น่าห่วง! ไทยเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน เหตุวัยทำงานลดลงต่อเนื่อง

3 ธ.ค.2566-รศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ และ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประชากรในวัยทำงานของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและในอัตราเร่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยปี 2566 มีผู้สูงวัย 20% วัยแรงงาน 63% และวัยเด็กเพียง 16% ประชากรในวัยทำงานปัจจุบันอยู่ที่ 42.4 ล้านคน และ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้บางกิจการ บางอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตต่อไปได้โดยอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน บางอุตสาหกรรมปรับใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบหุ่นยนต์และเอไอมากขึ้น พึ่งพิงแรงงานมนุษย์ลดลง และผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น

จากงานวิจัยของ ธนาคารโลก เรื่อง “Aging and the Labour Market in Thailand พบว่า ภาวะประชากรสูงวัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลงของประเทศไทยส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศเติบโตลดลง และหากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงอีกร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020 ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า หากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานนั้นคงที่ตามอายุและเพศแล้ว โครงสร้างประชากรของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปโดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานโดยรวมจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ระหว่างปี 2563 ถึงปี 2603 และจำนวนแรงงานลดลงถึง 14.4 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนแรงงานที่ลดลงอาจส่งผลให้ประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจขัดขวางโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น อาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน ในขณะที่ผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อาจทวีความรุนแรง เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น

ดร. อนุสรณ์ กล่าวว่า ไทยมีปัญหาการกระจุกตัวของการผลิตและการจ้างงานสูง เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ แต่ระบบประกันสังคมช่วยสร้างระบบสวัสดิการขนาดใหญ่ครอบคลุมแรงงานในระบบทั่วทั้งประเทศ และ สร้างระบบการออมแบบบังคับเพื่อดูแลผู้สูงอายุในวัยเกษียณ จากงานวิจัยของ ศ. ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ พบว่า ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้าง มีดัชนีจินีอยู่ที่ 0.4 ถือว่าสูงเกินไปและโอกาสการมีงานทำ หรือ working-lifetime สั้นเกินไป แรงงานจำนวนไม่น้อยออกจากตลาดแรงงานในระบบโรงงานตั้งแต่อายุ 45 ปี การทำงานหรือประกอบอาชีพอะไร

หลังจากนั้นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ปัญหาการกระจุกตัวของการผลิต การประกอบการ การจ้างงานในประเทศไทย สะท้อน ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติพื้นที่อย่างชัดเจน กรุงเทพและปริมณฑลมีการจ้างงานในระบบ 6-7 ล้านคน มีสถานประกอบการในระบบกว่า 239,000 แห่ง มีจีดีพีอยู่ที่ 7.5-7.6 ล้านล้านบาท และมีโอกาสการมีงานทำสูงสุด เป้าหมายทางนโยบายสาธารณะต้องลดการกระจุกตัวและกระจายโอกาสในการจ้างงานไปยังทั่วทุกภูมิภาค การย้ายแหล่งการผลิตและการจ้างงานไปยังต่างจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ จะเกิดผลดีต่อพื้นที่ และ เกิด “ตัวทวีคูณท้องถิ่น” (Local Multiplier) นอกจากนี้ยังลดปัญหาความแออัด ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสลัมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ การแตกสลายของสถาบันครอบครัวในชนบทจากการที่พ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

ลูกจ้างโรงแรมเฮ 13 เม.ย เริ่มรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เตือนนายจ้างไม่จ่ายผิดกฎหมาย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานในประเภท

แรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เตรียมเฮช่วงกรานต์

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.)โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง