบว่า “ประวัติ​ศาสตร์” อุดมไปด้วยสหวิทยาการความรู้​ ทำให้เรารู้มาก เข้าใจมาก อธิบายได้มาก จนทำให้เราเป็นคนรอบรู้​ มีเสน่ห์​ทางปัญญา​และสามารถนำวัฒนธรรม มาปรับใช้ เช่น ม.สวนดุสิตมีวัฒนธรรมสวนดุสิต โดยเฉพาะการมีบุคลิก​ภาพที่ดีทั้งกายและจิตใจ เติมด้วยภูมิปัญญา​ทางสมอง ด้วยการมีวิธีคิดทางประวัติศาสตร์​ พร้อมเป็นผู้​มีความมั่นใจในตัวเอง ​จะทำให้เป็นคนมีเสน่ห์​ด้วย “ประวัติศาสตร์” อ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ…ต้องลองสนใจประวัติศาสตร์​ เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวแล้ว​จะเข้าใจ ทุกวันนี้คนรู้จักประวัติศาสตร์​น้อยไป คิดสั้น ๆ เพียงแค่ว่าคือการท่องจำเรื่องเดิม ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ “น่าขบขันยิ่งนัก”

หากกล่าวถึงความมีเสน่ห์ของวิชา “ประวัติศาสตร์และโบราณคดี” จากมุมมองของคนที่ชื่นชอบและสนใจะแยกแยะได้ถูกต้องว่า วิธีของการศึกษาของศาสตร์ทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกัน โดยประวัติศาสตร์จะค้นคว้าศึกษา “เอกสาร ตำรา” อย่างเป็นระบบระเบียบเทียบกับขั้นตอนวิทยาศาสตร์ ส่วนโบราณคดี คือ “การสำรวจขุดค้น” ตรวจสอบชั้นดินที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและหลากหลายเข้าช่วยศึกษา แต่โดยรวมแล้วต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อทำความเข้าใจ “มนุษย์” เรื่องราวของสังคม วัฒนธรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตัวอย่างเช่น “งานลอยกระทง” ที่ผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลพบว่า ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้นถึงร้อยละ 51.54 ฉะนั้นหากเราย้อนอดีตได้มาก เราก็จะเข้าใจปัจจุบันและอนาคตได้ดีมากขึ้น เชื่อว่าใครได้เรียนสองศาสตร์นี้จะเพิ่มคาริสม่าอย่างแน่นอน

ผศ.ดร.ดวงกมล อัศวมาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่าสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“วันลอยกระทงกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,424 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างพอมีความรู้บ้างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ร้อยละ 69.03 โดยมองว่าวันลอยกระทงเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีไทยสู่สายตาชาวโลก ร้อยละ 95.35 และเห็นว่าประเพณี ลอยกระทงมีศักยภาพในการเป็น Soft Power ในระดับมาก ร้อยละ 70.72 เนื่องจากช่วยดึงดูดความสนใจ ทำให้ต่างชาติเห็นถึงประเพณี ศิลปะ ดนตรี อาหาร การแต่งกาย ร้อยละ 89.63 ทั้งนี้วันลอยกระทงทำให้ประชาชนสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น ร้อยละ 51.54 ด้านปัญหาและอุปสรรคของการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย คือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ค่านิยมและพฤติกรรมของคนไทย ร้อยละ 71.59 จึงควรนำเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมาช่วยเผยแพร่ เชื่อมโยงกับปัจจุบัน ร้อยละ 85.09

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม

รมว.ปุ๋ง ลุย Soft Power ผลักดันอุตสาหกรรมเกมไทยสู่สากล ชวนคอสเพลย์แสดงพลัง CAF2024

18 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกมให้เป็น Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย

'ดุสิตโพล' ชี้ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. สะท้อนถึงการเลือกตั้งระดับชาติ 

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่าจากผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนถึงความรับรู้และมุมมองของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ. ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยประชาชนเห็นว่าอิทธิพลของ “บ้านใหญ่” นั้นส่งผลต่อการเลือกตั้งซึ่งอาจเป็นอิทธิพลผ่านการสนับสนุนผู้สมัคร

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน