สภาฯเอกฉันท์ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประมง

22 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นผู้เสนอ และมีร่างในทำนองเดียวกันอีก 7 ฉบับ

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปราย ว่า ร่าง พ.ร.บ. ประมงนี้ นำเข้าสภา ตั้งแต่ 21 เม.ย. 2558 จนถึงวันนี้ แสดงให้เห็นถึงแรงเฉื่อยของสภาฯ ในการแก้ปัญหา ปี 2558 ที่เราผ่านกฎหมายประมงผิดกฎหมายและไร้การควบคุม หรือ IUU ที่ระบุชัดว่าเราจะต้องปฏิบัติตามหลักการใช้เขตอำนาจรัฐนอกดินแดน และหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปขายสหภาพยุโรปได้ จึงขอเตือนสติอีกครั้งว่า ประเทศไทยส่งออกประมง 2 แสนล้านบาท ส่งออกไปยุโรปเพียงแค่ 6.7% เท่านั้น แต่คนที่ต้องรับกรรมคือพี่น้องประชาชนที่ไม่ได้ส่งออกไปยุโรป คนส่งออกไม่ได้รับโทษ คนที่รับโทษไม่ได้ส่งออก นี่คือความอยุติธรรมตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ที่ประชาชนน้ำตาไหลแล้ว น้ำตาไหลเล่า วันนี้เป็นวันที่เราจะร่วมนิมิตหมายทุกคน ทุกพรรค ผ่านกฎหมายนี้ แล้วตั้งคณะกรรมาธิการ และผ่านกฎหมายโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

“ผลกระทบของอุตสาหกรรมประมง ตั้งแต่ปี 2560-2566 การส่งออกลดลง 11% อย่าลืมว่าการส่งออกไม่ใช่อยู่แค่การจับปลา แต่ยังมีเรื่องท่าเรือ สะพานปลา และการขนส่ง ที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบประชาชนเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 และไปสัญญากับนายกสมาคมประมงเอาไว้ว่าจะแก้ไขให้ชาวประมงได้เร็วที่สุด อย่างน้อยกฎหมายลูกต้องแก้ให้ได้ภายใน 90 วัน แต่ตัวเลขอุตสาหกรรมท่าเรือ สะพานปลา และการขนส่งหายไป 25 % นี่คือความใหญ่ ความหนัก และความยาวานกว่า 10 ปีที่ชาวประมงโดนกฎหมายอำนาจนิยมกดขี่พวกเขาไว้ โดนบีบจนไม่มีทางเลือก ชาวประมงที่กลายเป็นผู้ต้องหาคดี 4,632 คน โทษปรับและจำคุกหนัก เล่นกันจนบีบให้ต้องขายเรือมากมาย ซึ่งชาวบ้านบอกว่าการที่ต้องปรับตัวไปตาม IUU ไม่ได้ว่าอะไร แต่ต้องให้โอกาสเขาปรับตัว ไม่ใช่ปรับจนเขาล้มละลาย ถ้ามีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน มีกองทุนประมง เรื่องกฎหมายต้องทำให้ถูกต้องและศักดิ์สิทธิ์”นายพิธา กล่าว

ขณะที่ รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้่แจงว่า พยายามหลับตาและนึกถึงพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ว่า 10 ปีที่ผ่านมา นึกสภาพสมัยก่อนที่ไม่มีกฎหมายมาบังคับ ประมงไทยถือเป็นเจ้าสมุทร ทำรายได้มหาศาล แต่ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา อุปสรรคกฎหมายมาบังคับไม่ให้ชาวประมงอยู่รอดได้ มีหนี้สินและคดีความติดตัว ยืนยันว่ากฎหมายที่รัฐบาลร่างมาในวันนี้ เป็นตัวแทนของพี่น้องชาวประมง ตนในฐานะคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอให้เพื่อนสมาชิกมาร่วมทำบุญกัน ทำบุญให้กับพี่น้องคนไทย โดยเฉพาะครอบครัวชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด

จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฯทั้ง 8 ฉบับ จากจำนวนผู้ลงมติ 416 คน ด้วยมติเห็นด้วย 416 คน ไม่เห็นด้วยไม่มี ตั้งคณะกรรมาธิการ 37 คน โดยใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นร่างหลัก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โรม' เขย่ารัฐบาล ทำประชามติ 2 ครั้ง ไม่เปลืองงบฯ ปชช.แบกรับความสูญเสีย

“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช.  เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ

'ปธ.วันนอร์' ให้คะแนนซักฟอก 2 วัน ภาพรวมดี ชมเปาะสภาชุดนี้มีคุณภาพ

'วันนอร์' รับมีโอกาสเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ช่วง พ.ค. - มิ.ย. ถกงบปี 68 หลังรัฐบาลทำร่างเสร็จ ชี้สภาชุดนี้ทำงานดีมีประสิทธิภาพ ล่มแค่ครั้งเดียว ซักฟอก 2 วัน ภาพรวมดี ประท้วงแค่สีสัน

สีสันจบแล้ว! นายกฯ สั่งสรุปข้อมูลซักฟอก ปัดโต้ทุกดอก กลัวเดือดไป

'เศรษฐา' สั่งทีมงานสรุปข้อมูลซักฟอก สีสันจบแล้วจากนี้ขอทำงานต่อ ออกตัวยังไม่เก่งการเมือง ปัดโต้ทุกดอก กลัวเดือดมากไป ลั่นรับทราบฝ่ายค้านแนะปรับ ครม.

จับตา 'สว.' โหวต ปธ.ศาลปกครองสูงสุดคนใหม่ คาดถกเดือดภูมิหลัง 'แนวคิดการเมือง'

ลุ้นสว.โหวต “วิษณุ”จะได้นั่ง ปธ.ศาลปกครองสูงสุดคนใหม่หรือไม่ จันทร์นี้ คาดประชุมลับ อภิปรายเดือด พบ สภาสูงชุดนี้  สอยร่วง ตีตก ตุลาการศาลสูง มาแล้วสามครั้ง แต่ระดับประมุขยังไม่เคยมีในประวัติศาสตร์

เดินหน้าเอาผิด 'บิ๊กต่อ-ภรรยา' ประเคนข้อมูลก้าวไกล แฉส่วยกลางสภา

“ทนายตั้ม” ดีเดย์ 1 เม.ย.เอาผิดฟอกเงิน บิ๊กต่อ  – ภรรยา  พร้อมยื่นข้อมูลให้หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยันให้ความร่วมมือทุกฝ่ายหากเป็นประโยชน์